ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

กบฏสร้างสรรค์ทางการศึกษา


บทความการศึกษา 9 ส.ค. 2560 เวลา 16:27 น. เปิดอ่าน : 16,902 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

กบฏสร้างสรรค์ทางการศึกษา

ประเทศไทยเรานี้มีความพยายามหลายครั้งหลายหนที่จะปฏิรูปการศึกษา แต่ความพยายามนั้นๆ กลับปฏิรูปได้เพียงโครงสร้างระบบการบริหารจัดการของหน่วยงานทางการศึกษา ปัญหาเรื่องคุณภาพการศึกษากลายเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นข้ออ้างในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรแต่ละครั้ง หากแต่ไม่ได้เป็นประเด็นหลักสำคัญที่ทุกคนให้ความสนใจและทุ่มเทกำลังแรงกายแรงสมองอย่างจริงจัง

การศึกษาให้ลึกถึงแก่นของปัญหาคุณภาพการศึกษาที่นับวันยิ่งจะย่ำแย่ลงไปเรื่อยๆ นั้นไม่ได้ถูกให้ความสำคัญหรือให้เวลามากนัก จะเห็นได้จากการสั่งการนโยบาย ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ส่งผลตรงต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ชาติไทยได้อย่างรวดเร็วโดยมิได้มีข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ในการสนับสนุนการตัดสินใจสำคัญๆ แต่ละครั้งเลย

การสั่งการนโยบายจากบนลงล่างที่กลับไปกลับมา จึงอาจจะเป็นหนึ่งในต้นเหตุของปัญหาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยก็เป็นได้ รัฐมนตรีที่เข้ามาดูแลเชิงนโยบายมีช่วงเวลาบริหารเฉลี่ยคนละ 6 เดือน 16 วัน

ไม่เพียงการสั่งการบนลงล่างที่หาได้มีข้อค้นพบจากงานวิจัยหรือหลักฐานเชิงประจักษ์รองรับเท่านั้น การบริหารจัดการผ่านโครงสร้างเทอะทะ ส่งต่อคำสั่งผ่านช่องทางอำนาจแต่ละชั้นจนไปถึงหน่วยปฏิบัติการอย่างโรงเรียน ดูจะเป็นอีกหนึ่งปัญหา เนื่องจากการสั่งการและส่งตรงคำสั่งต่างๆ ลงมานั้น ไม่ได้รับการถ่ายทอดคำสั่งพร้อมการตีความและการทำความเข้าใจอย่างถูกต้องมาตั้งแต่ต้นทาง ถึงแม้ว่านโยบายสั่งการมีเจตนาดีต่อวงการศึกษามากเพียงใด ก็ไม่สามารถเปิดโอกาสให้การดำเนินการตามนโยบายนั้นๆ สำเร็จลุล่วงไปได้โดยสมบูรณ์ สอบตกตรงที่ “แผนเป๊ะ ปฏิบัติแป้ก” ก็มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งไป

หน่วยปฏิบัติงานทางการศึกษาอย่างโรงเรียนจึงเป็นหน่วยที่รับเละเสียทุกที ความเข้าใจตรงกันและความต่อเนื่องเชิงนโยบายสอบตกตลอดมา

ในทางกฎหมายโรงเรียนนิติบุคคลมีการกล่าวถึงในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 39 ว่าด้วยเรื่องการกระจายอำนาจของกระทรวงศึกษาในด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล ตลอดจนการบริหารงานทั่วไปให้กับคณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง

“ในความเป็นจริงแล้วเป็นการกระจายอำนาจเพียงวาทกรรมเท่านั้น โรงเรียนไม่สามารถแม้แต่จะเลือกรับครูที่จบตรงสาขามาสอนให้กับเด็กในโรงเรียนได้เลย”

