ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การปฏิรูปการศึกษา การศึกษายุค 4.0 : โดย ประเสริฐ ตันสกุล


บทความการศึกษา 6 ก.พ. 2560 เวลา 14:31 น. เปิดอ่าน : 29,965 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

การปฏิรูปการศึกษา การศึกษายุค 4.0 : โดย ประเสริฐ ตันสกุล

การปฏิรูปการศึกษา การศึกษายุค 4.0 : โดย ประเสริฐ ตันสกุล

การปฏิรูปการศึกษา
การศึกษายุค 4.0 ต้องการการสั่งสอน
และการเสี้ยมสอนสรรค์สร้างลักษณะนิสัยด้วย

ทุกครั้งที่เปลี่ยนกลุ่มอำนาจเข้ามาเป็นรัฐบาล เรื่องความมั่นคง เศรษฐกิจ กับการศึกษา จะเป็นสามเรื่องหลักที่รัฐบาลทุกคณะสัญญากับประชาชนว่าจะต้องคิดใหม่ทำใหม่ สองเรื่องแรกเป็นเรื่องเฉพาะหน้า ทำได้จริงอย่างที่พูดหรือไม่ คนทั่วไปก็รู้ได้ จากการดำเนินชีวิตปกติประจำวัน

ส่วนเรื่องที่สาม คือการปฏิรูปการศึกษาที่ทำมาหลายครั้งหลายรอบแล้ว เรื่องแก้กฎหมาย ปรับปรุงกระทรวง ทำแผนการศึกษาห้าปี สิบห้าปี ยี่สิบปี ต่อไปอาจร้อยปี ผลิตครูให้มีคุณภาพ เป็นเรื่องที่ได้ฟังซ้ำๆ เหมือนฟังแผ่นเสียงตกร่องอยู่ แม้แต่ครั้งนี้เสียงร้องและทำนองคล้ายของใหม่ แต่ที่แท้เป็นของเก่าเล่าใหม่ จัดฉากใหม่โดยยึดติดอยู่กับหลักคิดเดิมที่ว่า การศึกษาคือ การ “สั่งสอน” ให้มีความรู้เนื้อหาวิชา ด้วยการจัดสิ่งแวดล้อมให้คนที่ไม่เคยสอนมากำหนดและรับรองหลักสูตรมาตรฐาน จัดโครงสร้างและตำแหน่งบริหาร เพื่อให้มีอำนาจมากขึ้น ขีดวงให้ครูเดินประเมินทุกย่างก้าว ไม่ยอมไปไหน

ในช่วงนี้ นิยมพูดกันว่าเราอยู่ในยุค 4.0 แล้ว เราจะต้องเตรียมคนให้สู้กับใครๆ ในอาเซียน ต้องปรับปรุงหลักสูตร ต้องให้ครูสอนเก่งเหมือนครูดังๆ โรงเรียนกวดวิชา อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาต้องเขียนผลงานไปตีพิมพ์เยอะๆ ต้องมีงานวิจัยหลายๆ เรื่อง มหาวิทยาลัยต้องเน้นทำวิจัยมากกว่าสอน เพราะมีนักศึกษาลดลงทุกปี เป็นแนวคิดที่น่าทึ่งจริงๆ

โลกยุค 4.0 ตามความเข้าใจของชาวบ้าน หมายถึงยุคเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ที่หุ่นยนต์ทำงานแทนคนได้ทุกเรื่อง สร้างผลผลิตมาตรฐานได้จำนวนไม่จำกัด ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ คนต้องไปทำอย่างอื่นที่หุ่นยนต์ทำไม่ได้ บทบาทของคนจึงต้องเปลี่ยนไป

แต่ไฉนการปฏิรูปการศึกษาที่ท่านกำลังคิดทำกันอยู่ จึงยังเน้นเฉพาะเพียงส่วนของการถ่ายทอดวิชาความรู้ ทักษะอาชีพ และการสังคม ด้วยการ “สั่งสอน” พุทธิ-พละ-หัตถะ กับ “อบรม” จริยะ ดุจเดิม ไม่ต่างกับเมื่อร้อยปีก่อน

