กอปศ.สรุปข้อเสนอแนะปฏิรูปการศึกษาถึงรัฐบาล ย้ำทุกฝ่ายต้องนึกถึงส่วนรวมร่วมปฏิรูปการศึกษา เพราะการจัดการศึกษาไม่ใช้หน้าที่ของรัฐเท่านั้น
วันนี้( 23 เม.ย.) ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา(กอปศ.) เปิดเผยว่า ในการประชุม กอปศ. ที่ประชุมได้พิจารณาการจัดทำรายงานของ กอปศ. โดยได้หารือถึงข้อเสนอแนะซึ่งเป็นบทสุดท้ายของรายงานที่จะเสนอไปยังรัฐบาล โดยมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.การสร้างความตระหนักในสังคมให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องปฏิรูปการศึกษา และให้เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วม 2.ให้มีการผลักดันให้เกิดคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ และมีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ 3. ให้ปรับปรุงงานของการศึกษาแห่งชาติ รวมทั้งโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ ตามแนวทางและเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และแผนปฏิรูปประเทศ 4.ให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ เกิดผลลดและแก้ไขความเหลื่อมล้ำได้ และจัดสรรงบฯที่เพียงพอ
ประธาน กอปศ กล่าวต่อไปว่า 5.ให้เน้นการปรับเปลี่ยนโรงเรียนในระบบการศึกษาให้เกิดประสิทธิผล สร้างผู้เรียนที่มีคุณภาพในระดับสากล เชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตัวเอง 6. เร่งรัดพัฒนาเด็กปฐมวัยตามพ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยดูแลเรื่องมาตรฐาน และบุคคลที่จะมาดูแลเด็ก โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่า จะดูแลเด็กปฐมวัยที่มีอยู่หลายล้านคนได้อย่างไร ทั้งนี้ที่ประชุมได้เสนอเพิ่มเติมในเรื่องการดูแลผู้พิการทางสมอง และพิการทางร่างกาย ด้วย เนื่องจากระบบการดูแลและงบฯที่ใช้ตามปกติไม่สามารถแก้ปัญหาได้ 7.ให้ทุกภาคส่วนของสังคมตระหนักและมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครองชุมชุน ส่งเสริมเจตคติและค่านิยมที่ดีในสังคม เพราะถือเป็นคุณภาพที่แท้จริงของการศึกษา ไม่ใช่ใบปริญญาหรือใบรับรอง ที่สำคัญต้องเข้าใจตรงกันว่าการจัดการศึกษาไม่ใช่หน้าที่ของรัฐทั้งหมด แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องมีส่วนร่วม นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอต่อสื่อมวลชนว่า ขอให้ใช้บทบาทของสื่อในการเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ เพิ่มเจตคติที่ดีและสติปัญญาแก่สังคม ดูแลไม่ให้เกิดผลลบและความรุนแรง
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันอังคารที่ 23 เมษายน 2562
บอร์ดอิสระฯ ชง 8 ประเด็น เสนอรัฐบาล สะท้อนความห่วงใย"การปฎิรูปการศึกษา" ต้องได้รับการใส่ใจ สานต่อ
23เม.ย.62-นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการอิสระฯ ได้ดำเนินงานด้านการปฏิรูปการศึกษามาเป็นระยะเวลา 2 ปีแล้วนั้น ขณะนี้ที่ประชุมได้จัดทำรายงานข้อมูลการดำเนินงานต่างๆ อีกจำนวนหนึ่งที่คิดว่าควรจะบันทึกไว้ สำหรับใช้ประโยชน์ในการปฏิรูปการศึกษาต่อไป และคณะกรรมการอิสระฯ จะจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อเสนอไปยังรัฐบาล ประมาณ 8 ข้อ คือ 1.การสร้างความตระหนักในสังคมทุกภาคส่วนให้เห็นถึงความจำเป็นของการปฏิรูปการศึกษา และให้นความสำคัญเรื่องการมีส่วนร่วม ซึ่งเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาล 2.ให้มีการดำเนินการผลักดันให้เกิดคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเป็นกลไกหลักของการปฏิรูปการศึกษา รวมถึงให้มีสำนักคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ ตลอดจนองค์ประกอบต่างๆ เช่น กรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา 3.ให้ปรับปรุงงานของการศึกษาแห่งชาติ รวมทั้งโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้เป็นไปตามแนวทางและเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และแผนปฏิรูปประเทศ ซึ่งไม่ได้บอกว่าจะปรับอย่างไร แต่โครงสร้าง ศธ. จำเป็นต้องเปลี่ยนเพื่อจะได้รองรับการทำงานในอนาคต
ประเด็นที่ 4.ให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ เกิดผลลดและแก้ไขความเหลื่อมล้ำได้ โดยมีการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ 5.ให้เน้นการปรับเปลี่ยนโรงเรียนในระบบการศึกษาให้เกิดประสิทธิผล ให้ผู้เรียนที่มีคุณภาพระดับสากล สามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตัวเอง เป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ 6.เร่งรัดพัฒนาเด็กปฐมวัยตาม พ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งจะต้องดูแลเรื่องมาตรฐาน บุคคลที่จะมาดูแลเด็ก ดูแลผู้ที่เข้ามารับผิดชอบโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ดูแลเด็กปฐมวัยที่มีอยู่หลายล้านคนกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยที่ประชุมได้เสนอเพิ่มเติม คือ เรื่องการดูแลผู้พิการทางสมอง และพิการทางร่างกาย ต้องมีการเน้นให้เพิ่มเป็นพิเศษ เพราะปัจจุบันเราดูแลคนกลุ่มนี้ด้วยระบบและงบประมาณที่ใช้ตามปกติ ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จึงต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ 7.ข้อเสนอแนะต่อสังคม ที่ทุกภาคส่วนต้องมีการตระหนักกับปัญหาการศึกษาและมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครอง ชุมชุน และต้องส่งเสริมเจตคติ ค่านิยมที่ดีในสังคม เพราะค่านิยมที่ดีถือเป็นคุณภาพที่แท้จริงของการศึกษา ไม่ใช่ใบปริญญาหรือใบรับรอง และการจัดการศึกษาไม่ใช่หน้าที่ของรัฐทั้งหมด แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะมีส่วนร่วม เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน และสุดท้าย 8.ข้อเสนอต่อสื่อมวลชนให้สร้างความตระหนัก ความรับผิดชอบ และบทบาทในการศึกษา รวมถึงใช้การเสนอของสื่อให้มีการเพิ่มความรู้ความเข้า เจตคติ และสติปัญญหาให้แก่สังคม พร้อมกับดูแลไม่ให้เกิดผลลบของสื่อกับสังคม
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ไทยโพสต์ วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562