ชายมีรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว-หญิงมีรอบเอวมากกว่า
หลายคนคิดว่า...ไม่บอกฉันก็รู้ตั้งนานแล้ว...ถูกต้อง..แต่อย่าลืมว่าคนใดใคร่รู้ หากไม่พึงปฏิบัติตาม...
หาเกิดประโยชน์กับตัวเองไม่...
เส้นรอบเอว สำคัญอย่างไร
ผลการศึกษาพบว่าปริมาณไขมันในช่องท้องจะมีความสัมพันธ์กับขนาดเส้นรอบเอวและมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจ คนที่มีขนาดเส้นรอบเอวใหญ่จะมีความเสี่ยงสูงมากในการเกิดโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองอุดตันหรือแตก และโรคหัวใจ
ไขมันในช่องท้อง
ที่แทรกอยู่ตามกระเพาะ ลำไส้ ตับ ตับอ่อน ไขมันส่วนนี้วัดได้ยากแต่จัดว่าเป็นไขมันที่อันตรายเพราะไขมันที่สะสมในอวัยวะช่องท้องปริมาณมาก ทำให้อินซูลินที่หลั่งจากตับอ่อนออกฤทธิ์ไม่ดี เรียกว่าเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน จึงเป็นต้นเหตุสำคัญทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน
รู้ได้อย่างไรว่าเสี่ยง
ผู้ที่มีไขมันสะสมในอวัยวะท้องมาก (พุงใหญ่) รู้ได้จากการวัดเส้นรอบเอว ผู้ชายที่มีรอบเอวมากกว่า
เกณฑ์การวินิจฉัยอ้วนลงพุงรอบพุงต้อง.........
ตั้งแต่
ตั้งแต่
ควบคุมน้ำหนัก ควบคุมรอบเอว
การรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ และรอบเอวไม่ขยาย มีหลักการควบคุมอาหารดังนี้
1. กินอาหารสมดุล ควบคุมสัดส่วนปริมาณอาหาร กลุ่มข้าวแป้ง ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง นม ผลิตภัณฑ์นม และไขมัน ให้พอเหมาะในแต่ละวันตามธงโภชนาการ
- ผู้หญิงควรได้รับพลังงานวันละ 1600 แคลอรี
- ผู้ชาย ควรได้รับพลังงานวันละ 2000 แคลอรี
ธงโภชนาการ
2. กินอาหารเช้าทุกวัน มื้อเช้าเป็นมื้อหลักที่สำคัญ ต้องรับประทานทุกวัน เพื่อกระจายปริมาณพลังงานอาหารให้พอเหมาะกับความต้องการของร่างกายนอกจากนั้นจะช่วยให้ร่างกาย ไม่หิวมากในช่วงบ่ายและควบคุมอาหารมื้อเย็นให้กินน้อยลงได้
3. กินอาหารพออิ่ม ในแต่ละมื้อ ไม่บริโภคจนอิ่มมาก
4. กินอาหารธรรมชาติไม่แปรรูป เช่น เมล็ดธัญพืช กลุ่มข้าวแป้ง ได้แก่ ข้าวกล้อง เผือก มัน ข้าวโพด กลุ่มน้ำมัน ได้แก่ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ถั่วงา เป็นต้น เพราะมีวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารสูง
5. กินผัก และผลไม้รสไม่หวาน ให้มากพอและครบ 5 สี คือสีน้ำเงินม่วงแดง สีเขียว สีขาว สีเหลืองส้ม และสีแดง เพื่อเพิ่มวิตามิน เกลือแร่ และเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันโรค จากสารเม็ดสีในผักผลไม้
6. กินอาหารมื้อเย็นแต่วัน เวลาสำหรับอาหารมื้อเย็นควรห่างจากเวลานอน ไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง เพราะช่วงเวลานอนหลับ ระบบประสาทสั่งงานให้ร่างกายพักผ่อนเกิดการสะสมไขมันในอวัยวะช่องท้องมากขึ้น
7. กินเป็น คือ รู้จักหลีกเลี่ยงอาหารมันจัด หวานจัด และเค็มจัด อาหารในรูปไขมัน น้ำมัน เนย มาการีน น้ำตาล แป้ง และเกลือ เช่น เค้ก คุกกี้ มันฝรั่งทอด โรตี ทองหยอด ฝอยทอง สายไหม ขนมขบเคี้ยว และของดอง กินให้น้อยลง ฯลฯ
ลดน้ำหนัก ลดรอบเอว
ถ้าน้ำหนักตัวลดลงได้ร้อยละ 5 – 10 ของน้ำหนัก ไขมันในช่องท้องจะลดลงไปได้ร้อยละ 30 ขั้นตอนสำคัญมีดังนี้
1. มีความตั้งใจ และมุ่งมั่นจริง ๆ ที่จะลดน้ำหนัก ลดเอว
2. สร้างความคิดที่ดี ๆ เช่น “เราสามารถลดน้ำหนักลดเอวได้”
3. ตั้งเป้าหมายของน้ำหนักที่จะลด ควรมีความเป็นไปได้ และไม่ลดน้ำหนักมากจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
4. ลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ ควรลดประมาณร้อยละ 5 – 10 ของน้ำหนัก เมือเริ่มต้น เช่น น้ำหนัก
5. อัตราการลดน้ำหนักที่เหมาะสม คือ สัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม ถึงหนึ่งกิโลกรัม
6. ควบคุมพลังงาน ต้องควบคุมพลังงานจากอาหารให้ลดลง แต่ไม่ควรน้อยกว่าวันละ 1200 กิโลแคลอรี สำหรับผู้หญิง และไม่ควรน้อยกว่าวันละ 1600 กิโลแคลอรี สำหรับผู้ชาย ตามตารางที่ 1 และ 2
7. กินอาหารทุกมื้อ ต้องไม่งดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง เพื่อให้น้ำหนักลดเร็ว เพราะน้ำหนักจะกลับมาเร็วมาก เมื่อคุณไม่สามารถควบคุมอาหารได้ต่อเนื่อง
8. ลดปริมาณอาหารทุกมื้อที่กิน เช่น สัปดาห์แรก ลดอาหารไปหนึ่งในสาม สัปดาห์ต่อไปลดลงครึ่งหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น หรือเริ่มแรกลดข้าวลงมื้อละ 1 ทัพพี งดของหวาน ลูกอม น้ำหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดนะ แล้วกินผัก ผลไม้ที่มีรสไม่หวานที่มีกากใยให้มากขึ้น เพื่อทำให้การดูดซึมไขมันที่ลำไส้เล็กลดลง
9. มีความอดทน ถ้ารู้สึกหิว ทั้ง ๆ ที่เพิ่งกินไป ขอให้อดทน โดยใช้วิธีเปลี่ยนอิริยาบถในขณะนั้นไปทำอย่างอื่นแทน เพียง 10 นาทีท่านก็จะหายหิวได้ แต่ถ้าไม่หายหิวก็ให้กินผลไม้รสไม่หวาน คำสองคำจะช่วยบรรเทาความหิว หรือดื่มน้ำเปล่า
10. เคี้ยวอาหารช้า ใช้เวลาเคี้ยวประมาณ 30 ครั้งต่อ 1 คำ และส่งความรู้สึกในรสชาติของอาหารให้สมองรับรู้ศูนย์ควบคุมความหิว – ความอิ่มที่สมองจะรับรู้ว่ากินอิ่มแล้วใช้เวลาไม่น้อยกว่า 15 นาที ดังนั้น อาหาร 1 จานเล็ก ในมื้อนั้น ควรใช้เวลาในการรับประทานไม่น้อยกว่า 15 นาที
ตารางที่ 1 ปริมาณของกลุ่มอาหารต่อวันในระดับพลังงานต่าง ๆ
ตารางที่ 2 ปริมาณของกลุ่มอาหารต่อวันในระดับพลังงานต่าง ๆ
- ผลไม้เล็ก เช่น องุ่น ลองกอง ลำไย 1 ส่วน เท่ากับ 6 – 8 ผล
- ผลไม้กลาง เช่น กล้วย ส้ม ชมพู่ 1 ส่วน เท่ากับ 1 – 2 ผล
- ผลไม้ใหญ่ เช่น มะละกอ แตงโม สับปะรด เท่ากับ 6 – 8 ชิ้น พอคำ
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเพื่อลดไขมันในช่องท้องควรปฏิบัติดังนี้
1. ควรออกกำลังกายชนิดที่ชื่นชอบ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละไม่น้อยกว่า 30 นาที จะช่วยรักษาน้ำหนักให้คงเดิม
2. ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกความหนักของแรงปานกลาง (หัวใจเต้นประมาณ 120 – 110 ครั้ง / นาทีสำหรับกลุ่มอายุ 40 – 50 ปี ตามลำดับ) ความถี่ควรให้มากวัน อย่างน้อยควรออกกำลังกาย 5 วัน ต่อสัปดาห์ เวลาที่ใช้ ควรใช้เวลาออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 45 นาที การเดินเร็วอย่างต่อเนื่อง เป็นวิธีการลดน้ำหนักที่ให้ผลดี (1 นาที เดินได้ 60 ก้าว)
3. การลดไขมันหน้าท้อง ควรออกกำลังกายเพิ่มเน้นด้วยการทำซิทอัพหรือเคอล์อัพ ดังภาพ คือให้นอนหงาย ชันเขา ยกหัวไหล่ขึ้นค้างไว้ 10 วินาที แล้ววางหัวไหล่ลง ทำวันละไม่น้อยกว่า 150 ครั้ง ภายใน 2 สัปดาห์กล้ามเนื้อหน้าท้องกระชับ และไขมันหน้าท้องลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน
การวัดเส้นรอบเอว
1. ให้อยู่ในท่ายืน
2. หายใจเบา ๆ
3. ใช้สายวัด วัดรอบเอวโดยวัดผ่านสะดือ
4. ให้สายวัดแนบกับลำตัว ไม่รัดแน่น
5. และให้ระดับของสายวัดที่วัดรอบเอววางอยู่ในแนวขนานกับพื้น
วิธีการวัดรอบเอว
ขอบคุณที่มา : กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข