ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สตรี "วัยทอง" กับการใช้ฮอร์โมน


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,418 ครั้ง
สตรี "วัยทอง" กับการใช้ฮอร์โมน

Advertisement

สตรี "วัยทอง" กับการใช้ฮอร์โมน

 



" ตรีวัยทองก็คือ
วัยหมดประจำเดือน
ซึ่งหมายถึง
การมีประจำเดือน
ครั้งสุดท้าย
ที่ทราบได้
โดยการ
นับย้อนหลังไป
ภายหลัง
จากที่ไม่มี
ประจำเดือน
มานาน 1 ปี "

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สตรีวัยทองก็คือ วัยหมดประจำเดือน (Menopause : เมโนพอซ) ซึ่งหมายถึง การมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่ทราบได้โดยการ นับย้อนหลังไปภายหลัง จากที่ไม่มีประจำเดือนมานาน 1 ปี และในช่วงนี้จะมีอาการผิดปกติ เช่น ขี้หงุดหงิด, อาการร้อนวูบวาบ, มีการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์, อาการกระดูกพรุน, กระดูกเปราะบาง-หักง่าย, มีอาการของระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นผลมาจาก การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สร้างมาจากถุงไข่ในรังไข่ โดยที่สตรีจะมีจำนวนถุงไข่ในรังไข่ลดลงเรื่อยๆ ในช่วงใกล้หมดประจำเดือน จำนวนฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลงเรื่อยๆ เช่นกัน ขณะเดียวกันฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นมาได้เอง เพื่อป้องกันไม่ให้เอสโตรเจนกระตุ้นร่างกายมากเกินไป ช่วยรักสมดุลตามธรรมชาติก็จะลดลงด้วย ในสตรีวัยทอง ดังแผนภาพ

 

แผนภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในสตรีวัยทอง
ช่วงก่อนและหลังจากที่หมดประจำเดือน 3 ปี

 

จากแผนภาพข้างต้น ท่านจะเห็นได้ว่าจำนวนถุงไข่ลดลง ทำให้ระดับเอสโตรเจนลดลงอย่างไม่สม่ำเสมอ เป็นผลให้ประจำเดือน ในช่วงก่อนหมดประจำเดือน 2 ปี เริ่มไม่สม่ำเสมอ มาบ้าง-ขาดบ้าง, มาน้อย-มามาก และไม่มีการตกไข่ ซึ่งก็หมาย ถึงไม่มีการตั้งครรภ์ได้อีกต่อไป

 

สรุปง่ายๆ สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนก็คือ เอสโตรเจนทำให้มีการตกไข่ และมีการเตรียมพร้อมของเยื่อบุภายในโพรงมดลูกที่จะบุตัวให้หนา มีเลือดมาเลี้ยงให้มากขึ้น พร้อมที่จะรับการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสม เกิดเป็นลูกน้อยของท่าน ในขณะที่ภายหลังการตกไข่ได้ 7-10 วัน จะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมาเปลี่ยนแปลงเยื่อบุมดลูก ที่ไม่ได้มีไข่มาฝังตัวให้หลุดลอกออกมาเป็น "ประจำเดือน" หรือเมนส์ ที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง ดังนั้นเมื่อจำนวนถุงไข่ลดลง ฮอร์โมนเอสโตรเจน ลดลงส่งผลให้โปรเจสเตอโรนลดลงด้วยอาการต่างๆ ที่ตามมาอย่างชัดเจนก็คือ

 

  • อาการของระบบทางเดินปัสสาวะและช่องคลอด

 

ทั้งสองระบบได้รับผลจากเอสโตรเจนคล้ายๆ กัน คือ เอสโตรเจนจะทำให้ช่องคลอดและระบบทางเดินปัสสาวะมีสภาวะเป็นกรด ช่วยป้องกันการลุกล้ำของเชื้อแบคทีเรียที่จะปนเปื้อนมาจากทวารหนัก ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เมื่อขาดเอสโตรเจน จะทำให้ความเป็นกรดลดลง ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น และยังทำให้เซลล์ ของระบบทางเดินปัสสาวะฝ่อลง ปัสสาวะบ่อยขึ้น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และทำให้ช่องคลอดแห้ง-คันอีกด้วย

 

  • อาการร้อนวูวาบตามตัว

 

