การจัดทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับหรือ พ.ร.บ. ทุกคนย่อมต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ ว่าประกันในส่วนนี้ ที่ถูกเรียกสั้น ๆ ว่า พ.ร.บ. คืออะไร และทำไมจะต้องจัดทำ ซึ่งถ้าหากใครอยากจะทำความเข้าใจส่วนนี้ วันนี้เรามีคำตอบมาให้กับทุกท่านที่ติดตาม พร้อมทั้งขอนำพาทุกท่านไปศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ พ.ร.บ. และสิ่งที่ผู้มีรถยนต์ส่วนตัวจำเป็นจะต้องรับรู้กันค่ะ
เราจำเป็นจะต้องทำ พ.ร.บ. ในทุก ๆ ปีหรือไม่
การจัดทำ พ.ร.บ. ตามที่กฎหมายบังคับ นับได้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เนื่องจาก พ.ร.บ. เป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ที่ทางกฎหมายได้บังคับว่าให้รถยนต์ทุกคน พร้อมทั้ง รถทุกประเภท จะต้องจัดทำ พ.ร.บ. ซึ่งเราสามารถทำการต่อ พ.ร.บ. ก่อนล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ซึ่งถ้าหากรถยนต์คันไหนไม่มี พ.ร.บ. จะต้องโดนปรับไม่เกิน 10000 บาท ที่สำคัญ เจ้าของรถจะต้องเก็บหลักฐาน การมีประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. นี้ไว้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ทุก ๆ เวลาที่ได้ใช้รถยนต์ด้วย
พ.ร.บ. ให้อะไรกับเราบ้าง
การเลือกซื้อ พ.ร.บ. หรือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับในทุก ๆ ปี นับได้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความจำเป็น เนื่องจาก พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองความเสียหาย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับตัวเรา แต่ พ.ร.บ. จะไม่คุ้มครองความเสียหายสิ่งอื่น นอกจากตัวบุคคล ถ้าหากจะให้เข้าใจง่ายขึ้น เราสามารถบอกได้ว่า พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครอง “คน” แต่ไม่คุ้มครอง “รถยนต์” และ “รถทุกประเภท” นั่นเอง โดยข้อมูลเกี่ยวกับ วงเงินการคุ้มครองผ่านการจัดทำ พ.ร.บ. มีดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาล มักจะไม่เกิน 80000 บาทต่อคน
- กรณีที่มีการเสียชีวิต หรือ สูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพถาวร วงเงินคุ้มครองในส่วนนี้ จะไม่เกิน 30000 บาท ต่อคน
- กรณีในส่วนของเงินชดเชยรายวัน แก่ผู้ป่วยใน จะไม่เกิน 200 บาทต่อวัน ซึ่งมีระยะเวลารวมกันไม่เกิน 20 วัน
- ในส่วนของวงเงินความคุ้มครองต่อครั้ง จะไม่เกิน 5000000 บาทเท่านั้น
และนี่ก็คือความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการจัดทำ พ.ร.บ. หรือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งวันนี้เราพาทุกคนไปทำความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดทำ พ.ร.บ. พร้อมทั้งวงเงินคุ้มครองที่ผู้จัดทำ พ.ร.บ. จะได้รับโดยตรง ซึ่งในบทความหน้า เราจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องของการจัดทำ พ.ร.บ. และเรื่องของการเคลม กันค่ะ