เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2560 เดลินิวส์ออนไลน์ ได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับโครงการพัฒนาครูแนวใหม่ โดยมีหัวข้อข่าว ดังนี้
แจกคูปองพัฒนาครูแค่เริ่มต้นก็ป่วนแล้ว
โวยโครงการอบรมพัฒนาครู แพง-ทิ้งงาน-เลื่อน-ยกเลิกไม่แจ้งก่อน ครูแห่ยกเลิกลงทะเบียน
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีการประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ว21/2560 และจัดตั้งสถาบันคุรุพัฒนาเพื่อรับช่วงการพัฒนาครูแนวใหม่ โดยจัดหลักสูตรอบรมครูให้ครูสามารถเลือกหลักสูตรเข้ารับการอบรมได้ตามความต้องการ และมีการจัดงบประมาณในการอบรมหรือคูปองให้ครูคนละ 10,000 บาทต่อปี โดยเริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ 5ก.ค. 2560 ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีครูมากกว่า 300,000 คนได้เข้าลงทะเบียนเข้ารับการอบรมตามโครงการดังกล่าวนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีครูจำนวนมากร้องเรียนเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการ และแนวปฏิบัติในการอบรม ซึ่งสร้างปัญหาและไม่เป็นการส่งเสริมให้ครูรับการพัฒนาได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เริ่มตั้งแต่ระบบการลงทะเบียนที่ไม่สมบูรณ์ ไม่พร้อมรองรับความต้องการของครู หลักสูตรที่ลงทะเบียนไปแล้วเมื่อถึงวันอบรมก็มีการเลื่อนหรือลดจำนวนวันที่อบรมลง บางแห่งถึงกับยกเลิกการอบรม เป็นต้น
“นอกจากนี้ ยังมีกรณีของค่าอบรมที่อาจจะสูงกว่าราคาที่ควรจะเป็น บางหลักสูตรไม่ถึง 10,000 บาท แต่ค่าอบรมก็จะคิดตามสิทธิที่ครูได้รับ คือ หัวละ 10,000 บาท ขณะเดียวกันยังมีประประเด็นในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ระบุชัดเจนว่า งดเบิกค่าพาหนะส่วนตัว รวมถึงในการอบรมโรงเรียนส่วนใหญ่จะไม่อนุญาตให้ครูลงทะเบียนอบรมหลักสูตรในวันราชการ ให้ลงได้เฉพาะวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ เพราะถือเป็นการทิ้งเด็ก ทิ้งห้องเรียน ซึ่งประเด็นนี้ครูก็ยอมรับได้ แต่การจัดการก็ควรมีระบบแก้ปัญหาให้ครูด้วย “แหล่งข่าว กล่าวและว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาบางมหาวิทยาลัยเริ่มจัดการอบรมแล้ว ปรากฎว่ามีครูบางส่วนได้โพสท์ข้อความบนเพจ หรือเฟซบุ๊ก หรือ ส่งข้อความถึงเพื่อน ในทำนองว่าต้องเดินทางไกลข้ามจังหวัด แต่พอไปถึงสถานที่อบรมกลับไม่มีการอบรม บางหลักสูตรก็เลื่อนการอบรม โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า ซึ่งทำให้เสียเวลาในการเดินทางอย่างมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในจำนวนครูที่ลงทะเบียนนั้น ขณะนี้มีครูที่ลงทะเบียนสำเร็จแล้วกว่า 160,000 คน มีครูที่ยกเลิกการลงทะเบียนกว่า 200,000 คน โดยมีงบประมาณที่ผ่านการอนุมัติแล้ว 1,045 ล้านบาท งบฯที่รออนุมัติอีก 2,900 ล้านบาท ส่วนหน่วยงานจัดอบรมที่มีการลงทะเบียนมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.ศูนย์บริหารวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 60,842 ที่นั่ง 2.บริษัทอมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด 25,910 ที่นั่ง 3.สมาคมนักธุรกิจเอสเอ็มอีรุ่นใหม่ 20,189 ที่นั่ง 4.มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสนันทา 17,376 ที่นั่ง และ 5.วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา 13,304 ที่นั่ง
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2560 เวลา 16.21 น.