ทำให้รู้สึกร้อนวูบวาบขึ้นมาทันที ผิวหนังบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก จะแดงเหมือนมีกลไกมากระตุ้นให้เกิดการระบายความร้อน ของร่างกายออกมาทำให้ผิวหนังแดง และมีเหงื่อออกมากกว่าปกติ สาเหตุก็มาจากการเสียสมดุลของระบบฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ส่งผลไปกระทบต่อศูนย์ควบคุมอุณหภูมิในร่างกายไปด้วย

 

  • อาการกระดูกพรุน

 

โดยปกติ กระดูกจะมีกระบวนการทำลายและสร้างใหม่อยู่ตลอด โดยจะมีการสะสมของแคลเซียมเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก รวมถึงมีกระบวนการปรับรูปร่างของกระดูกให้เหมาะสม ในการรับน้ำหนักของร่างกาย ซึ่งการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน จะทำให้มีการทำลายกระดูกมากขึ้นและการสร้างกระดูกใหม่ไม่สมบูรณ์ ทำให้มวล (น้ำหนัก) ของกระดูกลดลงเข้าสู่สภาวะกระดูกพรุน เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้นจึงมีคำแนะนำให้สตรีในวัยทอง รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมมากๆ จนกระทั่งมี "นมเสริมแคลเซียม" ออกมาจำหน่ายพร้อมๆ กับอาหารเสริมแคลเซียมชนิดอื่นๆ

 

  • ผลต่อไขมันในเลือด

 

จากสถิติในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบตันพบว่า สตรีก่อนวัยหมดประจำเดือนเป็นน้อยกว่าชายแต่เมื่อเข้าสู่วัยทอง ความเสี่ยงในการเกิดโรคจะเพิ่มมากกว่าชาย ทั้งนี้เนื่องจาก ผลของเอสโตรเจนมีต่อตับคือ เอสโตรเจนจะมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดไขมันของตับ ดังนั้นการขาดเอสโตรเจน จะมีผลทำให้ไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นอันตรายถึงขั้น หลอดเลือดตีบตันและโรคหัวใจตามมา

 

  • อาการประจำเดือนหดหายหรือกะปริดกะปรอย

 

ซึ่งเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนเอสโตรเจน รังไข่ และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นนั่นเอง

 

การรักษา

 

หลักการรักษา คือ การใช้ฮอร์โมนทดแทนหรือชดเชยส่วนที่ขาดไป ทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนโดยให้ร่วมกันเป็นรอบๆ เช่น ให้เอสโตรเจนในวันที่ 1-25 และให้โปรเจสเตอโรนในวันที่ 14-25 คล้ายกับระดับฮอร์โมนตามธรรมชาติ ขณะที่ยังมีประจำเดือนอยู่ และทำให้มีเลือดออกหลังการหยุดใช้ฮอร์โมนในแต่ละรอบ เหมือนการมีประจำเดือนปกติ หรือการใช้ฮอร์โมนทั้งสองร่วมกัน อย่างต่อเนื่องไปตลอด ซึ่งจะทำให้เลือดออกกะปริดกะปรอย ในช่วงเดือนแรกที่รับประทานยา จนเมื่อร่างกายปรับตัวได้ เลือดจะหยุดไหลไปเอง นอกจากสตรีนั้นจะตัดมดลูกทิ้งไปแล้ว ก็จะไม่มีประจำเดือนในทุกกรณี

 

อย่างไรก็ตาม ยาทุกชนิดมีทั้งข้อดีและข้อเสีย การใช้ยาฮอร์โมนทดแทน ก็เช่นกัน มีข้อห้ามใช้อยู่บ้าง

 

1. ผู้ที่มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์

 

เนื่องจากเอสโตรเจนกระตุ้นการแบ่งเซลล์ทั้งเซลล์ปกติ และเซลล์มะเร็ง แม้ว่าเซลล์มะเร็งจะได้รับการผ่าตัดออกไปแล้ว แต่ถ้ามีหลงเหลืออยู่ฮอร์โมนจะไปกระตุ้นการเจริญของเซลล์เหล่านั้น ให้กลับมาเจริญเติบโตเป็นมะเร็งอีก ดังนั้นสตรีทุกท่านโดยเฉพาะ เมื่อมีอายุเกิน 30 ปีไปแล้ว ควรจะตรวจภายในทุกปี และศึกษาวิธีคลำ หรือตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและหมั่นตรวจอยู่เสมอๆ หากพบสิ่งผิดปกติใดๆ ต้องรีบไปพบสูตินรีแพทย์ ส่วนการรับประทานยาฮอร์โมนก็เช่นกัน ท่านต้องแน่ใจว่า ไม่มีมะเร็งหรือก้อนเนื้อผิดปกติของอวัยวะทั้ง 2 ที่จึงจะรับประทานได้

