ไทยพร้อมเป็นต้นแบบการศึกษา “มอนเทสซอริ” ของอาเซียน
เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุม “มอนเทสซอริ” ประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1 พฤศจิกายน 2560 - ประเทศไทยเตรียมพร้อมเดินหน้าเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมการศึกษามอนเทสซอริสากล ด้วยศักยภาพของครูไทยและนักเรียนที่ผ่านแนวทางมอนเทสซอริ ทำให้ไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางของอาเซียน เพื่อขยายผลไปสู่ภูมิภาค ด้วยความสนับสนุนเต็มรูปแบบจากรัฐบาล
นางสาวเมแกน ไทน์ ผู้จัดการโครงการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ International Montessori Congress ปี 2564 สมาคมมอนเทสซอริสากล กล่าวว่า “มอนเทสซอริคือรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางได้ ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยเมื่อ 12 ปีที่ผ่านมา และได้เติบโตอย่างเข้มแข็งในแวดวงการศึกษา ทั้งในเชิงคุณภาพ และปริมาณ โดยปัจจุบันมีครูไทยจากโรงเรียนรัฐบาลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรของมอนเทสซอริในประเทศไทย มากกว่า 500 โรงเรียน รวมทั้งสมาชิกของมอนเทสซอริแบบบุคคลซึ่งอยูในโรงเรียนเอกชนอีกมากกว่า 100 คน
ล่าสุดประเทศไทยได้รับเกียรติจากสมาคมมอนเทสซอริสากล (Association of Montessori Internationale หรือ AMI) ให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมการศึกษามอนเทสซอริในปี 2564 ซึ่งนับเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ โดยการประชุมครั้งแรกในโลกของมอนเทสซอริจัดขึ้นเมื่อปี 2542 และเคยจัดในเอเซียเพียงครั้งเดียวที่ ประเทศญี่ปุ่น ทาง AMI เลือกประเทศไทยด้วยปัจจัยในด้านการความเติบโตและความเข้มแข็งของมอนเทสซอริ ภายในประเทศ เพราะมีการนำแนวทางของมอนเทสซอริมาใช้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเกิดผลผลสำเร็จ AMI มองเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยที่จะเป็นศูนย์กลางและต้นแบบการศึกษารูปแบบมอนเทสซอริของภูมิภาคนี้ ทั้งยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงและขยายแนวคิดการศึกษามอนเทสซอริไปยังประเทศอื่นในอาเซียน และเอเชีย แปซิฟิค รวมถึงประเทศจีนได้อีกด้วย”
ทั้งนี้การศึกษารูปแบบมอนเทสซอริได้พิสูจน์มาแล้วทั่วโลกว่าเป็นรูปแบบที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กและใช้ได้ กับเด็กทุกคน เนื่องจากหลักการของมอนเทสซอริมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำมาใช้ได้แม้ในพื้นที่ที่มี ความแตกต่างทางภาษา สังคม และวัฒนธรรม ความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมทำให้การศึกษา มอนเทสซอริตอบโจทย์การศึกษาได้อย่างสมบูรณ์แบบ หลักสูตรการเรียนการสอนมอนเทสซอริริเริ่มขึ้นเมื่อ 110 ปี ที่แล้ว โดยดร.มาเรีย มอนเทสซอริ แพทย์หญิงชาวอิตาเลียน ผู้ที่ในขณะนั้นได้มีโอกาสทำงานกับเด็กเล็กและนำ แนวทางการศึกษาที่ให้เด็กเป็นศูนย์กลางมาใช้ ด้วยความเชื่อที่ว่าการให้การศึกษาแก่เด็กไม่ใช่เป็นนำความรู้ไปให้ แก่เด็ก แต่เป็นการจัดการศึกษาให้สัมพันธ์กับความสามารถและความต้องการตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน โดยสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับผู้เรียน
