Advertisement
ก.ค.ศ.เห็นชอบ ร่างกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. … ซึ่งเป็นร่างฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือนสำหรับการเลื่อนเงินเดือนในแต่ละอันดับ
วันนี้(19 มิ.ย.) นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการก.ค.ศ. ที่มีนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน เมื่อเร็วๆ นี้ เห็นชอบ ร่างกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. … ร่างฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือนสำหรับการเลื่อนเงินเดือนในแต่ละอันดับ ของข้าราชการครุและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และ ร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเป็นการเลื่อนเงินเดือนแบบร้อยละเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน
สำหรับร่างฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือนในแต่ละอันดับ ดังนี้
- ครูผู้ช่วย
- ช่วงเงินเดือน 15,050-19,900 บาท ฐานในการคำนวณ 17,480 บาท
- ช่วงเงินเดือน 19,910-24,880 บาท ฐานในการคำนวณ 22,330 บาท
เลขาธิการก.ค.ศ. กล่าวต่อไปว่า
- คศ.1
- ช่วงเงินเดือน 15,440-24,880 บาท ฐานในการคำนวณ 22,780 บาท
- ช่วงเงินเดือน 24,890-34,310 บาท ฐานในการคำนวณ 29,600 บาท
- คศ.2
- ช่วงเงินเดือน 16,190-30,200 บาท ฐานในการคำนวณ 30,200 บาท
- ช่วงเงินเดือน 30,210-41,620 บาท ฐานในการคำนวณ 35,270 บาท
- คศ3
- ช่วงเงินเดือน 19,860-40,270 บาท ฐานในการคำนวณ 37,200 บาท
- ช่วงเงินเดือน 40,280-58,390 บาท ฐานในการคำนวณ 50,320 บาท
- คศ.4
- ช่วงเงินเดือน 24,400-50,320 บาท ฐานในการคำนวณ 50,320 บาท
- ช่วงเงินเดือน 53,330-69,040 บาท ฐานในการคำนวณ 59,630 บาท และ
- คศ.5
- ช่วงเงินเดือน 29,980-60,830 บาท ฐานในการคำนวณ 60,830 บาท
- ช่วงเงินเดือน 60,840-76,800 บาท ฐานในการคำนวณ 68,560 บาท
"สำหรับคศ.3-คศ.5 ใช้ฐานในการคำนวณแต่ละช่วงเงินเดือนสำหรับการเลื่อนเงินเดือนแต่ละอันดับเหมือนกับการเลื่อนเงินเดือนประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ และระดับผู้ทรงคุณวุฒิ เนื่องจากมีอัตราเงินเดือนขั้นต่ำและสูงเหมือนกัน สำหรับการเลื่อนเงินเดือนแบบใหม่ของครูและบุคลากรทางการศึกษาแบบมหม่จะต่างจากเดิมคือ เลื่อนเงินเดือนเป็นร้อยละ โดยใช้ฐานเงินเดือนและช่วงเงินเดือนของครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งในแต่ละรอบการประเมิน ได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 6 ของฐานในการคำนวณ ส่วนที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาบางคนกังวลว่า ฐานการคำนวณบางช่วงจะเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบนั้น ผมมองว่าแต่ละช่วงมีทั้งได้เปรียบและเสียเปรียบสลับกัน โดยผู้ที่อยู่ในช่วงเงินเดือนน้อย จะได้เปรียบกว่าผู้ที่ช่วงเงินเดือนสูงกว่า โดยฐานคำนวณนี้เป็นค่ากลางเช่นเดียวกับที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ใช้ในการคำนวณปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการพลเรือนทั้งประเทศ" นายพินิจศักดิ์กล่าว และว่า อย่างไรก็ตามศธ.จะต้องนำร่างกฎก.ค.ศ.ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือนฯ แบบใหม่ ให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาก่อนประกาศใช้ในปี 2561 ทั้งนี้สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 2 ครึ่งปีหลัง ในวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 30 กันยายน 2560 ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการเดิมไปก่อน
ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน 2560 เวลา 17.36 น.
Advertisement
เปิดอ่าน 4,768 ครั้ง เปิดอ่าน 10,240 ครั้ง เปิดอ่าน 15,600 ครั้ง เปิดอ่าน 33,043 ครั้ง เปิดอ่าน 14,950 ครั้ง เปิดอ่าน 9,059 ครั้ง เปิดอ่าน 6,548 ครั้ง เปิดอ่าน 2,856 ครั้ง เปิดอ่าน 14,796 ครั้ง เปิดอ่าน 4,039 ครั้ง เปิดอ่าน 2,330 ครั้ง เปิดอ่าน 17,429 ครั้ง เปิดอ่าน 11,443 ครั้ง เปิดอ่าน 2,185 ครั้ง เปิดอ่าน 14,319 ครั้ง เปิดอ่าน 25,580 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 3,057 ☕ 5 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 508 ☕ 19 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 678 ☕ 15 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 771 ☕ 15 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 3,373 ☕ 13 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 2,059 ☕ 13 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 953 ☕ 13 พ.ย. 2567 |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 19,931 ครั้ง |
เปิดอ่าน 60,729 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,123 ครั้ง |
เปิดอ่าน 36,409 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,953 ครั้ง |
|
|