Advertisement
ชื่อของ“วิทยาการคำนวณ” หรือ “Computing Science” วิชาน้องใหม่ที่กระทรวงศึกษาธิการเพิ่งบรรจุให้เป็นวิชาที่เด็กไทยต้องเรียนเมื่อปีการศึกษา 2561 กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการ ลุกขึ้นมาฉายสปอตไลท์ไปที่การส่งเสริมการติดอาวุธให้โค้ดดิ้ง ( Coding) เป็นหนึ่งในทักษะที่สร้างได้ในห้องเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ เป็นภาษาที่สามที่เด็กไทยไม่ใช่แค่น่ารู้ แต่ต้องรู้ เพราะเป็นทักษะแห่งโลกอนาคตที่ประเทศชั้นนำทั่วโลกกำลังตื่นตัว แต่มีเพียงไม่กี่ประเทศชั้นนำเท่านั้นที่นำร่องบรรจุวิชานี้ไว้ในหลักสูตรระดับชาติไปแล้ว ยกตัวอย่าง เช่น ฟินแลนด์ เกาหลีใต้ อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา
คำถาม คือ ครูไทยมีความพร้อมแค่ไหนที่จะผลิตเด็กนักเรียนสายพันธุ์ใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยทักษะที่โลกแห่งอนาคตต้องการ
พูดถึงครูไทย ผู้กุมกุญแจดอกสำคัญที่จะพาให้เด็กไทยปลดล็อกทักษะแบบเดิมๆ มาสู่ทักษะใหม่ๆ ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับผู้กำหนดนโยบาย สังคม ครอบครัว ตลอดจนตัวแปรสำคัญที่ขาดไม่ได้อย่าง คุณครู ฮีโร่คนสำคัญที่ต้องกระโจนเข้าสู่สมรภูมิแห่งการเรียนการสอนในวิชาที่แม้แต่ตัวเองก็ไม่เคยได้เรียน เพราะเป็นวิชาใหม่แกะกล่องที่ไม่เคยมีการสอนในประเทศมาก่อน!
ด้วยเหตุนี้ อักษร เอ็ดดูเคชั่น ในฐานะผู้ออกแบบนวัตกรรมทางการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ครบวงจรตอบโจทย์นวัตกรรมการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสนับสนุนครูมาโดยตลอดจึงมุ่งมั่นพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อช่วยติดอาวุธให้ครูไทยพร้อมสร้างเด็กไทยให้เก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก
ครูไม่ต้องไฮเทคก็สอนวิทยาการคำนวณได้
ก่อนจะเฉลยเคล็ดลับที่จะทำให้ครูไทยพร้อมสำหรับการสอนวิทยาการคำนวณ ตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ฉายมุมมองให้เห็นถึงความสำคัญของวิชาวิทยาการคำนวณก่อนว่า เป็นวิชาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะด้านการคิดเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นหา ประเมิน จัดการ พร้อมทั้งนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งทั้งหมดนี้คือทักษะขั้นพื้นฐานในการนำเอาความรู้ที่ได้ไปต่อยอดกับอีกหลากหลายวิชา และถือได้ว่าเป็นทักษะสำคัญสำหรับเด็กไทยที่ก้าวเข้าสู่โลกยุคดิจิทัลเต็มตัว
“แม้ภาครัฐจะประกาศให้วิชาวิทยาการคำนวณเป็นวิชาภาคบังคับที่เด็กไทยทุกคนต้องเรียนมา 1 ปีแล้ว แต่ต้องยอมรับว่าด้วยความที่เป็นเรื่องใหม่ของสังคม ไม่ใช่แค่สำหรับครูไทย ทำให้ครูยังมีความกังวลถึงวิธีจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน รวมไปถึงสื่อการเรียนการสอนที่จะทำให้เด็กสามารถตอบวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของวิชาวิทยาคำนวณได้ เนื่องจากวิชานี้เป็นวิชาที่ต้องเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning โดยผู้เรียนต้องได้คิดและปฏิบัติผ่านสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้ลองผิดลองถูก หาข้อผิดพลาดและแก้ไขชิ้นงานได้แบบเป็นรูปธรรม ซึ่งห้องเรียนแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มจากครูผู้สอน จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและเพิ่มพูนทักษะความรู้เพื่อที่จะสามารถนำไปถ่ายทอดประสบการณ์ต่อได้ในห้องเรียนก่อน”
สร้างครู สร้างอนาคตเด็กไทย
ผู้บริหารคนเก่งยังเผยด้วยว่า สิ่งที่อักษรมุ่งมั่นในฐานะผู้ช่วยคนสำคัญของครู คือ พยายามปรับมายด์เซ็ทครูว่า วิทยาการคำนวณไม่ยากอย่างที่คิด โดยอักษรพยายามนำโซลูชั่นใหม่ๆ ใส่เข้าไปในกระบวนการเรียนรู้ของเรา ผ่านสื่อฯและกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ช่วยให้คุณครูมีไกด์ไลน์ในการสอน สามารถนำไปปรับใช้ได้ตามบริบทของแต่ละห้องเรียน
