ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

แนะเพิ่มสอนการอ่านอัพคะแนนโอเน็ต-พิซา


ข่าวการศึกษา 27 ก.ย. 2561 เวลา 02:41 น. เปิดอ่าน : 8,046 ครั้ง

Advertisement

แนะเพิ่มสอนการอ่านอัพคะแนนโอเน็ต-พิซา

สกศ.จัดเสวนายกเครื่องโอเน็ต-พิซา ด้านที่ปรึกษาพิซาไทย จวกนโยบายลดเวลาเรียนสวนทางนานาชาติ แนะเพิ่มสอนการอ่านสร้างนิสัยให้เด็กผูกพันอยู่กับการอ่าน คะแนนพุ่งแน่

วันนี้ (26 ก.ย.) ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) มีการประชุมวิชาการ เรื่อง การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจากผลการทดสอบโอเน็ต และ พิซา โดย ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ รองเลขาธิการ สกศ.กล่าวว่า แผนการศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดดัชนีคุณภาพการศึกษาไว้ ว่า การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(โอเน็ต) ในปี 2561 - 2564 ตั้งเป้าหมายไว้ที่ ร้อยละ 50 ขณะที่ผลสอบโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ หรือ พิซา ของนักเรียนอายุ 15 ปี ตั้งเป้าหมายเพิ่มคะแนนระดับ 500 คะแนน ทั้งนี้ ข้อสรุปและความเห็นที่เป็นประโยชน์ สกศ.จะนำไปปรับใช้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการศึกษาชาติต่อไป

ดร.สุนีย์ คล้ายนิล ที่ปรึกษาโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ หรือ พิซา ประเทศไทย กล่าวว่า ตนทำเรื่องการสอบพิซา มาตั้งแต่ปี 2543 ท้อจนอยากถอย ผลการสอบพิซาครั้งล่าสุดปี 2558 ประเทศไทยคะแนนต่ำลงทุกวิชา คำถามที่ทุกคนต้องมาช่วยกันคิด ว่า เกิดอะไรขึ้นกับการเรียนการสอนของประเทศไทย ทั้งนี้ เมื่อดูพบว่าสิ่งที่หลายประเทศที่มีเด็กสอบพิซาได้คะแนนดีทำมานานแล้ว คือ เพิ่มการสอนการอ่าน เน้นเรื่องการอ่านในทุกวิชา ว่าอ่านอะไร เช่น อ่านกราฟได้ อ่านสูตรได้ อ่านและจับใจความได้ เน้นให้นักเรียนผูกพันอยู่กับการอ่านทุกที่ ไม่ใช่นั่งจิ้มโทรศัพท์ เช่น โปรแลนด์ เพิ่มชั่วโมงการอ่านมากขึ้นสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง ขณะไทยมีที่ชั่วโมงเรียนภาษาไทย หรือภาษาแม่ของประเทศไทยต่ำที่สุด นอกจากนี้ชั่วโมงเรียนที่มากขึ้น ยังส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนที่มีประสิทธิภาพ แต่ของประเทศไทยกลับลดชั่วโมงเรียน โดยไม่ดูข้อมูล เป็นการคิดเองแล้วก็ทำเลย

