ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมการงานอาชีพ  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ประวัติของทุเรียนในประเทศไทย


การงานอาชีพ เปิดอ่าน : 23,650 ครั้ง
Advertisement

ประวัติของทุเรียนในประเทศไทย

Advertisement

ประวัติของทุเรียนในประเทศไทย โดย ดร.หิรัญ หิรัญประดิษฐ์

ประวัติของทุเรียนในสมัยอยุธยา

ใน พ.ศ. ๒๒๒๘ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งประเทศฝรั่งเศส ทรงส่งคณะราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นมาถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ กรุงศรีอยุธยา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี และเผยแผ่คริสต์ศาสนา รวมทั้งทำสัญญาสิทธิทางการค้า ในวาระที่คณะราชทูตฝรั่งเศสกราบถวายบังคมลากลับ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงส่งคณะราชทูตไทยตามไปฝรั่งเศสเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีด้วยเช่นกัน ตอนกลับ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงส่งคณะราชทูตตามมาด้วยอีกคณะหนึ่ง เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๒๓๐ โดยมี เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ (Monsieur de la Loubere) นักบวชนิกายเยซูอิต เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เพื่อมาเจรจาทำสัญญาทางด้านการค้ากับไทยอีกคราวหนึ่ง จนเป็นผลสำเร็จ เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ ซึ่งเป็นนักการทูตและนักเขียนที่มีชื่อเสียง ได้บันทึกสิ่งต่างๆ ที่ได้พบเห็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางสังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย รวมทั้งเกษตรกรรมของเมืองไทยบางส่วน และนำไปเขียนเป็นหนังสือเกี่ยวกับเมืองไทยสมัยอยุธยาในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสในกรุงปารีส เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๖ มีขนาดความยาว ๒ เล่ม ในเรื่องที่เกี่ยวกับเกษตรกรรมของไทย ตอนหนึ่งได้ระบุเรื่องเกี่ยวกับทุเรียนไว้ว่า

" ดูเรียน (Durion) ชาวสยามเรียกว่า "ทูลเรียน" (Tourrion) เป็นผลไม้ที่นิยมกันมากในแถบนี้ แต่สำหรับข้าพเจ้าไม่สามารถทนต่อกลิ่นเหม็นอันรุนแรงของมันได้ ผลมีขนาดเท่าผลแตง มีหนามอยู่โดยรอบ ดูๆ ไปก็คล้ายกับขนุนเหมือนกัน มีเมล็ดมาก แต่เมล็ดใหญ่ขนาดเท่าไข่ไก่ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้กิน ภายในยังมีอยู่อีกเมล็ดหนึ่ง ถือกันว่ายิ่งมีเมล็ดในน้อยยิ่งเป็นทูลเรียนดี อย่างไรก็ตาม ในผลหนึ่งๆ ไม่เคยปรากฏว่ามีน้อยกว่า ๓ เมล็ดเลย

จากหลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า มีการปลูกทุเรียนในภาคกลางของประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนจะเข้ามาจากที่ไหนและโดยวิธีใด ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่น่าเชื่อถือได้ว่าเป็นการนำมาจากภาคใต้ของประเทศไทยนั่นเอง และมีการปรับปรุงพันธุ์อย่างสม่ำเสมอตลอดมาโดยระบบของสังคมไทย เช่น การนิยมเอาผลไม้ดีที่สุดถวายพระหรือเป็นของกำนัลเจ้านาย รวมทั้งระบบของรัฐ เช่น การเก็บอากรเกี่ยวกับต้นผลไม้ เป็นการส่งเสริมแกมบังคับให้ทุกคนต้องปรับปรุงพืชผลของตนเอง ส่งผลให้เมืองไทยมีพันธุ์ไม้ผลดีๆ หลากหลายชนิดมาจนถึงสมัยปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่างานปรับปรุงพันธุ์ไม้ผลของประเทศไทยโดยชาวบ้านได้เริ่มตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา และเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษสู่ชนรุ่นปัจจุบัน