 

2. โรคตับ

 

โดยเฉพาะระยะที่มีอาการกำเริบ เช่น ตาเหลือง-ตัวเหลือง อ่อนเพลีย-หมดแรง เพราะเอสโตรเจนมีผลต่อระบบเอนไซม์ของตับ ส่งผลต่อเนื่องไปยังระดับไขมันในเลือด หลอดเลือดอุดตัน และโรคหัวใจตามมา

 

3. เป็นโรคเลือดหรือมีความผิดปกติในเรื่องการแข็งตัวของเลือด

 

กล่าวโดยสรุปก็คือ "วัยทอง" เป็นวัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของสตรีทุกคน แต่เราสามารถชะลอความแก่และลดอาการต่างๆ ของการขาดฮอร์โมนได้ ด้วยการใช้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งเป็นเพียงวิธีหนึ่งที่นิยมใช้ในปัจจุบัน หลักในการใช้สรุปได้ดังนี้

 


 
      วัยทอง คืออะไร
ภาวะหมดประจำเดือนคืออะไร
การให้ฮอร์โมนทดแทน
ประโยชน์ของไฟโตเอสโตรเจน
ไฟโตเอสโตรเจนคืออะไร
ถั่วเหลืองกับสุขภาพ


วัยทอง คืออะไร
วัยทอง เป็นช่วงต่อระหว่างวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและวัยสูงอายุ ประชากรชายและหญิงในช่วงอายุ 40 หรือ 45 ปีขึ้นไป ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะมีการผลิตฮอร์โมนเพศลดลง ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลในวัยนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่นในครอบครัวและสังคมได้ ในผู้ชายวัยทอง การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ไม่ได้ลดลงอย่างเฉียบพลัน ผู้ชายบางคนก็อาจมี หรือหยุดทันทีเหมือนผู้หญิง ในทางตรงกันข้าม วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนของผู้หญิงเป็นช่วงเวลาที่สิ้นสุดการมีประจำเดือนแล้ว เนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง เกิดอาการต่างๆ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว กลุ่มอาการหมดประจำเดือน (Menopausal Symptom) ได้แก่ มีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกในเวลากลางคืน นอนไม่หลับหรือหลับยาก อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หลงลืมง่าย บางคนมีปัสสาวะบ่อย แสบ เวลาไอจามอาจมีปัสสาวะเล็ด ช่องคลอดแห้ง เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ สำหรับผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวที่พบ ได้แก่ โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือดจากการมีระดับไขมันในเลือดสูงโดยเฉพาะระดับโคเลสเตอรอล บางรายอาจเกิดโรคอัลไซเมอร์เมื่ออายุมากขึ้น

ภาวะหมดประจำเดือนคืออะไร
ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลง ช่วงเวลาที่ประจำเดือนเริ่มมาในเวลาที่ไม่แน่นอน ถี่บ้างห่างบ้างตามกระแสขึ้นลงของฮอร์โมนเพศ เราเรียกระยะนี้ว่า ระยะก่อนหมดประจำเดือน (Premenopause) ทำให้ผู้หญิงบางคนเริ่มมีอาการตามมาหลายอย่าง เช่น ประจำเดือนมาไม่เป็นเวลา นอนไม่ค่อยหลับ อารมณ์แปรปรวน ร้อนวูบวาบ ในทางการแพทย์ ผู้หญิงจะเข้าวัยหมดประจำเดือนจริงๆเมื่อประจำเดือนหยุดมาอย่างสิ้นเชิงอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งอาจเกิดได้ระหว่างอายุ 45 - 55 ปี ขึ้นกับสุขภาพและกรรมพันธุ์ของแต่ละคน เช่น บางคนหมดประจำเดือนตั้งแต่อายุ 40 ปี หรือน้อยกว่า อายุโดยเฉลี่ยของผู้หญิงไทยที่หมดประจำเดือนเท่ากับ 51 ปี ผู้หญิงที่เคยสูบบุหรี่หรือยังสูบบุหรี่อยู่มักจะเข้าวัยหมดประจำเดือนเร็วกว่าผู้หญิงทั่วไป การรักษาโรคบางอย่างที่ทำให้ต้องตัดรังไข่ออกหรือฉายรังสีที่ไข่ การให้เคมีบำบัดและยาบางชนิดอาจทำให้ประจำเดือนหยุดมาได้ แต่การตัดมดลูกโดยไม่ตัดรังไข่ไม่ถือว่าเป็นภาวะหมดประจำเดือน ท่านสามารถบอกตัวเองได้ว่ากำลังจะหมดประจำเดือนโดยสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น

