ทปอ.ยอมเพิ่มเคลียริ่งเฮาส์ทีแคสรอบ 3 เป็น 2 ครั้ง พร้อมขอโทษทำให้เด็กเดือนร้อย ชี้เด็กคะแนนสูงกั๊กที่นั่ง เลือกทั้งหมอ-นิเทศ แต่น่ากลัวกว่าไม่มีเป้าหมายให้ชีวิต ขณะที่ผู้ปกครองเครียดทั้งครอบครัว-ร้องไห้
จากกรณีทีมีข่าวว่าเด็กและผู้ปกครองจำนวนมากนัดรวมตัวกันที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ในวันที่ 31 พ.ค. นี้ เหตุเด็กเก่งกั๊กที่นั่งในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2561หรือทีแคสรอบ 3 คือ การรรับตรงร่วมกัน ซึ่งบางคนมีชื่อติดถึง 4 มหาวิทยาลัย นั้น วันนี้( 30 พ.ค. )ที่ สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหากรณีทีมีข่าวว่าเด็กและผู้ปกครองจำนวนมากนัดรวมตัวกันที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ในวันที่ 31 พ.ค. นี้ เหตุเด็กเก่งกั๊กที่นั่งในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2561หรือทีแคสรอบ 3 คือ การรรับตรงร่วมกัน ซึ่งบางคนมีชื่อติดถึง 4 มหาวิทยาลัย
จากนั้นผศ.ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ เลขาธิการ ทปอ. ให้สัมภาษณ์ ว่า จากข้อโต้แย้งกรณีนักเรียนจำนวนหนึ่งที่ได้รับการคัดเลือกในระบบทีแคสรอบ 3 ถึง 4 แห่ง และเมื่อนักเรียนยืนยันสิทธิ์ไปรอบ 3แล้ว ส่งผลให้ที่นั่งในสาขาอื่นว่างลง และมหาวิทยาลัยจะได้จำนวนรับเข้าไม่ครบตามเป้าหมาย ส่งผลกระทบในทางปฏิบัติทั้งมหาวิทยาลัยและนักเรียนที่สมัคร สมาคมทปอ. เห็นว่าเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และรักษาประโยชน์ของนักเรียน จึงกำหนดแนวปฏิบัติการยืนยันสิทธิ์ในรอบที่ 3 ดังนี้ 1. สมาคม ทปอ.จะเพิ่มการเคลียริ่งเฮาส์ในรอบ 3 เป็น 2 ครั้ง คือเคลียริ่งเฮาส์3 / 1 และเคลียริ่งเฮาส์3/2 โดยให้มีการสอบสัมภาษณ์พร้อมกัน ระหว่างวันที่ 10-11 มิ.ย.2561 ทั้งนี้ในการดำเนินการสำหรับนักเรียนที่ได้รับการประกาศคือ 1. ยืนยันสิทธิ์ 2. ไม่ยื่นยันสิทธิจะถือว่านักเรียนขอสละสิทธิ์ได้แก่ สละสิทธิ์/Decline ไม่เลือกสาขาวิชาที่ได้รับสิทธิ์ตามเคลียริ่งเฮาส์ 3/1และ ไม่เข้าทำการใดๆ ในระบบ
ผศ.ดร.ประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้การสละสิทธิ์สาขาวิชาที่ได้รับสิทธิ์ในรอบเคลียริงเฮาส์ 3/1 นักเรียนจะไม่มีสิทธิ์ในการเลือกสาขาวิชานั้นๆ อีก ในรอบเคลียริ่งเฮาส์3 /2 แต่จะมีสิทธิ์เลือกสาขาวิชาที่มีการคัดเลือกเพิ่มเติมในเคลียริ่งเฮาส์3 /2 ตามจำนวนที่ตนเองไม่ได้รับการคัดเลือกมาก่อนแล้วเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนได้รับการประกาศชื่อคัดเลือกจำนวน 2 สาขาวิชาในรอบเคลียริงเฮาส์ 3/1 ไม่ยืนยันสิทธิ์นั้น นักเรียนจะมีสิทธิ์ได้รับการคัดเลือกเพิ่มเติมในรอบเคลียริงเฮาส์ 3/1 ไม่เกิน 2 สาขาวิชาที่เหลือเท่านั้น ทั้งนี้ขอให้เด็กทุกคนที่ทีแคสรอบ 3 ไม่ต้องเข้ามาทำอะไร ไม่ต้องเข้ามาสมัครใหม่ เพราะทปอ.จะใช้ 4 อันดับเป็นเกณฑ์ในเคลียริ่งเฮาส์ ทั้ง 2 ครั้ง