คำกล่าวหนึ่งของนายโกวิท บุญเฉลียว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคูเมือง (อ่อนอนุเคราะห์) อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ที่ทำให้แม้แต่ผู้เขียนเองยังรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ การกระจายอำนาจที่ว่าไว้ในกฎหมายดูเหมือนจะอุดตันอยู่ระหว่างทางมาถึงโรงเรียนที่เป็นส่วนสุดท้ายของสายการสั่งการ แต่กลับเป็นที่ที่เข้าใจประเด็นปัญหาด้านคุณภาพการศึกษามากที่สุด

ไม่เพียงโรงเรียนบ้านคูเมืองเท่านั้นที่ประสบกับปัญหาคุณภาพการเรียนของนักเรียนตกต่ำลงไปเรื่อยๆ ทั้งด้านการเรียนรู้ พฤติกรรม และคุณธรรม โรงเรียนเครือข่ายร่วมอุดมการณ์ อาทิ โรงเรียนบ้านนาจาน โดย ผอ.ปัญญา กาละปัตย์ โรงเรียนบ้านหนองหวาย โดย ผอ.บพิตร บุญเฉลียว โรงเรียนบ้านผึ้ง (มธุลีย์ประชาสรรค์) โดย ผอ.ธีระวัฒน์ ทองใส และโรงเรียนบ้านดอนยู โดย ผอ.พินิจ บุดดาลี ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาเฉพาะที่เกิดขึ้นในโรงเรียน

ผู้อำนวยการแต่ละโรงเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ทั้งเรื่องรูปแบบการจัดการปัญหาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน การใช้ทรัพยากรเท่าที่มีร่วมกัน การเปิดโอกาสและการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตลูกหลาน เพราะการแก้ปัญหาเรื่องการเรียนรู้ของเด็กจะรอการสั่งการหรือการสนับสนุนเยียวยาจากรัฐไม่ได้ ไม่ทันการณ์และอาจแก้ไม่ตรงจุดที่เป็นปัญหาจริงๆ

ความกล้าหาญในการรวมกลุ่มกันของโรงเรียนจึงเป็นการสานพลังกลุ่มเพื่อปลดแอกโรงเรียนออกจากข้อจำกัดภายใต้การทำงานในระบบบริหารส่วนกลาง เป็นโรงเรียนนิติบุคคลที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้และแก้ปัญหาทางการเรียนรู้ได้โดยตรง นับเป็นความกล้าหาญทางวิชาการของกลุ่มผู้บริหารในระบบราชการที่น่ายกย่องยิ่ง


นวัตกรรมหนึ่งที่ ผอ.โกวิท และ ผอ.โรงเรียนเครือข่ายได้นำไปใช้ คือการจัดกลุ่มนักเรียนตามความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับศักยภาพที่มี

หากมองเพียงเรื่องการจัดกลุ่มเด็กและสอน หลายคนอาจไม่คิดว่าเป็นเรื่องใหม่ ไม่ใช่นวัตกรรม แต่การแบ่งกลุ่มนักเรียนนี้เป็นหนึ่งในกระบวนการค้นหาความสามารถที่แฝงอยู่ในตัวผู้เรียนและสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มถนัดวิชาการ กลุ่มถนัดการแสดงออก และกลุ่มถนัดงานช่าง ซึ่งการแบ่งกลุ่มดังกล่าวต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา

โรงเรียนจัดสรรเรื่องตารางเวลาเรียน ออกแบบรายวิชาและกิจกรรม การบูรณาการศาสตร์วิชาการเข้าการศาสตร์อาชีพ “นักเรียนของโรงเรียนบ้านคูเมืองมีปัญหาหลากหลายทั้งโดดเรียน ขโมยเครื่องอะไหล่ยนต์ มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง บางครั้งก็ต้องไปประกันตัวลูกๆ นักเรียนออกมาบ้าง แต่ถ้าเราลองศึกษาทำความเข้าใจเด็กลงไปลึกๆ แล้วจะรู้ว่าเด็กกลุ่มนี้ไม่ได้มีต้นทุนทางครอบครัวอย่างคนอื่นเขา แล้วเรายังจะผลักเขาอีกหรือ ถ้าไม่ถนัดเรียน เรายังช่วยส่งเสริมและพัฒนาเขาในทางที่เขาถนัดได้” ผอ.โกวิท ใช้แนวคิดการพัฒนาการเรียนรู้บนฐานชีวิต เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาศักยภาพตนเองได้ จึงเกิดการจัดการเรียนรู้บนฐานชีวิตขึ้น โดยบูรณาการความรู้วิชาการคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เข้ากับความรู้ศาสตร์อาชีพ เช่น การซ่อมเครื่องยนต์ การก่อสร้าง และการเกษตร