1. ประจำเดือนมาไม่แน่นอน บางทีมาถี่ๆแล้วทิ้งช่วงหายไปหลายเดือนแล้วกลับมามีอีก มีเลือดประจำเดือนออกแบบมากกว่าปกติหรือมาทุก 2-3 สัปดาห์

2. อาการร้อนวูบวาบ (Hot Flash) ประมาณ 3 ใน 4 ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะเคยมีอาการร้อนวูบวาบเกิดขึ้นบางครั้งมีอาการเหงื่อออกมากกว่าปกติทั้งที่อากาศเย็น หรือมีเหงื่อออกตอนกลางคืนหรือขณะหลับอยู่ อาการเหล่านี้มักเกิดบ่อยในช่วง 2-3 ปีแรกที่ประจำเดือนหมด โดยความรุนแรงจะไม่เท่ากันในผู้หญิงแต่ละคน

3. มีอาการนอนไม่หลับหรือหลับยาก บางคนตื่นบ่อยๆ กลางดึกหรือตื่นเช้ากว่าปกติ

4. มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย บางคนมีอาการเศร้าซึม

5. ปัญหาของช่องคลอด ระดับเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้เนื้อเยื่อของช่องคลอดบางลง ความยืดหยุ่นและความหล่อลื่นลดลง ทำให้เกิดอาการเจ็บเวลาร่วมเพศ หรือมีอาการแสบ คัน

6. ปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ ระดับเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณเยื่อบุท่อปัสสาวะบางลง และมีความแข็งแรงของกระเพาะปัสสาวะลดลง ผู้หญิงวัยทองมักมีอาการปัสสาวะแล้วแสบ กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้หรือไม่นาน ปัสสาวะเล็ดหรือราดเวลาไอจามหรือยกของหนัก

7. ความเต่งตึงและชุ่มชื้นของผิวหนังลดลงเพราะร่างกายสร้างสารคอลลาเจนลดลง ผิวหนังแห้งง่าย มักมีอาการคัน ควรหาโลชั่นหรือครีมทาจะช่วยให้หายคันได้

8. การเจริญพันธุ์ลดลง เนื่องจากเวลาตกไข่ไม่แน่นอน แต่สามารถตั้งครรภ์ได้เสมอจนกว่าประจำเดือนจะหยุดมาเป็นเวลา 1 ปีเต็ม

การให้ฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy; HRT)
ผู้หญิงในวัยใกล้หมดประจำเดือนและหลังหมดประจำเดือนจะมีภาวะที่มีฮอร์โมนบกพร่องและไม่สมดุลย์ ทำให้เกิดกลุ่มอาการหมดประจำเดือน การให้ฮอร์โมนทดแทนสามารถลดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกในเวลากลางคืน อารมณ์แปรปรวน และช่วยลดอาการทางระบบสืบพันธุ์และปัสสาวะ ทำให้ผู้หญิงในกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งมีผลป้องกันกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนได้ แต่การให้ฮอร์โมนทดแทนในปัจจุบันยังมีข้อขัดแย้งถึงผลดีผลเสียที่เกิดจากการใช้ เช่น จากการศึกษาของกลุ่มผู้หญิงในสหรัฐอเมริกา (Women’s Health Initiative) พบว่า การให้ฮอร์โมนทดแทนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมและโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นการให้ฮอร์โมนทดแทนจึงต้องพิจารณาเลือกให้เหมาะสมต่อผู้หญิงแต่ละคน โดยอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ด้วยความกลัวต่อโรคมะเร็งทำให้ผู้หญิงจำนวนมากยอมทนอาการไม่สุขสบายต่างๆโดยไม่ยอมรับการใช้ฮอร์โมนทดแทนและมองหาการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกโดยใช้สารประกอบจากธรรมชาติ เช่น ไฟโตเอสโตรเจน