ในระดับอุดมศึกษา ท่านก็วนอยู่ในเขาวงกต ขยาย ยุบ เลิก เพิ่ม องค์กรและตำแหน่งในหน่วยงานบริหารจัดการทางการศึกษา เคยแยกมหาวิทยาลัยจากกระทรวงศึกษาธิการ ไปตั้งหน่วยกำกับดูแลสั่งการในสังกัดสำนักนายกฯ ขยายอำนาจเป็นทบวงมหาวิทยาลัย เพิ่มหน่วยงานและตำแหน่งแล้วเวียนกลับมาเป็นแท่งอยู่ในกระทรวงศึกษาธิการ นี่ก็จะเริ่มแตกตัวไปตั้งเป็นกระทรวงอุดมศึกษาเพิ่มรัฐมนตรี เพิ่มปลัด เพิ่มรอง เพิ่มผู้ตรวจ อีกแล้ว

ในระดับประถมศึกษาก็เคยโยกไปสังกัดมหาดไทยเป็นการศึกษาประชาบาล เพิ่มหน่วยงาน แล้วโยกกลับมาในกระทรวงศึกษาฯ ขยายอำนาจบริหารเป็นแท่งในระบบฝีห้าหัว หรือโน้ตดนตรีสากลห้าเส้นสำหรับวางตัวโน้ต มี-ซอล-ที-เร-ฟา สายใครสายมัน นี่ก็กำลังคิดแทงหน่อต่อแขนง ออกเป็น 13 ทบวงการศึกษา ประจำตามภาคภูมิศาสตร์อีกแล้ว

ที่ผ่านมา ท่านได้ทุ่มเททรัพยากรมหาศาลให้กับการสร้างองค์กรตรวจประเมินสถานศึกษาเพื่อตีตราว่าสถานศึกษาแห่งใดมีคุณภาพระดับใด อ้างว่าจะทำให้เด็กไทยใฝ่ศึกษา ไม่ยกพวกตีกัน ไม่ใช้ยาเสพติด ครูสอนดี เด็กคิดเป็น ช่วยให้พ่อแม่เด็กเลือกโรงเรียนได้ถูกที่ถูกทางตามกำลังเศรษฐกิจ และบัณฑิตจากสถาบันอุดมศึกษาจะมีความรู้ตามหลักสูตรมาตรฐานตามระเบียบของกระทรวง ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน แล้วเด็กไทยก็จะเท่กว่าเด็กอาเซียน…จะพาชาติมั่นคงได้

เร็วๆ นี้ เมื่อผลสอบความสามารถของเด็ก ชี้ว่าเด็กไทยตกอันดับไปอยู่หลังสิงคโปร์และเวียดนาม กลุ่มผู้รู้และผู้มีหน้าที่ก็อธิบายว่า เป็นเพราะเด็กที่เข้าสอบในครั้งนี้ไม่ใช่เด็กเก่งของระบบการศึกษาไทย เราไม่ได้คัดเด็กเก่งสุดสุด เข้าสอบ…นั่นแปลว่าผลการสอบของเขาเชื่อถือเอาเป็นสาระไม่ได้ เพราะเขานำเด็กไม่เก่งของเราไปเทียบกับเด็กเก่งของเวียดนาม คราวหน้าถ้าเราคัดเด็กหัวกะทิจากโรงเรียนใหญ่ๆ ส่งเข้าสอบ เราก็จะไม่แพ้ก็แค่นั้น ไม่เห็นจะยาก…จบ

คิดง่ายดี แต่มันเป็นคำตอบหรือคำแก้ตัวกันล่ะ หลายคนเห็นว่าควรคิดใหม่ทำใหม่ เดินหน้าเสียบ้างได้แล้ว

ผลจากการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมา ที่เห็นชัดเป็นมหัศจรรย์ คือ การเปลี่ยนการ “ทำงาน” ของครูมาเป็นการ “ทำรายงาน” และ “ทำเอกสารหลักฐาน” การประเมิน และเกิดสถานการณ์สำลัก “ตัวชี้วัด” ที่มากับคลื่นสึนามิการประเมิน ครูต้องลอยคอทำผลงานเขียนบทความและตำราวิชาการ ฝ่าทะเลแบบฟอร์ม ในขณะที่เด็กไปหาความรู้จากกูเกิล และจากครูโรงเรียนกวดวิชา เพื่อจดจำเอาไว้สอบ ความก้าวหน้าของครูมาจากการทำรายงาน แทนที่จะมาจากการทำงาน ผลการศึกษาที่ปรากฏสู่เด็กก็จะมี แก็ต แพ็ต โอเน็ต เอเน็ต อีเน็ต และปีซ่า คอยสอบคัดจำแนกให้เองว่าใครตอบข้อสอบเก่งกว่าใคร

