โรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มเป็น 36 บาท ลุ้นกระทรวงการคลังหนุนงบฯ
ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะ ทำงานวิเคราะห์การบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ ว่า ที่ประชุมได้หารือร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง อาทิ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาด เล็กและขนาดใหญ่ ตามข้อสั่งการของนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ที่มีความเป็นห่วงเรื่อง การบริหารจัดการอาหารกลางวันของเด็กต้องมีคุณภาพ และถูกต้องตามหลักโภชนาการ ซึ่งในการบริหารจัดการอาหารกลางวันที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบว่า การบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันมีปัญหาหลายส่วน โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับในอัตราหัวละ 20 บาทต่อวัน จำนวน 200 วัน ยังไม่ได้มีการพิจารณาปรับปรุงมานานถึง 5 ปีแล้ว
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า ที่ประชุมจึงได้วิเคราะห์งบอาหารกลางวันที่ได้รับตามอัตรารายหัวว่า แต่ละวันเด็กควรจะได้รับการอุดหนุนในอัตราหัวละเท่าใด โดยได้วิเคราะห์ทั้งค่าแรงแม่ครัว ค่าวัตถุดิบ ในการประกอบอาหาร ค่าแก๊ส รวมไปถึงสภาพเงินเฟ้อในปัจจุบัน จากนั้นนำมาหารด้วยจำนวนนักเรียน ก่อนจะประมวลออกมาเป็นอัตราเงินอุดหนุนรายหัวค่าอาหารกลางวันเด็ก แบ่งเป็น โรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียน 1-20 คน เสนอให้ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 36 บาท โรงเรียน ขนาดกลางที่มีนักเรียนจำนวน 43-50 คน ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 27 บาท และโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีจำนวนนักเรียน 200 คนขึ้นไป ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาทเป็น 23 บาท ทั้งนี้ตัวเลขที่ปรับขึ้นยังไม่ถือเป็นข้อสรุปแต่เป็นเพียงการวิเคราะห์จาก สพฐ.เท่านั้น โดยต้องนำข้อมูลเหล่านี้ไปให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พิจารณาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ก่อน หลังจากนั้นจะเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการ นำข้อมูลดังกล่าวเสนอรัฐบาลเพื่อนำประกอบการพิจารณาต่อไป
ผศ.ดร.กิตติ สรณเจริญพงศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล กล่าวว่า การเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันของนักเรียนเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่การแก้ปัญหาระยะยาวอยากเสนอให้ สพฐ.จัดครูโภชนาการประจำโรงเรียนเพื่อดูแลเรื่องอาหารของนักเรียนโดยเฉพาะ นอกจากช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารครบถ้วนแล้วยังเป็นการป้องกันปัญหาการทุจริตเงินอาหารกลางวันได้อีกทางหนึ่งด้วย เนื่องจากมีผู้รับผิดชอบโดยตรง.
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 15 สิงหาคม 2562
สพฐ.ได้ตัวเลข"อาหารกลางวัน" อัตราใหม่แล้ว คิดตามขนาดรร."เล็ก- กลาง - ใหญ่ "เตรียมชงรมว.ศธ.พิจารณาต่อไป
14ส.ค.62 - นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะทำงานวิเคราะห์การบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ โดยมีผู้แทนจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รวมถึงผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กและใหญ่ เข้าร่วม ว่าตามที่นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) มีความห่วงใย เรื่อง การบริหารจัดการอาหารกลางวันของเด็กต้องมีคุณภาพและถูกต้องตามหลักโภชนาการ ซึ่งในการบริหารจัดการอาหารกลางวันที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบว่า การบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันมีปัญหาหลายส่วน โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณอาหารกลางวันที่ได้รับในอัตราหัวละ 20 บาทต่อวัน จำนวน 200 วัน ที่ถือว่ายังไม่ได้มีการพิจารณาปรับปรุงมาเป็นเวลา 5 ปีแล้ว
นายสุเทพ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมจึงได้มีการวิเคราะห์งบอาหารกลางวันที่ได้รับตามอัตรารายหัวว่า แต่ละวันเด็กควรจะได้รับการอุดหนุนในอัตราหัวละจำนวนเท่าไร โดยได้มีการวิเคราะห์จากค่าแรงแม่ครัว ค่าวัสดุประกอบอาหาร ค่าแก๊ส และตามสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน จากนั้นนำมาหารด้วยจำนวนนักเรียนจึงได้ประมวลออกมาเป็นอัตราเงินอุดหนุนรายหัวค่าอาหารกลางวันเด็ก แบ่งเป็น โรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียน 1-20 คน เสนอให้ปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 36 บาท โรงเรียนขนาดกลางที่มีนักเรียนจำนวน 43-50 คนปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 27 บาท และโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีจำนวนนักเรียน 200 คนขึ้นไปปรับขึ้นจากเดิม 20 บาทเป็น 23 บาท ทั้งนี้ตัวเลขที่ปรับขึ้นยังไม่ถือเป็นข้อสรุปแต่เป็นเพียงการวิเคราะห์จากสพฐ.เท่านั้น เพราะต้องนำข้อมูลเหล่านี้ไปให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พิจารณาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้อีกครั้ง ต่อจากนั้นจะเสนอให้ รมว.ศธ. นำข้อมูลดังกล่าวเสนอรัฐบาลเพื่อนำประกอบการพิจารณาค่าอาหารกลางวันของนักเรียนต่อไป
ด้านนายกิตติ สรณเจริญพงศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ สถาบันโภชนาการ มม. กล่าวว่า การเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันของนักเรียนเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่การแก้ปัญหาระยะยาวอยากเสนอให้ สพฐ.จัดให้มีครูโภชนาการประจำโรงเรียน เพื่อดูแลเรื่องอาหารของนักเรียนโดยเฉพาะ เพราะการมีครูเฉพาะทางนอกจากช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารครบถ้วนแล้วยังเป็นการป้องกันปัญหาการทุจริตเงินอาหารกลางวันได้อีกทางหนึ่งด้วย เนื่องจากมีผู้รับผิดชอบโดยตรง
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ไทยโพสต์ วันที่ 14 สิงหาคม 2562