ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ส.บ.ม.ท.เผยข้อข้องใจร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ


ข่าวการศึกษา 2 พ.ย. 2562 เวลา 16:02 น. เปิดอ่าน : 16,357 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

ส.บ.ม.ท.เผยข้อข้องใจร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

ตามที่ รศ.ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้ข้อมูลผ่านสื่อต่างๆเกี่ยวกับเรื่องร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ที่สร้างความกังวลของผู้ที่ได้รับข้อมูลบางส่วนที่ผู้เห็นต่างต้องการสร้างกระแส โดย รศ.ดร. เอกชัยฯได้ชี้แจงทางสื่อมีสาระว่า บรรดาผู้ยกร่างมีนักการศึกษา อดีตเลขา สพฐและยังเป็นอดีตปลัด ศธ ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการโดยเกินกว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้อยู่ในวงการศึกษาทั้งพื้นฐาน อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา และมีการเชิญผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการมาร่วมประชุมให้ข้อคิด ทีละมาตรา ไม่มีใครครอบงำความคิดของใครได้ ทุกคนแสดงความคิดอย่างอิสระ ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. การศึกษาใหม่ ไม่มีแนวคิดในการยกเลิกค่าวิทยฐานะ หรือ ผลประโยชน์อื่นใดที่ผู้บริหารสถานศึกษา การศึกษา หรือครูเคยได้รับ ตรงข้ามกลับคิดจะปกป้องครูไม่ให้ใช้ครูไปทำงานอื่นที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอน หรือแม้แต่การสับเปลี่ยนโยกย้ายครู ก็เปิดโอกาสให้พิจารณาค่าตอบแทนพิเศษได้ด้วย

เรื่องเปลี่ยนชื่อเรียกจากใบประกอบวิชาชีพครูเป็นใบรับรองความเป็นครูก็ไม่ทำให้ครูเสียสิทธิประโยชน์ที่เคยได้ ส่วน การจะเรียกผู้อำนวยการโรงเรียนแบบเดิม ไม่อยากได้คำว่าครูใหญ่ ถ้าส่วนมากมีความรู้สึกว่า ผู้อำนวยการดูดี มีศักดิ์ศรีมากกว่าคำว่า ครูใหญ่ ก็ไม่น่าเป็นปัญหา เพราะชื่อนั้นเป็นเพียงเปลือก แก่นคือคุณภาพการศึกษาต้องเกิดขึ้นให้ได้ และถ้าคุณภาพการศึกษาไม่ดีควรต้องมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน เรื่อง การแสดงออกซึ่งสัญลักษณ์ของครูและบุคลากรการศึกษาทุกคนถ้ามีเหตุผล ความจำเป็นและขอให้ทำเพื่อคุณภาพการศึกษา อย่างแท้จริงผมว่าจะมีผู้สนับสนุนท่านแน่นอน นั้น

ส.บ.ม.ท. ขอขอบพระคุณอย่างยิ่งสำหรับคำแนะนำของประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเรื่องที่เกี่ยวกับที่มาของของการร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ส.บ.ม.ท.มีข้อข้องใจในบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับนี้ ดังนี้

1. วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพที่ ให้บริการแก่สังคม /ใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริการ /ครูได้รับการอบรมให้มีความรู้กว้างขวาง ลึกซึ้ง โดยใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร /มีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานของวิชาชีพ /มีจรรยาบรรณ ควบคุม /มีสถาบันวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์ จรรโลงมาตรฐานของวิชาชีพ ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวเป็นคุณลักษณะของวิชาชีพชั้นสูง ดังนั้นวิชาชีพครูจึงเป็นวิชาชีพชั้นสูง นอกจากนี้ มาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติไว้ว่า “ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน ที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง” แต่คณะที่จัดทำและร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ คณะนี้ได้ตัดความสำคัญว่า “วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง” ออกจากร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ จึงเป็นการลดคุณค่าแห่งวิชาชีพครูโดยไม่มีเหตุผลแต่อย่างใด ทำให้คุณครูทั้งประเทศต่างสะเทือนใจในเรื่องนี้มาก

