ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สพฐ. จับมือ กสศ. เดินหน้าลดเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ยกระดับคุณภาพครูและโรงเรียนในชนบท


ข่าวการศึกษา 1 พ.ย. 2562 เวลา 05:17 น. เปิดอ่าน : 12,452 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

สพฐ. จับมือ กสศ. เดินหน้าลดเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ยกระดับคุณภาพครูและโรงเรียนในชนบท

สพฐ.จับมือกสศ.ลง MOU ยกระดับคุณภาพครูและโรงเรียนในชนบท 288 โรงเรียน ใน 35 จังหวัด ดึงพลังรร.สร้างเด็กให้มีทักษะศตวรรษ21 แม้อยู่ห่างไกล โดยขยายผลสู่โรงเรียนคุณภาพประจำตำบลทั่วประเทศ ขณะที่ศ.นพ.วิจารณ์ชี้ แก้เหลื่อมล้ำต้องปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน รร.ชนบทให้สูงขึ้น

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ที่โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดประชุมเรื่อง “ยกระดับคุณภาพโรงเรียน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ” และลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ภายใต้โครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (Teachers & School Quality Program : TSQP) โดยมี ผู้แทนโรงเรียน ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เข้าร่วมกว่า 1,000 คน

ดร.อัมพร พินะสา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า การขจัดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ผ่านมาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยยังมีความเหลื่อมล้ำด้านความรู้ระหว่างนักเรียนในเมืองกับนักเรียนในชนบทที่ต่างกันเกือบ 2 ปีการศึกษา สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากคุณภาพหรือมาตรฐานของสถานศึกษา รวมถึงคุณภาพและประสิทธิภาพครู ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโดยตรง สพฐ. และกสศ. จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (Teachers & School Quality Program : TSQP) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษาขนาดกลางสังกัด สพฐ. ในชนบทที่มีเด็กและเยาวชนซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส และผู้ด้อยโอกาสอยู่หนาแน่น ให้เป็นโรงเรียนที่สามารถพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ หรือ Whole School Approach ทั้งด้านการบริหารจัดการโรงเรียน และการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ขณะที่นักเรียนยากจนด้อยโอกาสได้รับการดูแลอย่างเต็มศักยภาพ โดยครูจะมีความสามารถในการประเมินและช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล

“กลุ่มเป้าหมายสำคัญของโครงการนี้ ได้แก่ กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาขนาดกลางที่มีศักยภาพจะเป็นโรงเรียนแกนนำของชุมชน (hub-schools) ที่สำคัญคือ ผู้บริหารและครูมีความพร้อมในการพัฒนาด้วยความสมัครใจ ซึ่งหากโรงเรียนแกนนำเหล่านี้ได้รับการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ทั้งระบบโรงเรียน โดยมีครูเป็นผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสูงขึ้นได้ โดยในอนาคตจะบูรณาการกับโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลทั่วประเทศของทางสพฐ. ระยะยาวโครงการนี้จะทำให้เกิดโมเดลสำหรับการปฏิรูปคุณภาพสถานศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ขอให้ทุกโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ กับ กสศ. และภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาครูและโรงเรียนตามแนวทางของโครงการฯ” ดร.อัมพรกล่าว

ด้านนพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) กล่าวว่า หัวใจสำคัญของโครงการนี้ต้องเริ่มต้นจากผู้บริหารและครูผู้สอน มีความเชื่อว่าเราสามารถพัฒนาตนเองและโรงเรียนได้ แม้จะเป็นโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล หรือไม่ใช่โรงเรียนขนาดใหญ่ ก็สามารถพัฒนาจนเจริญก้าวหน้าได้ โดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภายนอกหรือต้องรอนโยบาย จึงจะส่งผลให้เกิดการปฏิรูปการบริหารจัดการ และการเรียนการสอนในโรงเรียนทั้งระบบ การทำงานในปีแรกจะมีโรงเรียนขนาดกลางที่ผู้บริหารและครูผู้สอนสมัครใจ และตั้งใจเข้าร่วมจำนวน 288 แห่งในพื้นที่ 35 จังหวัด ทุกภูมิภาค ครอบคลุมครูกว่า 5,700 คน การพัฒนาแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับชั้นเรียนและระดับโรงเรียน เน้นกระบวนการสร้างให้นักเรียนเป็นคนรุ่นใหม่ที่ทันต่อโลกในศตวรรษที่ 21 โดยการทำงานจะไม่หยุดอยู่แค่ห้องเรียนห้องเดียว แต่ต้องทำทั้งโรงเรียน เป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้กับองค์กร ด้วยการใช้พลังร่วมของครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนพัฒนาการเรียนการสอนที่มุ่งเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิดของนักเรียน

 

นพ.สุภกร กล่าวว่า กสศ.จะนำผลการวิจัยและเครื่องมือสนับสนุนการทำงานของครูและสถานศึกษาจากการทำงานวิชาการร่วมกับองค์การความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) มาสนับสนุนกระบวนการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนแบบ Active Learning โดยใช้การสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนประสิทธิภาพสูง (High functioning Classroom) จากสถาบันความคิดสร้างสรรค์แห่งสหราชอาณาจักร (CCE) รวมถึงการใช้เครื่องมือส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณจากองค์การ OECD เพื่อพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ กสศ.ยังสนับสนุนให้โรงเรียนใช้ระบบ Q-Info ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศสำหรับติดตามการเปลี่ยนแปลงของเด็กในชั้นเรียนเป็นรายบุคคลคนเพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนา ตามแนวทางผลการวิจัยเครื่องมือประเมินทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 อีกด้วย