“อย่างที่บอก วิทยาการคำนวณเป็นเรื่องใหม่สำหรับทุกคน อักษรเองก็เช่นกัน เราจึงเริ่มต้นจากการพัฒนาบุคลากรภายใน ด้วยการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง พร้อมกับจับมือกับองค์กรทั้งระดับโลกและระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็น Code.org เว็บไซต์ชื่อดังด้านการเขียนภาษาโค้ดดิ้งจากสหรัฐอเมริกา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมไปถึง Micro:bit Educational Foundation ซึ่งแต่งตั้งให้เราเป็นผู้จำหน่ายไมโครบิต บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อการศึกษาในประเทศไทยอย่างเป็นทางการอีกด้วย
“เราอยากสร้างให้นักเรียนและครูมีความคิดแบบ computational thinking จึงดูหลักสูตรจากทั่วโลก ก็ได้มาเจอกับ Code.org ซึ่งเขามีผู้เชี่ยวชาญในการทำหลักสูตรอยู่แล้ว เลยจับมือเป็นพาร์ตเนอร์กันเพื่อนำหลักสูตรของเขามาประยุกต์กับหลักสูตรของเราในการจัดทำสื่อวิชาวิทยาการคำนวณ นอกจากนี้ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็น International Professional Development Partner ซึ่งมีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกเท่านั้น โดยอักษร ถือเป็นเอกชนรายเดียวในประเทศ”
นอกจากนี้อักษรยังได้ส่งนักวิชาการเข้าร่วมอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับวิทยาการคำนวณอย่างต่อเนื่อง รวมถึงหลักสูตร CS Fundamentals Facilitator Summit ของ Code.org ที่เมืองซานอันโตนิโอ สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพื่อให้นักวิชาการของอักษรสามารถเป็นผู้อำนวยการฝึกและอบรม(facilitator) กับครูไทย พร้อมเดินหน้าจัดการอบรมสัมมนาครูทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อจุดประกายให้ครูไทยต่อยอดองค์ความรู้ไปสู่การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมในห้องเรียนด้วยตนเอง
“วิชาวิทยาการคำนวณไม่ได้สอนเพื่อให้เด็กทุกคนต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ หรือนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่ต้องการให้เด็กมีทักษะการคิดที่ถูกใช้ในการทำความเข้าใจปัญหา และสามารถสร้างแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ แม้ในห้องเรียนที่ไม่ไฮเทคก็ยังสามารถเรียนวิชาวิทยาการคำนวณได้ ผมเชื่อว่า หากเราร่วมกันสร้างรากฐานให้เด็กๆ ฝึกคิด วิเคราะห์และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ความหวังจะเห็นเด็กไทยเปลี่ยนบทบาทจากผู้ใช้เทคโนโลยีเป็นผู้สร้างเทคโนโลยีก็อยู่ไม่ไกล” ตะวันทิ้งท้าย
Advertisement
เปิดอ่าน 61,405 ครั้ง เปิดอ่าน 11,584 ครั้ง เปิดอ่าน 25,325 ครั้ง เปิดอ่าน 29,515 ครั้ง เปิดอ่าน 31,642 ครั้ง เปิดอ่าน 13,469 ครั้ง เปิดอ่าน 4,223 ครั้ง เปิดอ่าน 16,672 ครั้ง เปิดอ่าน 12,860 ครั้ง เปิดอ่าน 44,382 ครั้ง เปิดอ่าน 17,873 ครั้ง เปิดอ่าน 13,803 ครั้ง เปิดอ่าน 65,254 ครั้ง เปิดอ่าน 14,024 ครั้ง เปิดอ่าน 23,567 ครั้ง เปิดอ่าน 18,470 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 79,429 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 24,904 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 48,597 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 1,457 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,469 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 63,744 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 60,905 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,296 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,075 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,160 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,839 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,034 ครั้ง |
|
|