จึงอยากสอบถามบรรดาผู้ร่างว่าทำไมต้องตัดคำว่า “วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง” ออกไป หรือเห็นว่าอาชีพครูไม่คู่ควรที่จะเป็นวิชาชีพชั้นสูงทั้งๆที่บรรดาผู้ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับนี้ ล้วนเจริญเติบโตมาก็ด้วยการเอาใจใส่ของผู้ประกอบวิชาชีพครูทั้งนั้น การตัดสาระสำคัญเช่นนี้ออกไปจึงส่อให้เห็นถึงเจตนาที่แท้จริงของบรรดาผู้ร่างกฎหมายว่ามีมุมมองต่อวิชาชีพครูอย่างไร การกล่าวอ้างว่าคิดที่จะปกป้องครู จึงเป็นกล่าวอ้างที่เป็นไปตามนั้น หรือไม่

2. ส.บ.ม.ท.ขอเรียนว่าบรรดาผู้ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติทั้งหลายตามที่ รศ.ดร.เอกชัยฯเอ่ยถึงนั้นเป็นที่ยอมรับได้ว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาทั้งสิ้น แต่องค์ประกอบที่สำคัญที่ขาดไปคือขาดการมีส่วนร่วมของบรรดาคุณครูและผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นผู้ที่คลุกคลีกับนักเรียนมาตลอดชีวิตการทำงาน ซึ่งย่อมรู้จักปัญหาและโอกาสทางการเรียนของนักเรียนเป็นอย่างดีและรู้ข้อเท็จจริงมากกว่าบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆเสียอีก แต่กลับมิได้เป็นผู้มีส่วนร่วมในเรื่องดังกล่าวประกอบกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพครูและผู้บริหารโรงเรียนโดยตรงแต่กลับไม่ได้รับการคัดเลือกให้มีส่วนร่วมในการร่างและพิจารณา การทำเช่นนี้จะทำให้กฎหมายมีความสมบูรณ์ได้อย่างไร การไม่ให้ครูหรือผู้บริหารโรงเรียนมีส่วนร่วมในการร่างกฎหมายนี้จึงเชื่อได้ว่าบรรดาผู้ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ มีเจตนาแอบแฝงที่ไม่ต้องการให้ครูได้รับรู้ถึงสิทธิบางประการของครูที่จะหายไป

3. ตามที่ รศ ดร.เอกชัยฯ ได้กล่าวว่า "การจะเรียกผู้อำนวยการโรงเรียนแบบเดิม ไม่อยากได้คำว่าครูใหญ่ ถ้าส่วนมากมีความรู้สึกว่า ผู้อำนวยการดูดี มีศักดิ์ศรีมากกว่าคำว่า ครูใหญ่ ก็ไม่น่าเป็นปัญหาเพราะชื่อนั้นเป็นเพียงเปลือก แก่นคือคุณภาพการศึกษาต้องเกิดขึ้นให้ได้" นั้น เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวแต่การทำอะไรที่เป็นการบั่นทอนจิตใจผู้ปฏิบัติ ทำให้ขวัญและกำลังใจของผู้ปฏิบัติลดทอนลงย่อมส่งผลกระทบต่อแก่นคือคุณภาพ อย่างแน่นอน จึงสงสัยว่าบรรดาผู้ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับนี้ คิดไม่ได้หรืออย่างไรว่ามันกระทบใจผู้ปฏิบัติ หรือมองไม่เห็นผู้ปฏิบัติอยู่ในสายตาเนื่องจากเคยชินกับการใช้อำนาจกระทำการแล้วไม่มีใครกล้าคัดค้าน

4. ตามที่กล่าวอ้างว่าการเปลี่ยนชื่อจาก ผอ. เป็นครูใหญ่ และ การเปลี่ยน "ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู "เป็น "ใบรับรองความเป็นครู" ไม่ทำให้ครูเสียสิทธิประโยชน์อะไรนั้น ประเด็นนี้อยากจะขอให้ ได้พิจารณาข้อกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องดังนี้

4.1 อัตราเงินเดือน เงินวิทยะฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ของข้าราชการครู มีบัญชีต่างหากจากข้าราชการพลเรือน โดยยกตัวอย่างเช่น ข้าราชการพลเรือนวิทยะฐานะชำนาญการพิเศษ จะได้เงินประจำตำแหน่งคนละ 5,600 บาท แต่ข้าราชการครูวิทยะฐานะชำนาญการพิเศษจะได้เงินประจำตำแหน่งคนละ 11,200 บาท การให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าจึงเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนเก่งไปเรียนครูมากยิ่งขึ้น