นางสาวเมแกน กล่าวต่อว่า “แนวการศึกษามอนเทสซอริสามารถใช้ได้กับเด็กทุกกลุ่มทุกวัยตั้งแต่ประถมถึงมัธยม โดยแบ่งออกเป็นช่วงๆ ได้แก่เด็กแรกเกิดถึง 3 ปี, 3-6 ปี, 6-12 ปี, และ 12-18 ปี โดยรูปแบบการเรียนการสอนจะ เน้นสร้างให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เด็กทำระหว่างการเรียนมีความสอดคล้องกับความต้องการของเด็ก และที่สำคัญคือ การสร้างแรงจูงใจให้เด็กใฝ่รู้ และสามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมได้ โดยช่วงปีแรกของเด็ก เป็นพื้นฐานสำคัญของอนาคต เริ่มจากการพัฒนาด้านภาษา การเคลื่อนไหวร่างกาย หลังจากนั้นก็จะเน้นเรื่องของ วัฒนธรรม เป้าหมายหลักของมอนเทสซอริคือการช่วยให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองและมองเห็นว่าการกระทำ ของตัวเองสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ มอนเทสซอริไม่ได้เน้นเรื่องความเป็นเลิศทางวิชาการ แต่เน้นการเชื่อมโยง ร่างกาย จิตใจ และสมอง โดยเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหวของตัวเด็ก แนวทางของมอนเทสซอริประยุกต์ใช้ได้กับ เด็กทุกกลุ่ม เพราะเป็นวิธีการที่ยืดหยุ่น จึงได้รับการยอมรับจากโรงเรียนเอกชนชั้นนำทั่วโลก ไปจนถึงค่ายผู้อพยพ”
“AMI ได้นำมอนเทสซอริไปประยุกต์ใช้กับโครงการสำหรับชนกลุ่มน้อย กลุ่มคนที่อยู่พื้นที่ห่างไกลจากเมือง กลุ่มผู้ ด้อยโอกาสต่างๆ ซึ่งทางสมาคมฯ เชื่อว่าสิ่งที่สมาคมฯ ปลูกฝังให้กับเด็กในวันนี้จะสามารถสร้างผู้นำในอนาคตได้ ประเทศไทยเองก็จะเป็นหนึ่งในประเทศต้นแบบที่มีการนำมอนเทสซอริไปใช้ด้วยความร่วมมือของรัฐบาลไทย AMI มีมุ่งที่จะผลักดันให้มอนเทสซอริสามารถเข้าถึงเด็กทุกคน และวิธีทางเดียวที่จะทำให้สำเร็จได้ก็คือการทำงาน ร่วมกับรัฐบาล เพราะรัฐเป็นผู้ให้บริการด้านการศึกษาของประเทศ ความสัมพันธ์กับรัฐบาลไทยจึงมีส่วนสำคัญใน การพัฒนาการศึกษาระบบมอนเทสซอริให้เติบโตโตและยั่งยืน”
นางกรรณิการ์ บัต นักการศึกษาจากสมาคมมอนเทสซอริแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การเรียนการสอนแนว มอนเทสซอริเกิดขึ้นในประเทศไทยมาเป็นเวลา 12 ปี โดย ดร.กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตเลขาธิการคณะกรรม การการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เป็นผู้นำมอนเทสซอริเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนมากถึง 2 ใน 3 ของประเทศ ซึ่งไม่สามารถใช้ระบบการศึกษาแบบปกติได้ เนื่องจากจำนวนครูไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน ดร.กษมาเชื่อในหลักการว่ามอนเทสซอริสามารถแก้ปัญหาของประเทศได้ ซึ่งปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้สนับสนุนและ ให้ทุนในการศึกษาแก่ครูไทยในการอบรมศึกษาหลักสูตรมอนเทสซอริจากผู้เชี่ยวชาญของ AMI โดยครูไทยที่ผ่าน การอบรมจะสามารถเรียนรู้เพิ่มพูนประสบการณ์เป็นผู้ให้การอบรมแก่ครูในประเทศและในภูมิภาค ปัจจุบันครูไทย ที่ผ่านการศึกษามอนเทสซอริในประเทศไทยมีมากกว่า 600 คน จากโรงเรียนรัฐบาล 500 โรงเรียน และยังมีสมาชิก ทั่วไปซึ่งเป็นบุคลากรจากโรงเรียนในประเทศไทย นอกจากโรงเรียนภายใต้สังกัดรัฐบาลและเอกชน รวมทั้งโรงเรียน ทางเลือกต่างๆ มอนเทสซอริยังสามารถปรับใช้ได้กับเด็กกลุ่มอื่นๆ ทั้งกลุ่มเด็กด้อยโอกาสและผู้ที่อยู่พื้นที่ห่างไกล”
“งานประชุมมอนเทสซอริสากลที่ประเทศไทยจในปี 2564 ช่วยตอกย้ำยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญและ ให้การสนับสนุนการศึกษามอนเทสซอริ และนโยบาย Education 4.0 รวมทั้งช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Education Hub ของภูมิภาค การประชุมครั้งนี้ นอกจากจะเปิดโอกาสให้นักการศึกษาและผู้ที่อยู่ในแวดวงการ ศึกษาเข้าร่วมแล้ว ยังต้องการให้กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงวัย และผู้ที่อยู่ในแวดวงการกีฬาได้เข้าร่วมรับความรู้อีกด้วย งานครั้งนี้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การประชุมที่ให้ทุกคนมาพบกัน แต่เรามุ่งหวังว่างานนี้จะช่วยสร้างความเติบโตของ มอนเทสซอริในอาเซียนและในโลกให้มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นอีกด้วย” นางกรรณิการ์ กล่าว
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก cwprpedia@gmail.com