ประโยชน์ของไฟโตเอสโตรเจน
การศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า คนตะวันตกเป็นมะเร็งของเต้านม มะเร็งของลำไส้ใหญ่และมะเร็งของต่อมลูกหมากสูงกว่าคนเอเชีย โดยมีทฤษฎีว่า อาหารของคนเอเชีย เช่น คนญี่ปุ่น คนจีน น่าจะมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนหรือกระบวนการชีวเคมีในเซลล์ของคน โดยมีหลักฐานแสดงว่า สารประกอบที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน เรียก ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ซึ่งพบมากในถั่วเหลือง เมล็ดธัญพืชหลายชนิด และผลเบอรี่ มีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งได้ โดยมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนเพศ ขบวนการเมตาบอลิสม การทำงานของเอนไซม์ การสร้างโปรตีน การทำงานของ Growth Factor การเพิ่มจำนวนและการเปลี่ยนสภาพของเซลล์มะเร็ง การเจริญเติบโตของเส้นโลหิต การรับประทานอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจนอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคบางอย่างได้ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งของเนื้อเยื่อระบบสืบพันธุ์ และโรคกระดูกพรุน

ไฟโตเอสโตรเจนคืออะไร
ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) เป็นสารประกอบเอสโตรเจนที่พบได้ในพืชมากกว่า 300 ชนิดแต่มีมากที่สุดในถั่วเหลือง ไฟโตเอสโตรเจนออกฤทธิ์แบบเอสโตรเจนได้ต่ำกว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนของคน (อยู่ในช่วงระหว่าง 1/500 ถึง 1/1000 เท่าของฤทธิ์ของ Estradiol) นอกจากนี้ไฟโตเอสโตรเจนยังสามารถแสดงฤทธิ์แบบยับยั้งฤทธิ์ของเอสโตรเจนในร่างกาย (Antiestrogenic Effect) ได้ พบว่าที่ความเข้มข้นของ ไฟโตเอสโตรเจนขนาด 100 – 1,000 เท่าของเอสโตรเจนในร่างกายซึ่งเป็นระดับไฟโตเอสโตรเจนในเลือดที่พบได้หลังการรับประทานอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจนในปริมาณปกติ ไฟโตเอสโตรเจนจะแย่งจับ Estrogen Receptor กับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย และช่วยป้องกันการเติบโตของเซลล์ที่ถูกกระตุ้นด้วยได้ด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน ดังนั้นไฟโตเอสโตรเจนจึงอาจจะลดหรือยับยั้งฤทธิ์ของเอสโตรเจนที่มีต่อเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ตอบสนองต่อเอสโตรเจน เช่น เนื้อเยื่อเต้านม เป็นต้น ซึ่งทำให้ไฟโตเอสโตรเจนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้ เราสามารถแบ่งไฟโตเอสโตรเจนออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ไอโซฟลาโวน (Isoflavone) คูมิสแตน (Coumestans) และลิกแนน (Lignan) ไฟโตเอสโตรเจนที่พบมากในอาหารของคนคือ ไอโซฟลาโวนและลิกแนน ไอโซฟลาโวนซึ่งมีฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจนมีในถั่วหลายชนิดโดยเฉพาะในถั่วเหลืองซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของคน ส่วนลิกแนนนั้นพบในธัญพืช ผักและผลไม้ ในถั่วเหลืองมีไอโซฟลาโวนที่สำคัญคือ เดดซีน (Daidzein) และ จีนีสทีน (Genistein) ในปัจจุบันการวิจัยมากมายมุ่งเน้นความสนใจมาที่ “ไอโซฟลาโวน”