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มที่ถนัดงานช่าง ถึงแม้นักเรียนกลุ่มนี้อาจจะไม่ได้มีคะแนนที่สูงจากการวัดด้วยแบบทดสอบมาตรฐานชาติ เครื่องมือเดียววัดและประเมินเด็กทั่วราชอาณาจักร แต่สิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ระหว่างทางคือการคำนวณปริมาณปูน น้ำ ทราย จำนวนก้อนอิฐระหว่างการก่อสร้างห้องหนังสือ การผสมอัตราส่วนดิน ปุ๋ยคอก การพัฒนาพันธุ์มะนาวไร้เม็ด เป็นต้น

จากความพยายามเปิดโอกาสในการเรียนรู้ของนักเรียน ทำให้เห็นผลลัพธ์ที่น่าประทับใจ นักเรียนมองเห็นศักยภาพที่แฝงอยู่ในตัวเอง เห็นคุณค่าของการเรียนรู้และอยากพัฒนาตนเอง ดังนั้นการแยกกลุ่มการเรียนนี้เป็นไปเพื่อการยุบรวม การสร้างคุณค่าของการเป็นมนุษย์และการเรียนรู้อย่างมีความสุข พ่อแม่ผู้ปกครองรวมถึงชุมชนก็มีส่วนในการพัฒนาศักยภาพลูกหลานของตนเอง โดยการเป็นครูภูมิปัญญา ส่งต่อความรู้และฝึกทักษะอาชีพให้คงอยู่ต่อไป

การเปลี่ยนแปลงทางบวกทั้งด้านสติปัญญา พฤติกรรม และคุณธรรมไม่ใช่เพียงความภาคภูมิใจของตัวเด็กเองเท่านั้น แต่เป็นทั้งความภูมิใจของครู โรงเรียนและชุมชน “การปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริง คือการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นที่ตั้ง” แล้วผู้ใหญ่ในวงปฏิรูประบบการศึกษาของไทยตอนนี้ ได้ตั้งคำถามอย่างจริงจังต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยแล้วหรือยัง

การปฏิรูปการศึกษาต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่ ล่างสู่บน ปลดปล่อยโรงเรียนให้เป็นนิติบุคคลที่มีอำนาจในการบริหารจัดการบุคคล บรรจุแต่งตั้ง การพิจารณาความดีความชอบ งานวิชาการ หลักสูตรภูมิสังคม แผนการสอน กลุ่มประสบการณ์ การฝึกอบรม การนิเทศภายใน ผลสัมฤทธิ์ทักษะสมรรถภาพของผู้เรียน การบริหารงบประมาณ ค่าใช้จ่ายที่ตรงกับปัญหา สภาพข้อเท็จจริงที่มีอยู่ การสร้างเครือข่ายระบบโรงเรียนให้ชุมชนประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในโรงเรียนมากขึ้น ภายใต้แนวคิด “คืนโรงเรียนให้ชุมชน คืนครูสู่ห้องเรียน และคืนครูให้นักเรียน”