ประวัติของทุเรียนในสมัยรัตนโกสินทร์

พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) ได้กล่าวถึงการแพร่กระจายพันธุ์ของทุเรียนจากจังหวัดนครศรีธรรมราช มายังกรุงเทพฯ ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๓๑๘ และมีการทำสวนทุเรียนในตำบลบางกร่าง ในคลองบางกอกน้อยตอนใน มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๗

ในระยะต้น เป็นการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และพัฒนามาเป็นการปลูกด้วยกิ่งตอน จากพันธุ์ดี ๓ พันธุ์ คือ อีบาตร ทองสุก และการะเกด ผู้ที่หากิ่งตอนจากพันธุ์ดีทั้ง ๓ พันธุ์ไม่ได้ ก็ต้องใช้เมล็ดของทั้ง ๓ พันธุ์นั้นเป็นพันธุ์ปลูก ทำให้เกิดทุเรียนลูกผสมขึ้นมากมาย เป็นผลดีต่อการปรับปรุงพันธุ์ทุเรียนมาจนถึงปัจจุบัน

ดังได้กล่าวข้างต้น ปัญหาที่เกษตรกรไม่สามารถหากิ่งตอนจากพันธุ์ดีได้ จึงต้องใช้เมล็ดเป็นพันธุ์ปลูก การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจึงมีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๗ จนกระทั่งก่อนเกิดน้ำท่วมใหญ่ใน พ.ศ. ๒๔๘๕ นับเป็นเวลากว่า ๘๗ ปี ทำให้เกิดทุเรียนพันธุ์ลูกผสมขึ้นมากมาย และมีการขยายพันธุ์ปลูกในที่ต่างๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ใน พ.ศ. ๒๔๘๕ ทำให้ทุเรียนพันธุ์ต่างๆ หลายพันธุ์ในเขตจังหวัดนนทบุรีและธนบุรีสูญหายเพราะสวนล่ม แต่ก็ยังมีหลายสวนที่รอดพ้นมาได้ จึงกลายเป็นแหล่งพันธุ์ที่เหลืออยู่ แต่เนื่องจากการขยายพันธุ์ปลูกทำได้ไม่รวดเร็วพอ เกษตรกรจึงต้องใช้เมล็ดเป็นพันธุ์ปลูก ทำให้ได้ทุเรียนพันธุ์ลูกผสมเพิ่มเติมจากที่มีเหลืออยู่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการขาดความรู้และหลักเกณฑ์ทางวิชาการ ทุเรียนพันธุ์ต่างๆ จำนวนมากมายที่เกิดขึ้นจึงเป็นทุเรียนพันธุ์ลูกผสมตามธรรมชาติ ไม่สามารถทราบเชื้อสายพันธุกรรมของพ่อแม่พันธุ์ ขาดการบันทึกประวัติเป็นลายลักษณ์อักษรทางวิชาการ การตั้งชื่อพันธุ์ก็ไม่มีหลักเกณฑ์ อาจใช้ชื่อของผู้ที่เพาะเมล็ด ชื่อสถานที่ หรือตำแหน่งที่ต้นพันธุ์นั้นงอกหรือเจริญเติบโต ลักษณะรูปทรงของผล สี รสชาติ ฯลฯ ที่เป็นลักษณะที่เด่นชัดเป็นตัวกำหนดในการตั้งชื่อ ประกอบกับมีการกระจายการปลูกทุเรียนไปยังภาคต่างๆ ทำให้มีการกระจายพันธุ์ไปยังแหล่งปลูกใหม่เป็นจำนวนมาก รายชื่อพันธุ์ทุเรียน ที่รวบรวมได้จากเอกสารจึงมีเป็นจำนวนมากถึง ๒๒๗ พันธุ์ ซึ่งในจำนวน ๒๒๗ พันธุ์นี้ อาจมีหลายๆพันธุ์ที่เป็นพันธุ์เดียวกัน แต่มีการกำหนดชื่อพันธุ์ขึ้นใหม่ จึงเป็นการซ้ำซ้อน สับสน และไม่สามารถใช้ประโยชน์ ในเชิงวิชาการได้เท่าที่ควร