ถั่วเหลืองกับสุขภาพ

ถั่วเหลืองกับภาวะหมดประจำเดือน
ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมักมีอาการร้อนวูบวาบ หงุดหงิด มีอาการทางผิวหนังและเยื่อบุบริเวณช่องคลอด (อักเสบ แห้ง) รวมทั้งมีอัตราการเป็นโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) และอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดสูงขึ้น การใช้ฮอร์โมนทดแทนแม้จะช่วยลดอาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้นแต่ก็มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม การรับประทานอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองซึ่งมีไอโซฟลาโวนเป็นส่วนประกอบและมีสูตรโครงสร้างคล้ายเอสโตรเจนอย่างสม่ำเสมอ จึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้หญิงที่ไม่ต้องการใช้ฮอร์โมนทดแทน ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบแล้วยังช่วยป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งที่พึ่งฮอร์โมนรวมทั้งลดระดับไขมันในเลือดได้ มีการศึกษาจำนวนมากที่บ่งชี้ว่าการบริโภคโปรตีนถั่วเหลืองที่มีไอโซฟลาโวนหรือการเสริมไอโซฟลาโวนสามารถเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและลดอาการร้อนวูบวาบที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือน นากาตะและคณะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับประทานผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองกับความถี่ของอาการร้อนวูบวาบในผู้หญิงญี่ปุ่น ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงญี่ปุ่นที่รับประทานผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองมากทั้งในแง่ปริมาณรวมของถั่วเหลืองและไอโซฟลาโวนจะมีความถี่ของอาการร้อนวูบวาบน้อยกว่า มีรายงานว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนในยุโรปมีอาการร้อนวูบวาบร้อยละ 70-80 ขณะที่ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนในมาเลเซีย จีนและสิงคโปร์มีอาการร้อนวูบวาบร้อยละ 57, 18 และ 14 ตามลำดับ
ฮันท์ลีย์และเอิรนสท์ ได้ทำการประเมินประโยชน์ของการใช้ถั่วเหลืองและไอโฟลาโวนโดยวิเคราะห์ผลจากการวิจัยทางคลินิก (Randomized Clinical Trials) 10 เรื่อง พบว่า ผลการศึกษายังมีความขัดแย้งคือ มี 4 การศึกษาที่แสดงถึง ประโยชน์ของการบริโภคไอโซฟลาโวนตั้งแต่ 34 ถึง 134 มิลลิกรัมต่อวันทั้งในรูปแป้งถั่วเหลือง โปรตีนถั่วเหลืองหรือสกัดใส่แคบซูลในการช่วยลดกลุ่มอาการที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือน ขณะเดียวกันอีก 6 งานวิจัยไม่แสดงความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

ถั่วเหลืองกับโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่มีความผิดปกติของกระดูกทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เกิดกระโกหักได้ง่ายแม้ได้รับการกระทบกระทั่งเพียงเล็กน้อย ทำการวินิจฉัยได้โดยการวัดความหาแน่นของมวลกระดูก สาเหตุที่พบได้บ่อยและสำคัญมากที่สุดคือ การขาดเอสโตรเจนจาการหมดประจำเดือน แคลเซียมมีผลต่อมวลกระดูกตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ การเสริมแคลเซียมสามารถทำให้มวลกระดูกสูงขึ้นแม้จะได้รับแคลเซียมจากอาหารเพียงพอตามข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน (RDA) แล้ว ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือนจะมีการสูญเสียเนื้อกระดูกประมาณร้อยละ 3-5 ต่อปีในเวลา 3-5 ปี ทำให้มวลกระดูกลดลงประมาณ 15 % หลังจากนั้นอัตราการสูญเสียเนื้อกระดูกจะลดลงสู่ระดับเดิมคือ ร้อยละ 0.5 – 1 ต่อปีจนเข้าสู่วัยสูงอายุ การเสริมแคลเซียมในช่วงนี้ไม่สามารถขจัดผลของการขาดเอสโตรเจนได้แต่ช่วยลดผลที่เกิดจากการขาดแคลเซียม ผู้หญิงควรได้รับแคลเซียมจากอาหารวันละ 800 – 1200 มิลลิกรัม อาหารที่มีแคลเซียมสูงได้แก่ นม ปลาทอดกรอบกินได้ทั้งกระดูก กุ้งแห้ง เต้าหู้ เป็นต้น การศึกษาการบริโภคแคลเซียมในผู้ใหญ่ชาวไทย พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 361 มิลลิกรัมต่อวันเป็นปริมาณที่ต่ำกว่าที่ควรได้รับประจำวันมาก การศึกษาทางระบาดวิทยาได้แสดงให้เห็นว่า การบริโภคแคลเซียมที่น้อยกว่า 500 มิลลิกรัมต่อวัน มีความสัมพันธ์กับอัตราเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการเกิดสะโพกหักในชาวยุโรป และการเสริมแคลเซียมมีผลป้องกันการเกิดกระดูกหักจากภาวะกระโกพรุนได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรที่ได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ ในกรณีที่อาหารอย่างเดียวไม่สามารถให้แคลเซียมเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอาจพิจารณาให้ยาเม็ดแคลเซียมเสริม เช่น Calcium Carbonate, Calcium Citrate เป็นต้น
การทดลองในหนูพบว่า จีนิสทีน (ไอโซฟลาโวนชนิดหนึ่ง)ให้ผลคล้ายยาประเภทเอสโตรเจนชื่อ พรีมาลิน (Premalin) สามารถลดการสูญเสียมวลกระดูกได้ โปรตีนถั่วเหลืองสามารถป้องกันการสูญเสียเนื้อกระดูกที่เกิดจากขาดฮอร์โมนจากรังไข่ของหนูที่ถูกตัดรังไข่ทิ้ง (เกิดการสร้างมวลกระดูกมากกว่าการสลายกระดูก) สำหรับการศึกษาในคนนั้น ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปผลว่า ไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้ เนื่องจากมีการศึกษาทีแสดงให้เห็นว่า มีการสูญเสียของมวลกระดูกน้อยกว่าหรือเพิ่มมวลกระดูกมากกว่าในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับไอโซฟลาโวนเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ก็มีการศึกษาที่ไม่เห็นความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำให้รับประทานผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากถั่วเหลืองเพื่อให้ได้รับไอโซฟลาโวนมากกว่าจะรับประทานเป็นเม็ดยา

