สถานี ก.ค.ศ.
เรื่อง การจ้างทำผลงานทางวิชาการการรับจ้างทำผลงานทางวิชาการและการคัดลอกผลงานทางวิชาการเป็น ความผิดวินัยร้ายแรง
สวัสดีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้สำนักงาน ก.ค.ศ. มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำหรับผู้ที่ประสงค์จะขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ด่วนที่สุด ที่ศธ 0206.4/ว 17 ลงวันที่ 30 กันยายน 2552 (ว 17/2552) โดยที่หลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าว กำหนดให้มีการประเมิน 3 ด้าน คือด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ และด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน สำหรับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษขึ้นไป การประเมินด้านที่ 1 และ 2 คณะกรรมการจะประเมิน ณ สถานที่ปฏิบัติงานจริง ด้านที่ 3 มี 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน/ผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษา/ผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหาร และการจัดการศึกษา/ผลการพัฒนาคุณภาพการนิเทศการศึกษา และส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ ก.ค.ศ. กำหนดให้มีการจัดทำผลงานทางวิชาการสำหรับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 1 รายการ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ จำนวน 2 รายการโดยต้องเป็นงานวิจัย อย่างน้อย 1 รายการสำหรับวิทยฐานะ เชี่ยวชาญ และวิจัยและพัฒนา อย่างน้อย 1 รายการสำหรับวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ
ก.ค.ศ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะ โดยมี เจตนารมณ์ต้องการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้สั่งสมประสบการณ์การปฏิบัติงานในหน้าที่ความรู้รับผิดชอบ จนเกิดความชำนาญ ความเชี่ยวชาญใตำแหน่งนึ่งและมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่จนเป็นที่ประจักษ์และเกิดประโยชน์กับผู้เรียน ครูสถานศึกษาหรือผู้เกี่ยวข้อง สามารถนำผลงานดังกล่าวไป ขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามมีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่วนหนึ่งที่เสนอผลงานทางวิชาการที่มีความคล้ายคลึงกัน เช่น ชื่อเรื่อง การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ในบทที่ 2 ส่วนใหญ่นำเนื้อหาของนักวิชาการมานำเสนอโดยขาดการอ้างอิง เนื้อหาของผลงานทางวิชาการส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน เป็นต้น ซึ่ง ก.ค.ศ. มีมติให้ส่วนราชการต้นสังกัดตรวจสอบและรายงานให้ก.ค.ศ. ทราบ
ในกรณีดังกล่าวกฎหมายได้กำหนดหลักปฏิบัติไว้ใน มาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 บัญญัติไว้ว่า "ข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาต้องไม่คัดลอก หรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบุหรี่อนำเอาผลงาน ทางวิชาการของผู้อื่น หรือจ้าง วาน ใชผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอขอปรับปรุง การกำหนดตำแหน่ง การเลื่อตำแหน่งนึ่ง การเลื่อนวิทยฐานะหรือการให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้น การฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ร่วมดำเนนการคัดลอก หรือลอกเลียนผลงานของผู้อื่น โดยมิชอบุหรี่อรับจัดทำผลงานทางวิชาการไม่ว่าจะมีค่าตอบแทน หรือไม่ เพื่อให้ผู้อื่นนำผลงานนั้น ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนนการตามวรรคหนึ่ง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง"
ในเรื่องการคัดลอก ลอกเรียนผลงานทางวิชาการนี้ ก.ค.ศ. เคยมีแนววินิจฉัยสรุปได้ว่า การจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ถ้าจะมีการนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่นมาอ้างอิงก็ต้อง ระบุไว้ได้ถูกต้องในเชิงอรรถ และบรรณานุกรมว่าได้มาจากแหลงค้นคว้าที่ไหน ใครเป็นผู้แต่งหรือวิจัยซึ่งกระทำได้โดยชอบ แต่พฤติการณ์ที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้คัดลอกผลงานวิจัยของผู้อื่น ประมาณ 80% โดยไม่มีการอ้างอิงไว้โดยชอบตามหลักการวิจัย นั้นเป็นกรณีที่เข้าองค์ประกอบตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 แล้ว
ดังนั้น ในกรณีที่ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วปรากฏว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการและเข้าข่ายตามมาตรา 91 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้นั้น นอกจาก ก.ค.ศ. จะไม่อนุมัติให้เลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้นแล้ว อาจเข้าข่ายกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงด้วย จึงขอให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ตระหนี่กและให้ความสำคัญกับการอ้างอิง แหลงที่มาของข้อมูล ให้เป็นไปตามหลักการวิจัยในการจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อเสนอขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะด้วย
ดร.อุษณีย์ ธโนศวรรย์
เลขาธิการ ก.ค.ศ.
ที่มา สำนักงาน ก.ค.ศ. วันที่ 9 สิงหาคม 2562