สมาคมเครือข่ายครูดีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 (สพป.นศ.2) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พัฒนาครูสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียน (Active Play Active School) ให้กับครูในสังกัด สพป.นศ.2 กว่า 150 คน ระหว่างวันที่ 9 – 10 มีนาคม 2562 ณ โรงแรมแกรนด์เซาร์เทิร์น อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
นางพรรณี สกุณา นายกสมาคมเครือข่ายครูดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 กล่าวว่า กิจกรรมการศึกษาสร้างสุขผ่าน “โรงเรียนสุขภาวะ” คือ ทางเลือกที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาการศึกษาของเยาวชนไทยอีกทางหนึ่งโรงเรียนจัดการเรียนการสอนโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเสริมให้“ผู้เรียนเป็นสุข”โดยการ ปรับสภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มพฤติกรรมสุขภาพ จัดโครงสร้างและระบบต่างๆ ให้โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมปลอดภัย และส่งเสริมสุขภาวะของผู้เรียนทั้ง ด้านกาย ใจ สังคม และปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นต่อการรับการเปลี่ยนแปลงสู่โลก ยุคเทคโนโลยีดิจิตอลซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้นักเรียนเป็นจุดศูนย์กลาง เป็นการให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ เพราะการพัฒนาการศึกษาไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่งแต่เป็นของทุกคนและทุกภาคส่วนที่ร่วมด้วยช่วยกันโดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือต้องการให้นักเรียนและเยาวชนไทยเป็นคนดี คนเก่ง และสามารถดำรงอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป
ส่วนด้าน ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ปัญหาสภาพของนักเรียนในปัจจุบัน มีแต่นั่ง กิน เล่น เด็กติดจอ เล่นเกมส์ ดูหนัง ฟังเพลง ทำให้มีการออกกำลังกายน้อยลง รวมทั้งมีการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต่อสุขภาพซึ่งทำให้ร่างกายอ่อนแอและเป็นโรคอ้วน เจ็บป่วยกันป่วยและจากการสาธิตเล่นแล้วดี 4 มิติ กิจกรรม Active Play Active School ส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุน ให้คนไทยมีสุขภาพดี ทั้ง กาย จิต สังคม ปัญญา กายคือการมีสุขภาพแข็งแรง เช่น หมั่นออกกำลังกาย ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ต่อมาเป็นสุขภาพจิต คือมีจิตใจดี ไม่เศร้าหมอง มีเมตตากรุณา มองว่าชีวิตของตัวเองมีคุณค่า มีประโยชน์ ซึ่งตรงนี้มันจะเชื่อมโยงไปถึงระดับสังคมด้วย คือการทำให้คนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับรอบข้าง และมิติสุขภาวะทางปัญญาซึ่งเป็นมิติที่มีความสำคัญ เข้าใจความสุข ความว่าง มองโลกตามความเป็นจริง และมีความพึงพอใจในชีวิต ซึ่งตามหลักพุทธศาสนาแล้ว นี่คือสภาวะสูงสุดจึงได้มีการสร้างความตระหนักการเปิดพื้นที่เรียนรู้ผ่านเวทีเสวนาสาธารณะ การจัดอบรม ให้นักเรียนได้ออกกำลังกาย 10 นาทีในตอนเช้า 20 นาทีในตอนพักกลางวัน และ 30 นาทีในตอนเย็น รวมทั้งรับประทานอาหารตามโภชนาการที่เหมาะสม ทำให้ กาย จิต สังคม ปัญญา ดีขึ้นได้ และอีกหลากหลายกิจกรรมที่วิทยากรอบรมให้ความรู้เพื่อนำไปพัฒนานักเรียน เยาวชนของชาติต่อไป