ถั่วเหลืองกับโรคหัวใจขาดเลือด
โดยทั่วไปหญิงวัยหมดระดูจะมีเอชดีแอล-คลอโคเลสเตอรอล (HDL-Cholesterol) ลดลงและแอลดีแอล-คลอเลสเตอรอล (LDL-Cholesterol) เพิ่มขึ้นเป็นผลจากการลดลงของระดับเอสโตรเจน ปัจจัยต่อไปนี้ ได้แก่ ภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ เบาหวาน อ้วน การขาดการออกกำลังกาย และดื่มเหล้า เป็นปัจจัยเสี่ยงทีสำคัญที่เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด การศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า ประชากรที่กินอาหารที่มีโปรตีนจากพืชสูงจะมีอุบัติการของการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและภาวะคลอเลสเตอรอลสูงในเลือดต่ำกว่าประชากรที่กินอาหารที่มีโปรตีนจากสัตว์สูง แอนเดอสันและคณะได้วิเคราะห์รายงานวิจัยทางคลินิก 38 เรื่องโดยข้อมูลบ่งชี้ว่า การกินโปรตีนถั่วเหลืองเฉลี่ย 47 กรัมต่อวันทำให้ระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดลดลงร้อยละ 9 แอลดีแอล-คลอเลสเตอรอลลดลงร้อยละ 13 ไตรกลีเซอไรด์ลดลงร้อยละ 10 เชื่อว่าเป็นผลจากไฟโตเอสโตรเจนโปรตีนถั่วเหลือง 60-70 % องค์การอาหารและยาของอเมริกา (Food and Drug Administration, FDA ) และสมาคมแพทย์โรคหัวใจในอเมริกา (American Heart Association, AHA)ได้แนะนำให้กินโปรตีนจากถั่วเหลือง 25 กรัม ต่อวันและให้โปรตีนจากถั่วเหลืองเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่มี ไขมันอิ่มตัวและคลอเลสเตอรอลต่ำ ซึ่งอาจจะลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ถั่วเหลืองกับโรคมะเร็ง
มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งมดลูก มะเร็งรังไข่ ซึ่งเป็นมะเร็งชนิดที่สัมพันธ์กับฮอร์โมนในร่างกายและโรคหัวใจขาดเลือด มีอุบัติการต่ำกว่าในเอเชียและยุโรปตะวันออกเมื่อเทียบกับประเทศตะวันตก มีรายงานว่าประเทศญี่ปุ่นมีอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งที่พึ่งฮอร์โมนต่ำสุด ผู้อพยพชาวเอเชียที่อยู่ในประเทศตะวันตกที่ยังรับประทานอาหารตามประเพณีดั้งเดิมของตนมีอัตราเสี่ยงต่อโรคไม่สูงขึ้น แต่กลุ่มที่หันไปบริโภคแบบตะวัตตกมีอัตราเสี่ยงต่อโรคสูงขึ้น ซึ่งเชื่อว่า เกี่ยวข้องกับไฟโตเอสโตรเจน โดยขึ้นกับปริมาณถั่วเหลืองที่แต่ละท้องถิ่นบริโภค เช่น คนญี่ปุ่นรับประทานผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองวันละ 200 มิลลิกรัม คนเอเชียจะได้รับไอโซฟลาโวนจากอาหารวันละ 25-45 มก. จากอาหารจำพวกถั่วเมล็ดแห้งสูงกว่าคนในประเทศตะวันตก (อย่างน้อยกว่า 5 มิลลิกรัมตอวัน) ฮิรายามาและคณะพบว่าผู้หญิงญี่ปุ่นที่รับประทานซุปเต้าเจี้ยวมากจะมีอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่ำกว่า (ความสัมพันธ์ผกผัน) ผู้ชายญี่ปุ่นที่กินเต้าหู้มากกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์มีอัตราเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นครึ่งหนึ่งของของคนที่กินเต้าหู้น้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ คนญี่ปุ่นที่กินเต้าหู้มากมีอัตราเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหารต่ำ คนจีนที่กินถั่วเหลืองมากกว่า 5 กิโลกรัมต่อปีมีอัตราเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหารลดลงร้อยละ 40 หญิงจีนที่กินอาหารที่ประกอบด้วยถั่วเหลืองน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์มีอัตราเสี่ยงต่อมะเร็งมะเร็งปอดเป็น 3.5 เท่า และมะเร็งเต้านมเป็น 2 เท่าของหญิงจีนที่กินอาหารที่ประกอบด้วยถั่วเหลืองทุกวัน