การบรรยายลักษณะประจำพันธุ์ที่มีผู้เคยศึกษาและดำเนินการไว้นั้น ไม่มีข้อบ่งชี้ที่สามารถกำหนดวัดเป็นตัวเลขได้อย่างชัดเจน การบรรยายโดยทั่วไปประกอบด้วย
๑. การบรรยายประวัติพันธุ์โดยสังเขป ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่าพันธุ์ทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ของไทยเกิดจากการเพาะเมล็ด และเป็นทุเรียนพันธุ์ลูกผสมตามธรรมชาติทั้งสิ้น
๒. การบรรยายลักษณะต้น บ่งชี้ถึงขนาดความสูงใหญ่ของทรงพุ่มเมื่อโตเต็มที่ การเจริญเติบโตเร็วหรือช้า อุปนิสัยหลังจาก การให้ผลหลายปี รวมทั้งลักษณะของกิ่งก้าน สาขาที่เห็นจากภายนอก
๓. การบรรยายลักษณะใบ บ่งชี้ขนาด รูปร่าง สีสัน และลักษณะเด่นชัดบางอย่าง ที่ได้จากการสังเกต
๔. การบรรยายลักษณะผล บ่งชี้ขนาด รูปร่าง ลักษณะหนาม ลักษณะพู ลักษณะขั้วผล และลักษณะเด่นชับางอย่างที่ได้จากการสังเกต
๕. การบรรยายลักษณะเนื้อ บ่งชี้ความ หนาบาง สี และความละเอียด
๖. การบรรยายลักษณะของรสชาติและกลิ่น เน้นที่ความหวานมัน และกลิ่นที่ฉุนมากน้อยเพียงใด
๗. การบรรยายลักษณะเมล็ด เน้นที่จำนวนเมล็ดเต็ม หรือเมล็ดลีบ

จากการสำรวจและสัมภาษณ์เกษตรกร ในแหล่งปลูกดั้งเดิม ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพฯ สภาพสวนโดยทั่วไปจะปล่อย ตามธรรมชาติ มีการจัดการน้อย เป็นสวนเก่าแบบยกร่อง มีคันคูกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม ระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถว ๘x๘ เมตร หรืออาจจะถี่กว่าถ้ามีเนื้อที่น้อย ไม่มีการขยายสวน ส่วนมากจะปลูกพืชแซมในสวนทุเรียน เช่น หมาก มะพร้าว มะนาว มะกรูด มะม่วง ชมพู่ กระท้อน กล้วย ฯลฯ พันธุ์ทุเรียนจะเป็นพันธุ์ปลูกดั้งเดิมเป็นส่วนมาก เช่น กำปั่น ลวง ทองย้อย และกบต่างๆ ส่วนพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้า เช่น ชะนี หมอนทอง และก้านยาวมีบ้างไม่มาก การดูแลรักษา การใช้ปุ๋ยเคมี การใช้สารกำจัดโรคและแมลงตลอดจนการจัดการอื่นๆมีน้อยมาก นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป เช่น ดิน น้ำ อากาศ แสงแดด ฯลฯ ที่เป็นปัจจัยส่งเสริมการทำสวน หรือการเจริญเติบโตของทุเรียน จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ถึงสภาพการทำสวนที่ไม่สามารถ พัฒนาหรืออนุรักษ์ต่อไปได้

สวนทุเรียนในเขตจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก ระยอง จันทบุรี และตราด สภาพสวนเป็นแบบไร่ ปลูกเป็นแปลงใหญ่ ไม่มีการยกร่อง ส่วนมากปลูกเฉพาะพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้า ได้แก่ พันธุ์ชะนี หมอนทอง และก้านยาว ส่วนพันธุ์ปลูกดั้งเดิมจะเหลือน้อยมาก คือสวนละ ๒-๕ พันธุ์ พันธุ์ละ ๑-๓ ต้น บางสวนไม่มีการปลูกหรือโค่นทิ้งทั้งหมด เนื่องจากพันธุ์ปลูกดั้งเดิมให้ผลผลิตที่ขายไม่ได้ราคา และไม่เป็นที่ต้องการของตลาด

