รมว.ศึกษาธิการ ถก บอร์ด กพฐ. เตรียมแก้เกณฑ์เฟ้นหาผู้บริหารสถานศึกษา ที่ขณะนี้มีตำแหน่งว่างอยู่ประมาณ 4,000 ตำแหน่ง
วันนี้ (13 ก.ค.) นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือแผนยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งได้มีการทำความเข้าใจใหม่เนื่องจากมีการใช้คำสับสน โดยแผนยุทธศาสตร์เป็นเรื่องของระดับชาติ ซึ่งมียุทธศาสตร์อยู่แล้วใน 6 ด้าน สิ่งที่กระทรวงต้องจัดทำคือแผนแม่บทที่ล้อไปตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิบัติการ อย่างไรก็ตามยังเป็นเรื่องของนามธรรม แต่เรื่องสำคัญที่เป็นรูปธรรมมีการหารือคือการเสนอแนะเรื่องการบริหารจัดการของ สพฐ. ในการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. ที่ขณะนี้มีตำแหน่งว่างอยู่ประมาณ 4,000 ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าหากมีการดำเนินการในลักษณะเดิมๆ ประเทศก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง อาทิ ควรจะมีการสอบหรือไม่ต้องสอบ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ควรจะมีการสอบ ตนเห็นว่าบอร์ด กพฐ.ควรจะให้ข้อเสนอแนะต่อ สพฐ. แทนที่จะรีบนำเข้าคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อจัดการตามที่ สพฐ.ต้องการ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อจัดทำหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและโยกย้าย มี ดร.สุเทพ ชิตยวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เป็นประธาน โดยให้ทำงานร่วมกับ ก.ค.ศ.และรับฟังความคิดเห็นจากคนในพื้นที่ เพื่อจัดทำหลักเกณฑ์ว่าทำอย่างไรให้ได้คนที่ดีที่สุดและชุมชนยอมรับ ถ้าสำสำเร็จก็จะขยายหลักเกณฑ์ดังกล่าวไปยังตำแหน่งอื่นๆอีก ส่วนที่ต้องมีการจัดทำหลักเกณฑ์แต่งตั้งและโยกย้ายไปพร้อมกันเพราะมองว่าหากไม่สอดคล้องกัน งานจะไม่สามารถเดินหน้าไปได้ด้วยดี โดยให้เร่งทำให้เสร็จภายใน 1-2 เดือนนี้ เพื่อนำมาใช้ได้ทันในการแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาที่จะมีขึ้นในเร็วๆนี้ ทั้งนี้หากบอร์ด กพฐ.เห็นชอบหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้วก็จะนำเข้าพิจารณาเห็นชอบ การปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารสถานศึกษาในบอร์ด ก.ค.ศ.ต่อไป
ด้าน ดร.สุเทพ กล่าวว่า ตนคงต้องรอคำสั่งแต่งตั้งอย่างเป็นทางการก่อน จากนั้นจะประชุมเพื่อจัดทำร่างหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและโยกย้ายผู้บริหารสถานศึกษา โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชารัฐและผู้ทรงคุณวุฒิร่วมหารือ ซึ่งจะเร่งให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อทันใช้ในการแต่งตั้งโยกย้ายที่จะมีขึ้นในเร็วๆนี้ หลักการสำคัญคือจะใช้วิธีการคัดเลือกแทนการสอบ รวมทั้งมีกรปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่ง และการกำหนดกรอบคุณสมบัติผู้ที่จะเข้ารับการคัดเลือก รวมทั้งจะมีการกระจายอำนาจการคัดเลิอกไปสู่คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวยังไม่ใช่ข้อสรุปเพราะจะต้องมีการหารือกันเพื่อให้ตกตะกอนอีกครั้ง.
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2561 เวลา 13.45 น.
ด้านไทยรัฐ ได้นำเสนอข่าวนี้ ดังนี้
กพฐ.ตั้งอนุฯแก้เกณฑ์เฟ้นบิ๊กสถานศึกษา
โละสอบใช้คัดเลือก-ยื่นดาบ กศจ. เร่งชง ก.ค.ศ.เฟ้น 4 พันตำแหน่งว่าง
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ว่าได้มีการหารือแผนยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งได้มีการทำความเข้าใจใหม่ เนื่องจากมีการใช้คำสับสน โดยแผนยุทธศาสตร์เป็นเรื่องของระดับชาติ ซึ่งมียุทธศาสตร์อยู่แล้วใน 6 ด้าน สิ่งที่กระทรวงต้องจัดทำคือแผนแม่บทที่ล้อไปตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิบัติการ อย่างไรก็ตามยังเป็นเรื่องของนามธรรม แต่เรื่องสำคัญที่เป็นรูปธรรมมีการหารือคือการเสนอแนะเรื่องการบริหารจัดการของ สพฐ.ในการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. ที่ขณะนี้มีตำแหน่งว่างอยู่ประมาณ 4,000 ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าหากมีการดำเนินการในลักษณะเดิมๆ ประเทศก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง อาทิ ควรมีการสอบหรือไม่ต้องสอบ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ควรสอบ ตนเห็นว่าบอร์ด กพฐ.ควรจะให้ข้อเสนอแนะต่อ สพฐ. แทนที่จะรีบนำเข้าคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อจัดการตามที่ สพฐ.ต้องการ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อจัดทำหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและโยกย้าย มี ดร.สุเทพ ชิตยวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธาน โดยให้ทำงานร่วมกับ ก.ค.ศ. และรับฟังความคิดเห็นจากคนในพื้นที่ เพื่อทำหลักเกณฑ์ว่าทำอย่างไรให้ได้คนที่ดีที่สุดและชุมชนยอมรับ ถ้าสำเร็จก็จะขยายหลักเกณฑ์ดังกล่าวไปยังตำแหน่งอื่นๆอีก ส่วนที่ต้องมีการจัดทำหลักเกณฑ์แต่งตั้งและโยกย้ายไปพร้อมกันเพราะมองว่าหากไม่สอดคล้องกัน งานจะไม่สามารถเดินหน้าไปได้ด้วยดี โดยให้เร่งทำให้เสร็จใน 1-2 เดือนนี้ เพื่อนำมาใช้ได้ทันในการแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาที่จะมีขึ้นในเร็วๆนี้ ทั้งนี้ หากบอร์ด กพฐ.เห็นชอบหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้วก็จะนำเข้าพิจารณาเห็นชอบในบอร์ด ก.ค.ศ.ต่อไป
ด้าน ดร.สุเทพกล่าวว่า ตนคงต้องรอคำสั่งแต่งตั้งอย่างเป็นทางการก่อน จากนั้นจะประชุมเพื่อจัดทำร่างหลักเกณฑ์ฯ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหลักการสำคัญคือ จะใช้วิธีการคัดเลือกแทนการสอบ รวมทั้งมีการปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่ง และการกำหนดกรอบคุณสมบัติผู้ที่จะเข้ารับการคัดเลือก รวมทั้งจะมีการกระจายอำนาจการคัดเลือกไปสู่คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.).
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 14 ก.ค. 2561 06:01