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 4030 วันที่ 21 เม.ย. 2552


สตรี "วัยทอง" กับการใช้ฮอร์โมนสตรีวัยทองกับการใช้ฮอร์โมน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ตอน.....ความเศร้าใจของผม

ตอน.....ความเศร้าใจของผม


เปิดอ่าน 6,406 ครั้ง
คนติดดิน...

คนติดดิน...


เปิดอ่าน 6,405 ครั้ง
ธรรมะ ทำไม

ธรรมะ ทำไม


เปิดอ่าน 6,410 ครั้ง
D.J.  วิทยุชุมชน  โปรดทราบ ๆๆ

D.J. วิทยุชุมชน โปรดทราบ ๆๆ


เปิดอ่าน 6,424 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

จดหมายลาครู....สำคัญเหลือเกิน.

จดหมายลาครู....สำคัญเหลือเกิน.

เปิดอ่าน 6,426 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
หน้าร้อน...กินอะไรให้สดชื่นดีนะ...
หน้าร้อน...กินอะไรให้สดชื่นดีนะ...
เปิดอ่าน 6,397 ☕ คลิกอ่านเลย

ชมEnglish Breakfast   ย้อนหลัง  เชิญ คลิกที่นี่
ชมEnglish Breakfast ย้อนหลัง เชิญ คลิกที่นี่
เปิดอ่าน 6,405 ☕ คลิกอ่านเลย

ชีวิตคู่ก็เหมือนกับการเต้นแทงโก้
ชีวิตคู่ก็เหมือนกับการเต้นแทงโก้
เปิดอ่าน 6,470 ☕ คลิกอ่านเลย

น่าเสียดาย......น้อยเกินไป...บทความดีๆ...มีคนเปิดอ่านไม่ถึง10ครั้ง...
น่าเสียดาย......น้อยเกินไป...บทความดีๆ...มีคนเปิดอ่านไม่ถึง10ครั้ง...
เปิดอ่าน 6,420 ☕ คลิกอ่านเลย

   หน้าร้อน...โรคยิ่งร้าย  ถนอมใจกาย ให้หายร้อน.เตรียมตัวก่อนโรคจะมา  ครับ
หน้าร้อน...โรคยิ่งร้าย ถนอมใจกาย ให้หายร้อน.เตรียมตัวก่อนโรคจะมา ครับ
เปิดอ่าน 6,397 ☕ คลิกอ่านเลย

หนุ่มๆ ควรเลือกใส่สีเสื้อ สีไหนดี?
หนุ่มๆ ควรเลือกใส่สีเสื้อ สีไหนดี?
เปิดอ่าน 6,408 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เด็กไทยเป็นอัจฉริยะ 4.0 ได้ง่าย ถ้าฝึกช่วงเรียนรู้ไว (3-6 ขวบ)
เด็กไทยเป็นอัจฉริยะ 4.0 ได้ง่าย ถ้าฝึกช่วงเรียนรู้ไว (3-6 ขวบ)
เปิดอ่าน 15,096 ครั้ง

นักโภชนาการชี้ อย่าตระหนกกินเนื้อแดง-ผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูป ก่อมะเร็ง แนะหม่ำหลากหลาย
นักโภชนาการชี้ อย่าตระหนกกินเนื้อแดง-ผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูป ก่อมะเร็ง แนะหม่ำหลากหลาย
เปิดอ่าน 9,363 ครั้ง

10 เคล็ดลับการถ่ายภาพสวย สำหรับมือสมัครเล่น
10 เคล็ดลับการถ่ายภาพสวย สำหรับมือสมัครเล่น
เปิดอ่าน 21,745 ครั้ง

จิตรกรรมและศาสนา
จิตรกรรมและศาสนา
เปิดอ่าน 17,935 ครั้ง

สายตาเอียง
สายตาเอียง
เปิดอ่าน 13,964 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