“โอเน็ตก็มีความสำคัญ และจะต้องจัดสอบให้สัมพันธ์กับการอ่าน ไม่ใช่แค่อ่านออก แต่ไม่รู้ความหมาย อธิบายไม่ได้ ไม่เข้าใจ ซึ่งผู้ที่สำคัญที่สุด คือ ครู ทั้งนี้ ที่ประเทศบราซิล ครู คือ กุญแจสำคัญของประเทศ ผู้บริหารต้องประกันว่า ครูได้รับการสนับสนุน ครูและผู้บริหารต้องได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอ นักการเมืองไม่ใช่นักการศึกษา จะกำหนดอะไรต้องถามนักการศึกษาก่อน ไม่ใช่บอกว่าจบจากประเทศอังกฤษแล้วจะทำอะไรก็ได้ ขณะเดียวกันยังพบว่า หลายประเทศที่ประสบความสำเร็จ ไม่การคัดเลือกเด็กเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษา ไม่แยกเรียนตามความสามารถ เช่น ห้องเด็กเก่ง เด็กอ่อน สายวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ เพราะจะทำให้เด็กอ่อนไม่เห็นวิธีการเรียนของเพื่อน ไปมั่วสุมกันเหมือนเด็กถูกคัดทิ้ง ไม่มีความทะเยอทะยาน ไม่เห็นคุณค่าของตนเอง เลยออกไปทำเรื่องไม่ดี แต่จะแยกได้เมื่อเด็กอยู่ในระดับที่สามารถตัดสินใจได้แล้วว่าชอบและถนัดอะไร” ดร.สุนีย์กล่าว และว่า มีผลการสำรวจออกมาว่า ยิ่งกวดวิชา คะแนนยิ่งต่ำ โดยที่ประเทศเวียดนามมีกฎหมาย ว่า ครูไม่สามารถสอนกวดวิชาได้ ถ้ามีหลักฐานว่า ครูรับเงินจากเด็กจะมีโทษถึงติดคุก

 

ขณะที่ รศ.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวว่า การวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง มี 4 ระดับ คือ ระดับชั้นเรียน สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ ซึ่งการประเมินทุกระดับมีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ ตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อนำผลไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในระดับชั้นเรียน คือ แบบบันทึกผลการเรียนรายวิชา (ปพ.5) ครูเปรียบเสมือนหมอต้องวินิจฉัยตลอดและพัฒนา ถ้าทำต่อเนื่องก็จะไม่มีใครตกและไม่กลัวการทดสอบไม่ว่าจะระดับใด ทั้งนี้ โอเน็ตเป็นการประเมินระดับชาติ ผลการสอบโอเน็ต จะมีผลทั้งระดับตัวเด็ก ซึ่งจะรู้ว่าตัวเองมีผลการเรียนในระดับใด อ่อนวิชาใด สามารถพยากรณ์การเรียนในระดับที่สูงขึ้นต่อไปได้ ขณะที่ครู และโรงเรียนก็สามารถนำผลคะแนนไปพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งตนย้ำมาตลอดว่า ผลการประเมินที่สะท้อนคุณภาพสถานศึกษาได้อย่างแท้จริง ต้องเน้นการเรียนการสอนในห้องเรียน อย่าติว อย่าเพิ่มภาระ และอย่าแยกส่วนการเรียนกับการสอบออกจากกัน

ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก เดลินิวส์ วันพุธที่ 26 กันยายน 2561

 

 


แนะเพิ่มสอนการอ่านอัพคะแนนโอเน็ต-พิซา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 10 ราย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 10 ราย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567

เปิดอ่าน 18,651 ☕ 30 มี.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สพฐ.แจ้งประชุมการเตรียมความพร้อม และมอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
สพฐ.แจ้งประชุมการเตรียมความพร้อม และมอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 695 ☕ 19 เม.ย. 2567

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
เปิดอ่าน 979 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
เปิดอ่าน 808 ☕ 18 เม.ย. 2567

ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 310 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
เปิดอ่าน 659 ☕ 17 เม.ย. 2567

การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,866 ☕ 15 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

อิทธิบาท 4
อิทธิบาท 4
เปิดอ่าน 24,209 ครั้ง

ปวดท้องตรงไหน เป็นอะไรกันแน่
ปวดท้องตรงไหน เป็นอะไรกันแน่
เปิดอ่าน 10,470 ครั้ง

โซเชียลทำพิษ... 5 โรคฮิตของคนติดจอ
โซเชียลทำพิษ... 5 โรคฮิตของคนติดจอ
เปิดอ่าน 11,021 ครั้ง

ตัวอย่างบริษัท ที่ไม่ควรทำงานด้วย
ตัวอย่างบริษัท ที่ไม่ควรทำงานด้วย
เปิดอ่าน 16,167 ครั้ง

วิธีป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
วิธีป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
เปิดอ่าน 12,029 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