ด้าน สยามรัฐออนไลน์ ได้นำเสนอข่าวนี้ ดังนี้ครับ
ครูถูกเบี้ยวอบรมคูปองหัวละ 10,000
ครูร้องเรียนระบบลงทะเบียนคูปองครู..ไม่พร้อม พบบางหลักสูตรราคาเกิน10,000/กินเวลาราชการ/เดินทางไกล/ถูกเบี้ยวอบรม
เมื่อวันที่ 24 ก.ค.60 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มีการประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูมีและเลื่อนวิทยฐานะ ว21/2560 และจัดตั้งสถาบันคุรุพัฒนา เพื่อรับช่วงการพัฒนาครูแนวใหม่ โดยจัดหลักสูตรอบรมครูให้ครูสามารถเลือกหลักสูตรเข้ารับการอบรมได้ตามความต้องการ และมีการจัดงบประมาณในการอบรม หรือคูปองครู คนละ 10,000 บาทต่อปี โดยเริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 ก.ค.60 ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีครูมากกว่า 300,000 คน ได้เข้าลงทะเบียนเข้ารับการอบรมตามโครงการดังกล่าวนั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีครูจำนวนมากร้องเรียนเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการ และแนวปฏิบัติในการอบรม ซึ่งสร้างปัญหาและไม่เป็นการส่งเสริมให้ครูรับการพัฒนาได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เริ่มตั้งแต่ระบบการลงทะเบียนที่ไม่สมบูรณ์ ไม่พร้อมรองรับความต้องการของครู หลักสูตรที่ลงทะเบียนไปเมื่อถึงวันอบรมก็มีการเลื่อนหรือลดจำนวนวันที่อบรมลง เป็นต้น
"นอกจากนี้ ยังมีกรณีของค่าอบรมที่อาจจะสูงกว่าราคาที่ควรจะเป็น บางหลักสูตรไม่ถึง 10,000 บาท แต่ค่าอบรมก็จะคิดตามสิทธิที่ครูได้รับ คือหัวละ 10,000 บาท ขณะเดียวกันยังมีประประเด็นในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ระบุชัดเจนว่า งดเบิกค่าพาหนะส่วนตัว รวมถึงในการอบรม โรงเรียนส่วนใหญ่จะไม่อนุญาตให้ครูลงทะเบียนอบรมหลักสูตรในวันราชการ ให้ลงได้เฉพาะวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เพราะถือเป็นการทิ้งเด็ก ทิ้งห้องเรียน ซึ่งประเด็นนี้ครูยอมรับได้ แต่การจัดการก็ควรมีระบบแก้ปัญหาให้ครูด้วย"แหล่งข่าว กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเปิดการอบรมที่มหาวิทยาลัย ซึ่งผู้ที่จะเข้าอบรมบางคนต้องเดินทางมาไกล แต่พอมาถึงสถานที่อบรมกับไม่มีการอบรม ซึ่งไม่มีการแจ้งล่วงหน้าไว้มีการเลื่อนการอบรม ซึ่งทำให้ครูเสียเวลาในการเดินทาง มิหนำซ้ำบางแห่งยังปิดหลักสูตรอบรมไปเลยก็มี
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีรายงานข่าวว่า ครูที่ลงทะเบียนสำเร็จแล้ว 167,833 คน มีครูที่ยกเลิกลงทะเบียน 241,233 คน โดยมีงบประมาณที่ผ่านการอนุมัติแล้วกว่า 1,045 ล้านบาท งบฯ ที่รออนุมัติอีก 2,900 ล้านบาท และหน่วยงานจัดอบรมที่มีการลงทะเบียนมากที่สุด 5 อันดัน ได้แก่ 1.ศูนย์บริหารวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) 60,842 ที่นั่ง 2.บริษัทอมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด 25,910 ที่นั่ง 3.สมาคมนักธุรกิจเอสเอ็มอีรุ่นใหม่ 20,189 ที่นั่ง 4.มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสนันทา 17,376 ที่นั่ง และ 5.วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา 13,304 ที่นั่ง
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก สยามรัฐออนไลน์ วันที่ 24 กรกฎาคม 2560