4.2 ข้าราชการครูที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งที่สูงกว่าดังที่กล่าวไว้ข้อ ที่ 4.1 นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยะฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่บัญญัติไว้ว่า “อัตราเงินเดือน เงินวิทยะฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา ที่มีใบอนุญาตว่าด้วยสภาครูและบุคคลากรทางการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษาและบัญชีอัตราเงินวิทยะฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษาท้ายพระราชบัญญัตินี้”

ดังนั้นเมื่อพิเคราะห์จากถ้อยคำของกฎหมายแล้วจะเห็นได้ว่าผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรา 3 ของกฎหมายดังกล่าวจะต้องมี”ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู “ เท่านั้น การเปลี่ยนเป็น “ใบรับรองความเป็นครู” จึงทำให้ครูไม่ได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.เงินเดือนฯ ดังกล่าว แม้จะมีการอ้างว่ามาตรา 100 วรรค สี่ของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว บัญญัติว่า “ บรรดาบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับประกาศ คำสั่ง หรือมติ ค.ร.ม.ใดที่อ้างถึงครูซึ่งมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ให้หมายถึงครูซึ่งได้รับใบรับรองความเป็นครูและครูตามวรรคหนึ่งและวรรคสองด้วย”

จากมาตราดังกล่าวนี้เห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเอกสารใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูกับเอกสารใบรับรองความเป็นครู เท่านั้น ไม่ได้มีการระบุถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับเหมือนเดิมแม้เปลี่ยนเป็นใบรับรองความเป็นครูก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๐๑ ของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ ซึ่งบัญญัติว่า “ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นครูใหญ่และผู้ช่วยครูใหญ่ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี และมีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินวิทยะฐานะและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามอัตราเดียวกับที่ผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาได้รับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ” เห็นได้ว่าเจตนารมณ์ของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับนี้มุ่งให้สิทธิเช่นเดิมเฉพาะบรรดาผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษา เท่านั้น มิได้มีเนื้อความใดบัญญัติให้คงสิทธิเดิมแก่บรรดาครูแต่อย่างใด

5. เมื่อคณะกรรมการร่างกฎหมายดำเนินการร่างกฎหมายเสร็จสิ้นแล้ว ได้จัดทำประชาพิจารณ์สี่ภูมิภาค ทั้งนี้เพื่อเป็นการดำเนินการให้ครบกระบวนการของการร่างและเสนอกฎหมายแต่ในการทำประชาพิจารณ์ทุกภูมิภาคนั้นไม่ได้นำร่างกฎหมายฉบับเต็มไปเผยแพร่ในที่ประชุมการทำประชาพิจารณ์ ไม่ได้หยิบยกประเด็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเรื่อง “การเปลี่ยนตำแหน่งผู้อำนวยการเป็นครูใหญ่” และเรื่อง “การเปลี่ยนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเป็นใบรับรองความเป็นครู” แจ้งที่ประชุมการทำประชาพิจารณ์เพื่อทราบและพิจารณาแต่อย่างใด มีแต่หยิบยกประเด็นอื่นๆบางประเด็นขึ้นทำประชาพิจารณ์ ประเด็น”บางประเด็น” ที่หยิบยกขึ้นมาทำประชาพิจารณ์นั้นผู้เข้าร่วมประชุมต่างเห็นด้วย แต่ผู้ร่างและผู้มีหน้าที่จัดทำกฎหมายกลับเผยแพร่ต่อสังคมและสื่อต่างๆว่าผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์เห็นด้วยกับร่างกฎหมายทั้งฉบับ การทำเช่นนี้จึงเป็นการ “บิดเบือน” ข้อเท็จจริง ที่มีเจตนารมณ์แอบแฝงในเรื่องการตัดสิทธิประโยชน์ที่สำคัญบางประการของครู

6. เมื่อคุณครูได้ทราบความจริงว่า ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับนี้ มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญที่เป็นการตัดสิทธิประโยชน์ที่ครูเคยได้รับโดยชอบธรรม ก็ได้รวมกลุ่มกันคัดค้าน แต่ผู้มีหน้าที่จัดทำกฎหมายกลับไม่รับฟัง แต่ลุกรี้ลุกรนที่จะนำร่างกฎหมายนี้เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แม้เสนอไม่ทันก็ยังพยายามที่จะเสนอเป็น “พระราชกำหนด” เพื่อให้รีบมีผลบังคับใช้ ทั้งๆที่สภาพเเละเนื้อหาของกฎหมายดังกล่าวไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะตราเป็นพระราชกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ร่างกฎหมายฉบับนี้จึงตกไป

