Advertisement
|
น้ำหนักลด-กลืนเจ็บ-อาเจียนบ่อย รีบพบแพทย์ทันที
เรื่อง "โรคกรดไหลย้อน" เป็นเรื่องที่ต้องคุยกันยาวหน่อย เพราะเป็นโรคที่กำลังฮิตกันเหลือเกิน กับผู้คนที่ใช้ชีวิตในเมือง สัปดาห์นี้มาทำความรู้จักกันก่อนว่าคืออะไร?
โรคที่เกิดจากความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการมีของเห ลวอะไรก็ได้ (ส่วนใหญ่เป็น กรด 80 - 90% จึงเรียกว่า "โรคกรดไหลย้อน" ส่วนน้อยเป็นด่าง) ที่อยู่ในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหาร ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีร่องรอยของการอักเสบของหลอดอาหา รก็ได้
ในช่วง 5 - 10 ปีที่ผ่านมา โรคกรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease: GERD) เป็น โรคที่พบได้บ่อยมากขึ้นในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย โดยพบความชุกเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า คือ ประมาณร้อยละ 10 - 15 ของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการจุกเสียดแน่นท้อง (Dyspepsia)
แม้ในปัจจุบันจะมียาที่ให้ผลในการรักษาค่อนข้างดีแต่ ลักษณะโรคมักเรื้อรัง และ เป็นๆ หายๆ นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่เป็นนานเป็นสิบปี บางรายอาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งของหลอดอาหารส่วนปลายไ ด้อีกด้วย
|
|
|
|
|
อาการ
หากคุณมีอาการเหล่านี้ พึงระวังไว้ว่าน่าจะมีภาวการณ์เป็นโรคกรดไหลย้อนได้ อาทิ อาการแสบยอดอก (Heartburn) ขย้อนหรือสำรอก (Regurgitation) รู้สึกเปรี้ยว (กรด) หรือขม (ด่าง) ในปาก หรือ บริเวณช่องคอด้านหลัง มักมีอาการเรอ, จุก, เสียด, แน่น มักมีอาการเจ็บบริเวณหน้าอก มักตื่นในเวลากลางคืน และ รู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปาก
ส่วนอาการต่างๆ ต่อไปนี้ อาจไม่จำเพาะว่าจะเป็นโรคกรดไหลย้อน แต่เป็นอาการที่อาจเป็นผลมาจากโรคกรดไหลย้อน ได้แก่
1. อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะต้องตื่นมาไอตอนกลางคืน เป็นต้น
2. อาการทางระบบ หู คอ จมูก เช่น มีเสียงแหบ หรือ เจ็บคอในตอนเช้า, มีกลิ่นปาก เป็นต้น
ก่อนจะปิดท้ายด้วยการวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน ทำได้อย่างไร? หลังจากแพทย์ซักประวัติ และตรวจร่างกายแล้วพบว่า ท่านมีข้อบ่งชี้ว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน เป็นอาการเตือนหรือสัญญาณอันตราย เช่น
1. กลืนลำบาก
2. กลืนเจ็บ
3. อาเจียนบ่อยๆ
4. อาเจียนเป็นเลือด หรือมีอาการซีด
5. น้ำหนักลด
ท่านควรให้แพทย์สืบค้นเพิ่มเติมทันที ด้วยการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น เพราะอาจมีเนื้องอก หรือมะเร็งหลอดอาหาร หรือกระเพาะอาหารซ่อนอยู่
ถ้าไม่มีภาวะดังกล่าวแพทย์ก็จะให้ยาในกลุ่ม Proton Pump Inhibitor ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในการสร้างก รดในกระเพาะอาหารโดยตรง ทำให้ลดปริมาณกรดที่จะไหลย้อนกลับเข้าไปสู่หลอดอาหาร
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า
|
|
วันที่ 20 เม.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,414 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,413 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,418 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,177 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,152 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 14,042 ครั้ง |
เปิดอ่าน 3,989 ครั้ง |
เปิดอ่าน 31,194 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,933 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,336 ครั้ง |
|
|