การออกกฎหมายโรงเรียนนิติบุคคลในระบบให้เป็นทางเลือกที่สร้างสรรค์จากระบบโรงเรียนที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันให้ความสำคัญกับแนวคิดจังหวัดจัดการศึกษาเพื่อตนเอง (กศจ.) ให้มีความอิสระในการบริหารงานให้สอดคล้องกับสังคมบริบทในแต่ละพื้นที่ ทบทวนใหม่ รื้อลดการเพิ่มองค์กรภูมิภาคที่ขัดแย้งทับซ้อนเชิงอำนาจ จะเป็นปัญหาแก้ไขยากในระยะยาว ดังเช่น เขตพื้นที่การศึกษา 268 เขต ศึกษาธิการจังหวัด 76 จังหวัด ศึกษาธิการภาค 18 แห่ง เป็นต้น

สุดท้ายปรับขนาดส่วนกลางให้เล็กลงเหลือเพียงงานในเชิงนโยบาย กำกับติดตาม การสนับสนุนส่งเสริม และการตรวจสอบเชิงคุณภาพเท่านั้น นี่คือการกบฏสร้างสรรค์ทางการศึกษาอย่างแท้จริง

สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน
นวพร สุนันท์ลิกานนท์

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ขอบคุณที่มาเนื้อหาจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 9 สิงหาคม 2560 - 15:09 น.

 

🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇

https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6


กบฏสร้างสรรค์ทางการศึกษา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

กบฏสร้างสรรค์ทางการศึกษา

กบฏสร้างสรรค์ทางการศึกษา


เปิดอ่าน 16,902 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ซุปเปอร์บอร์ดจะเป็นอัศวินม้าขาว ทางการศึกษาไทยได้หรือ

ซุปเปอร์บอร์ดจะเป็นอัศวินม้าขาว ทางการศึกษาไทยได้หรือ

เปิดอ่าน 10,918 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อการศึกษาคุณภาพ : ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย
การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อการศึกษาคุณภาพ : ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย
เปิดอ่าน 30,421 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาที่ห้องเรียนจุดเริ่มต้นการเรียนรู้เด็ก-ครู
ปฏิรูปการศึกษาที่ห้องเรียนจุดเริ่มต้นการเรียนรู้เด็ก-ครู
เปิดอ่าน 12,295 ☕ คลิกอ่านเลย

เรื่องของวันหยุดยาวในเดือนเมษายน กับการเปิด-ปิดเทอมของมหาวิทยาลัย
เรื่องของวันหยุดยาวในเดือนเมษายน กับการเปิด-ปิดเทอมของมหาวิทยาลัย
เปิดอ่าน 14,239 ☕ คลิกอ่านเลย

เมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษา
เมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 8,455 ☕ คลิกอ่านเลย

ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจ...โรงเรียนนิติบุคคลที่มุ่งคุณภาพผู้เรียน
ยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจ...โรงเรียนนิติบุคคลที่มุ่งคุณภาพผู้เรียน
เปิดอ่าน 9,749 ☕ คลิกอ่านเลย

ยุบ สพฐ. จัดตั้งของใหม่ คิดกันดีแล้วเหรอ?? ไม่เหนื่อยต่อการพายเรือในอ่างหรือ?!
ยุบ สพฐ. จัดตั้งของใหม่ คิดกันดีแล้วเหรอ?? ไม่เหนื่อยต่อการพายเรือในอ่างหรือ?!
เปิดอ่าน 22,315 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

บทความพิเศษ "เมื่อระบบการศึกษาของไทยล้มเหลว"
บทความพิเศษ "เมื่อระบบการศึกษาของไทยล้มเหลว"
เปิดอ่าน 16,516 ครั้ง

ขั้นตอนในการทำเด็กหลอดแก้วมีกี่ขั้นตอน
ขั้นตอนในการทำเด็กหลอดแก้วมีกี่ขั้นตอน
เปิดอ่าน 2,040 ครั้ง

เผด็จการคืออะไร
เผด็จการคืออะไร
เปิดอ่าน 22,954 ครั้ง

แก้ปัญหา รักแร้ดำ
แก้ปัญหา รักแร้ดำ
เปิดอ่าน 11,601 ครั้ง

ประโยชน์และโทษของเทคโนโลยี
ประโยชน์และโทษของเทคโนโลยี
เปิดอ่าน 56,669 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