ปัจจุบัน มีการปลูกทุเรียนเป็นจำนวนมากในทุกภาคของประเทศไทย เช่น ภาคเหนือ ที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดนครพนม ภาคกลาง ที่จังหวัดนนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และสระบุรี ภาคใต้ ที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นราธิวาส และตรัง ภาคตะวันออก ที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง ปราจีนบุรี และตราด จากสถิติการเพาะปลูก และพื้นที่การปลูกทุเรียน อาจกล่าวได้ว่าจังหวัดจันทบุรี ระยอง ปราจีนบุรี และตราด เป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่สำคัญของประเทศ

🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇

https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6


ประวัติของทุเรียนในประเทศไทย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ฟักทองญี่ปุ่น

ฟักทองญี่ปุ่น


เปิดอ่าน 20,155 ครั้ง
เทคโนโลยี 3G คืออะไร

เทคโนโลยี 3G คืออะไร


เปิดอ่าน 28,577 ครั้ง
ทำให้ถั่วฝักยาวมีฝักมาก

ทำให้ถั่วฝักยาวมีฝักมาก


เปิดอ่าน 38,690 ครั้ง
World Wide Web คืออะไร

World Wide Web คืออะไร


เปิดอ่าน 75,121 ครั้ง
Web 2.0

Web 2.0


เปิดอ่าน 15,433 ครั้ง
คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์

คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์


เปิดอ่าน 13,865 ครั้ง
VPN คืออะไร

VPN คืออะไร


เปิดอ่าน 18,100 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เคล็ดลับหุงข้าวอย่างมืออาชีพ

เคล็ดลับหุงข้าวอย่างมืออาชีพ

เปิดอ่าน 29,136 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
มังคุดคัด
มังคุดคัด
เปิดอ่าน 18,492 ☕ คลิกอ่านเลย

แตงโมเจลลี่ หวานฉ่ำสีสันสดใส ทำง่ายนิดเดียว
แตงโมเจลลี่ หวานฉ่ำสีสันสดใส ทำง่ายนิดเดียว
เปิดอ่าน 14,601 ☕ คลิกอ่านเลย

รำข้าว คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
รำข้าว คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
เปิดอ่าน 114,256 ☕ คลิกอ่านเลย

ประเภทของระบบสารสนเทศ
ประเภทของระบบสารสนเทศ
เปิดอ่าน 101,274 ☕ คลิกอ่านเลย

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
เปิดอ่าน 25,163 ☕ คลิกอ่านเลย

"พิกุล" สรรพคุณดีกว่าที่คิด
"พิกุล" สรรพคุณดีกว่าที่คิด
เปิดอ่าน 12,032 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ประวัติความเป็นมาของเครื่องหมายราก  หรือกรณท์
ประวัติความเป็นมาของเครื่องหมายราก หรือกรณท์
เปิดอ่าน 40,077 ครั้ง

3 ข้อควรรู้ ก่อนพาลูก ไปหาหมอ
3 ข้อควรรู้ ก่อนพาลูก ไปหาหมอ
เปิดอ่าน 9,039 ครั้ง

ตำนาน บ้านบางระจัน
ตำนาน บ้านบางระจัน
เปิดอ่าน 189,543 ครั้ง

คลิปรายการ "เจาะข่าวเด่น" ดร.ชินภัทร ชี้แจงกรณี "ลดการบ้านนักเรียน"
คลิปรายการ "เจาะข่าวเด่น" ดร.ชินภัทร ชี้แจงกรณี "ลดการบ้านนักเรียน"
เปิดอ่าน 14,279 ครั้ง

วงจรไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้า
เปิดอ่าน 68,584 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