“คาดว่าเมื่อร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา กสศ.จะสามารถขยายพื้นที่เป้าหมายการทำงานสนับสนุนนโยบายโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลของ สพฐ.ต่อไป” ผู้จัดการ กสศ.กล่าว

นพ.สุภกร กล่าวว่า กสศ.ยังสนับสนุนให้ทั้ง 288 โรงเรียนทำงานร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยใกล้พื้นที่จำนวน 10 สถาบัน เพื่อวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนการสอน/หลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น การถ่ายทอดทักษะความรู้ไปยังนักศึกษาครู นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้องค์กรที่มีประสบการณ์ด้านการศึกษาระดับแถวหน้าของประเทศไทย 5 เครือข่าย ได้แก่ 1.มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี 2.สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 4.มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา และ5.มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ร่วมเป็นโค้ช สนับสนุนเทคนิคการบริหารจัดการและวิชาการ ต่อยอดจากประสบการณ์ทำงานของแต่ละองค์กรเพื่อให้ทั้ง 288 โรงเรียนเกิดการพัฒนาขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานอนุกรรมการโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง กสศ. กล่าวตอนหนึ่งในการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ยกระดับคุณภาพโรงเรียน ลดความเหลื่อมล้ำ :เปลี่ยน ครู-ห้องเรียน” ว่า การแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาแต่เพียงอุดหนุนงบประมาณยังไม่เพียงพอ แต่จะต้องปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนในชนบทให้สูงขึ้นด้วย จากรายงานของ World Development Report 2018 : Learning to Realize Education’s Promise

พบว่าหากจะให้ผลลัพธ์การเรียนรู้ในภาพรวมของประเทศไทยยกระดับขึ้น ครู โรงเรียน พ่อแม่ และผู้นำชุมชน ต้องร่วมมือกันเอาใจใส่ให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษแก่เด็กที่ขาดแคลนหรือเด็กที่เรียนอ่อน ไม่ใช่มุ่งเอาใจใส่เฉพาะเด็กเก่ง และขยันเรียน ซึ่งมีอยู่เพียงร้อยละ 10-20 แต่อีกร้อยละ 80-90 จะถูกทิ้ง ความร่วมมือระหว่างสพฐ.และกสศ.ในครั้งนี้จะทำให้เด็กอีกร้อยละ 80-90 ได้รับโอกาสในการพัฒนาและบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้เช่นกัน

“นักเรียนที่แม้จะยากจนอย่างไรทุกคนล้วนสามารถบรรลุการเรียนรู้คุณภาพสูงได้ โดยเริ่มจากครูพ่อแม่ และตัวนักเรียนเองเชื่อมั่นร่วมกันที่จะมีอนาคตที่ประสบความสำเร็จ ครูต้องชวนเด็กตั้งเป้าหมายสูง และพยายามทำให้สำเร็จให้ได้ เพราะครูและพ่อแม่จะเป็นตัวช่วยสำคัญให้เด็กเกิดการพัฒนา สร้างความเชื่อมั่นให้เห็นความหวังดีว่าครูเอาใจใส่เด็กทั้งห้องเรียน ”ที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหาร กสศ. กล่าว

____________

ประเด็นน่าสนใจ

• สพฐ.ร่วมกับกสศ.ลงบันทึกข้อตกลง (MOU) ยกระดับคุณภาพครูและโรงเรียนชนบท 288 แห่งใน 35 จังหวัด
• พัฒนาโรงเรียนที่มีเด็กและเยาวชนขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส ให้เป็นโรงเรียนคุณภาพ สอดคล้องศตวรรษที่ 21
• แก้ไขความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาต้องปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนในชนบทให้สูงขึ้น

 

ที่มา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) วันที่ 29 ตุลาคม 2562

 


สพฐ. จับมือ กสศ. เดินหน้าลดเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ยกระดับคุณภาพครูและโรงเรียนในชนบทสพฐ.จับมือกสศ.เดินหน้าลดเหลื่อมล้ำทางการศึกษายกระดับคุณภาพครูและโรงเรียนในชนบท

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 11/2567 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 11/2567 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567

เปิดอ่าน 14,416 ☕ 31 ต.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม"  ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม" ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
เปิดอ่าน 508 ☕ 19 พ.ย. 2567

คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
เปิดอ่าน 678 ☕ 15 พ.ย. 2567

"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 771 ☕ 15 พ.ย. 2567

ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 3,373 ☕ 13 พ.ย. 2567

ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
เปิดอ่าน 2,059 ☕ 13 พ.ย. 2567

สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
เปิดอ่าน 953 ☕ 13 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดชื่อ 11 จังหวัด หนาวยะเยือกที่สุดในประเทศ
เปิดชื่อ 11 จังหวัด หนาวยะเยือกที่สุดในประเทศ
เปิดอ่าน 24,151 ครั้ง

ข้าวกล้องงอก
ข้าวกล้องงอก
เปิดอ่าน 18,706 ครั้ง

ทฤษฎีจิตสังคมของอีริคสัน (Erikson)
ทฤษฎีจิตสังคมของอีริคสัน (Erikson)
เปิดอ่าน 414,070 ครั้ง

เลิกครู 5 ปี…แก้ทั้งระบบครบวงจร : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์
เลิกครู 5 ปี…แก้ทั้งระบบครบวงจร : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์
เปิดอ่าน 26,171 ครั้ง

ครูจีนสุดโหด! ตบเด็กอนุบาลไม่ยั้ง โมโหตอบโจทย์เลขไม่ได้
ครูจีนสุดโหด! ตบเด็กอนุบาลไม่ยั้ง โมโหตอบโจทย์เลขไม่ได้
เปิดอ่าน 14,869 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