จากข้อมูลข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น จึงเห็นได้ว่าการที่บรรดาองค์กรครูต่างๆออกมาคัดค้านทัดทานร่างกฎหมายฉบับนี้ มิได้มีเจตนาที่จะสร้างกระเเสแต่อย่างใด แต่พฤติกรรมของผู้มีหน้าที่จัดทำร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับดังกล่าวต่างหาก ที่ได้ทำลงไปนั้นถือได้ว่ามีเจตนาแอบแฝงขาดความจริงใจต่อผู้ประกอบวิชาชีพครู จึงขาดความชอบธรรม ขาดความไว้วางใจในการที่จะมาปฏิบัติหน้าที่ใดๆที่เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาขั้นพื้นฐาน อีกต่อไป

 

ขอบคุณข้อมูลจาก นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.)

 

หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244

https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6


ส.บ.ม.ท.เผยข้อข้องใจร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติส.บ.ม.ท.เผยข้อข้องใจร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

การนำแนวทางโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาโดยการสอบแข่งขัน/คัดเลือกฯ บุคลากร สังกัด สพฐ.

การนำแนวทางโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาโดยการสอบแข่งขัน/คัดเลือกฯ บุคลากร สังกัด สพฐ.

เปิดอ่าน 2,527 ☕ 27 พ.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ผลการคัดเลือกโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ 15
ผลการคัดเลือกโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ รุ่นที่ 15
เปิดอ่าน 319 ☕ 22 ธ.ค. 2567

สพฐ.สำรวจความต้องการขอรับจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ตำแหน่งครูผู้สอนเพิ่มเติม
สพฐ.สำรวจความต้องการขอรับจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ตำแหน่งครูผู้สอนเพิ่มเติม
เปิดอ่าน 261 ☕ 22 ธ.ค. 2567

เกียรติบัตรสำหรับสถานศึกษาที่เข้าร่วมการประกวดคลิปวีดิทัศน์ "Meditation Clip Contest"
เกียรติบัตรสำหรับสถานศึกษาที่เข้าร่วมการประกวดคลิปวีดิทัศน์ "Meditation Clip Contest"
เปิดอ่าน 457 ☕ 20 ธ.ค. 2567

ชื่อเต็ม ชื่อย่อ ของหน่วยงานและผู้บริหารระดับสูง ในสังกัด สพฐ.
ชื่อเต็ม ชื่อย่อ ของหน่วยงานและผู้บริหารระดับสูง ในสังกัด สพฐ.
เปิดอ่าน 821 ☕ 19 ธ.ค. 2567

ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล "ครูดีในดวงใจ" ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2568
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล "ครูดีในดวงใจ" ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 1,856 ☕ 19 ธ.ค. 2567

ศธ. เปิดตัวระบบTRS ย้ายครูออนไลน์ทุกกรณี แก้ปัญหาทุจริตโยกย้ายไม่เป็นธรรม
ศธ. เปิดตัวระบบTRS ย้ายครูออนไลน์ทุกกรณี แก้ปัญหาทุจริตโยกย้ายไม่เป็นธรรม
เปิดอ่าน 743 ☕ 17 ธ.ค. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

4 ภาษาหลักของโลก สร้าง "โอกาส" ยุคโลกาภิวัตน์
4 ภาษาหลักของโลก สร้าง "โอกาส" ยุคโลกาภิวัตน์
เปิดอ่าน 20,300 ครั้ง

ปฏิทินการรับสมัครนักเรียน ปี 2559
ปฏิทินการรับสมัครนักเรียน ปี 2559
เปิดอ่าน 16,288 ครั้ง

4 วิธี ช่วยให้ผิวคุณสวยไปตลอดกาล
4 วิธี ช่วยให้ผิวคุณสวยไปตลอดกาล
เปิดอ่าน 14,171 ครั้ง

3 แนวทาง"พลิกโฉม"คุณภาพการศึกษาไทยสู่มาตรฐานสากล
3 แนวทาง"พลิกโฉม"คุณภาพการศึกษาไทยสู่มาตรฐานสากล
เปิดอ่าน 19,551 ครั้ง

ชาญี่ปุ่น หรือชาอังกฤษใครมีประโยชน์กว่ากัน
ชาญี่ปุ่น หรือชาอังกฤษใครมีประโยชน์กว่ากัน
เปิดอ่าน 23,720 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