ส.ค.ศ.ท.จีเตรียทำใหนังสือถึงทปอ. และเลขาธิการ กกอ. ช่วยทบทวนเปิดภาคเรียนอีกครั้ง หลังจากการเปิด-ปิดภาคเรียนตามอาเซียนกำลังจะสร้างปัญหาให้สายครูเพิ่มอีก ปี2 ต้องไปสังเกตการณ์ในโรงเรียน
วันนี้( 5 ก.พ.) ผศ.ดร.รัฐกรณ์ คิดการ คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.)นครราชสีมา เปิดเผยว่า ในการประชุมสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย(ส.ค.ศ.ท.) เมื่อเร็ว ๆนี้ ได้นำประเด็นที่ส.ค.ศ.ท.เคยมีมติไปแล้วที่จะขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยทบทวนเรื่องการปรับเปิด-ปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยให้เหมาะสม เนื่องจากเห็นว่าการเปิด-ปิดภาคเรียนตามอาเซียน ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพครูอย่างมาก เพราะช่วงเวลาเปิด-ปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยกับโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ไม่ตรงกันจึงทำให้ไม่มีโรงเรียนให้ผู้เรียนครูฝึกประสบการณ์วิชาชีพ แต่ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้มีการทบทวนเรื่องดังกล่าว ขณะที่ทางคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ก็พยายามปรับการบริหารจัดการของคณะ เพื่อให้กระทบกับการฝึกสอนของนิสิตนักศึกษาครูน้อยที่สุด
ผศ.ดร.รัฐกร กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ทางคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์กำลังจะมีปัญหาใหม่เพิ่มขึ้นอีกจากการเปิดปิดภาคเรียนตามอาเซียน คือทางคุรุสภากำหนดว่าในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตที่ปรับบปรุงปี 2560 จะต้องอิงสมรรถนะ โดยให้นักศึกษาต้องไปสังเกตการณ์การสอนในโรงเรียน ซึ่งนักศึกษากลุ่มดังล่าวคือกลุ่มที่กำลังจะขึ้นปี 2 ในปีการศึกษา 2561 นี้ ดังนั้นทางคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ก็จะต้องมาจัดตารางเรียนให้แก่เด็กกลุ่มนี้ โดยอาจจะต้องให้เด็กมาเรียนก่อนเปิดภาคเรียน เพื่อให้จบภาคเรียนที่ 1 เร็วขึ้น และจะได้ออกไปสังเกตการณ์สอนในโรงเรียนในภาคเรียนที่ 2 ซึ่งก็จะต้องให้ทันกับช่วงที่โรงเรียนเปิดสอนอยู่ด้วย จากเดิมที่จะต้องจัดตารางเรียนของนิสิตนักศึกษาสายครูชั้นปีที่ 4ให้เร็วขึ้น เพื่อชั้นปีที่ 5 จะต้องออกฝึกปฎิบัติการสอนเท่านั้น
“มหาวิทยาลัยที่เปิดรับเด็กสายครู ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยใหญ่และ รับนักศึกษาไม่มาก ก็จะสามารถบริการจัดการการเรียนการสอน การฝึกสอนได้ แต่ในมหาวิทยาลัยเล็กอย่างมรภ.ที่มีนักศึกษาครูจำนวนมาก ซึ่งนักศึกษาสายครูในมรภ. 38 แห่ง เฉพาะนักศึกษาปี 2 มีประมาณ 19,000 คน ซึ่งถือว่าจำนวนมาก และการต้องมาจัดตารางเรียนก็จะยุ่งยากมาก ดังนั้นส.ค.ศ.ท.จึงมอบมอบฝ่ายเลขาส.ค.ศ.ท.จัดทำเอกสารต่าง ๆที่เกี่ยวข้องการผลกระทบจากเปิดปิดภาคเรียนตามอาเซียน เพื่อเสนอต่อดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.).และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ. )เพื่อพิจารณา ขอให้ช่วยทบทวนเรื่องการเปิด-ปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยอีกครั้ง” ผศ.ดร.รัฐกรณ์ กล่าว
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561