“สิ่งที่ผมเป็นห่วงขณะนี้ไม่ใช่ปัญหาการกั๊กที่นั่ง แต่เป็นประเด็นเด็กเก่งๆ ได้คะแนนสูง แล้วมาเลือกในกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย((กสพท) และยังไปเลือกคณะนิเทศศาสตร์ แสดงให้เห็นว่าเด็กไม่มีความชัดเจนในเป้าหมายของชีวิต และบ่งบอกว่าเด็กไม่รู้จักตัวเอง ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนการในอนาคต ผมคิดว่าสิ่งที่น่ากลัวกว่าการกั๊ก ควรจะกลัวอนาคตของประเทศก่อนดีหรือไม่ ” ผศ.ดร.ประเสริฐ กล่าวและว่า สำหรับปัญหาการกั๊กที่นั่งรุนแรงนี้คาดการณ์ว่าจะเกิดกับเด็กกสพท ซึ่งมีจำนวน 2,900 คนเท่านั้น และเกิดในมหาวิทยาลัยดังไม่เกิน 5 แห่งเท่านั้น
ต่อข้อถามการเตรียมการรับเด็กและผู้ปกครองที่จะมารวมตัวกันในวันที่ 31 พ.ค. นั้นผศ.ดร.ประเสริฐ กล่าวว่า ถ้าเด็กและผู้ปกครองจะมาก็มาได้ แต่ทปอ.ได้แก้ปัญหาไปแล้ว ถ้ามาเราจะคุยด้วยเหตุและผล สำหรับเด็กที่ได้รับความเดือนร้อนหรือรับผลกระทบในครั้งนี้ ตนก็ยินดีที่จะขอโทษ พร้อมรับฟังปัญหา เพื่อนำไปแก้ไขในครั้งต่อไป
นางเฉลิม เติมทอง ผู้ปกครองนักเรียนที่สอบทีแคส รอบ 3 กล่าวว่า ครอบครัวกังวลระบบทีแคสรอบ 3 จะต้องมีการกั๊กที่นั่งแน่นอน เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมามีผู้ปกครองบางกลุ่มได้ทำหนังสือมายัง ทปอ.เรื่องดังกล่าว แตทปอ.แจ้งว่าอย่าไปกังวล ไม่มีการกั๊กที่นั่งแน่นอน แต่เมื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกาศผลสอบทีแคสรอบ 3 เมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ในส่วนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ลูกตนเลือกสมัครนั้น มีนักเรียนที่มีชื่อติดหลายสาขาซ้ำกัน เช่น ติดทั้งวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ติดทั้งวิศวกรรมทั่วไป แต่เลือกยืนยันสิทธิได้เพียงสาขาเดียว ส่งผลให้ตรงนี้กลายเป็นการกั๊กที่นั่งเพราะเด็กเก่งสุดจะทำให้เด็กเก่งปานกลางลงไปเรื่อยๆ เหมือนเป็นการกั๊กที่นั่ง
"จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ลูกและครอบครัวเครียดกันมาก ลูกถึงขั้นกับร้องไห้กับเรื่องนี้ มองว่า ทปอ.ควรทำให้เด็กที่สมัครรอบ 3 ได้ที่นั่งให้เต็ม ไม่ควรผลักไปยังทีแคส รอบ 4 เนื่องจากใช้หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกต่างกัน " นางเฉลิม กล่าวและว่าอยากให้ทปอ.มีการเปลี่ยนแปลงระบบ และการแก้ปัญหาของ ทปอ.ควรให้มีผู้ส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ไม่ใช่แอบหารือกันแล้วออกมาประกาศ และไม่ควรใช้ระบบนี้อีกในปีหน้า เพราะตนมีลูกอีกคนก็หวั่นว่าจะเกิดปัญหาแบบเดิมๆ
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก เดลินิวส์ วันพุธที่ 30 พฤษภาคม 2561