รัฐบาลท่านบอกว่าวันนี้เราอยู่ในยุค 4.0 แล้ว ท่านต้องรู้แตกฉานกว่าใครๆ อยู่แล้วว่า คนที่จะเป็นกำลังในการพัฒนาชาติ ในยุค 4.0 นอกจากจะต้องมีทักษะจากความรู้ตามหลักสูตรที่ได้จดจำร่ำเรียนมา ที่ฝรั่งเรียกว่า ค็อกนิทีฟ สกิล (Cognitive skills) ส่วนหนึ่ง แล้วยังต้องมีทักษะอีกส่วนหนึ่ง ที่ฝรั่งเรียกว่า นันค็อกนิทีฟ สกิล (Non-cognitive skills) คือทักษะที่ได้จากการทำงานของมันสมองส่วนหน้า ซึ่งมาจากการหล่อหลอมฝึกปฏิบัติให้เป็นคนไม่มักง่ายมีจิตมุ่งมั่นที่จะยืนหยัดใช้ความคิดใคร่ครวญไตร่ตรองด้วยตนเอง สร้างสรรค์แนวทางในการพิชิตปัญหา (Conscientiousness)

ทักษะส่วนนี้ ฝรั่งเรียกว่า grit หมายถึงความมุ่งมั่นบากบั่นไม่มักง่าย ที่เป็นคุณลักษณะ (personality) หรือลักษณะนิสัย (Character) ซึ่งในยุคเทคโนโลยีดิจิทัลนี้ ถือว่าเป็นคุณลักษณะหรือลักษณะนิสัยที่จำเป็นต้องปลูกฝังให้กับเยาวชนทุกคน นอกเหนือไปจากการให้ความรู้เนื้อหาวิชาในตำราเรียน ที่เรียกว่า พุทธิศึกษา พลศึกษา จริยศึกษา และหัตถศึกษา

เป็นทักษะที่ทุกคนต้องมีและจะต้องสร้างขึ้น โดยอาศัยการหล่อหลอมโดยการฝึกให้ทำจนชำนาญจนเป็นนิสัยติดตัวที่แสดงออกโดยอัตโนมัติ คำว่า จิตตะ มานะ วิริยะ อุตสาหะ เป็นเพียงความรู้ที่เราสอนให้จดจำ แต่เราไม่เคยปลูกฝัง

ในยุคนี้ครูอาจารย์ในสถานศึกษาทุกระดับ จะต้องทำหน้าที่ให้ครบทั้งสองส่วน คือให้ความรู้ด้วยการ “สั่งสอนอบรม” ส่วนหนึ่งกับอีกส่วนหนึ่งคือ การ “เสี้ยมสอน” เพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยที่เกิดจากการพัฒนาทักษะต่างๆ ของสมองส่วนหน้า โดยอาศัยกระบวนการสอน และการฝึกให้ทำซ้ำๆ ให้มีความมุ่งมั่นบากบั่นมุมานะไม่ย่อท้อง่ายๆ ด้วยการผลิต การจ้าง และทางก้าวหน้าในวิชาชีพครู จึงเป็นประเด็นเฉียบพลันที่จะต้องได้รับการปฏิรูปอย่างจริงจัง

ข้อสมมุติฐานที่เคยมีมาว่าทุกคนที่มีความรู้เนื้อหาวิชาก็สอนได้ เป็นครูได้ใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว นักวิชาการเฉพาะสาขา ที่จะประกอบอาชีพครู ต้องมีความรู้และทักษะ ด้านการสอน วิธีสอน จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องรู้หลักการสอนและหลักการศึกษาด้วย ครูอาจารย์ที่แม้มีความรู้เนื้อหาวิชาส่วนแคบและลึกเพียงใด หากไม่รู้วิธีสอนวิชานั้นๆ ตามหลักวิชาครู ก็ไม่สามารถตอบโจทย์การสร้างบุคลิกภาพให้แก่เยาวชนยุค 4.0 ได้

การปฏิรูปการศึกษาในยุคนี้ จึงต้องเน้นที่เด็กกับครู ไม่ใช่ขยายอำนาจผู้บริหารด้วยการสร้างองค์กรมหาอำนาจ

แต่ในทางปฏิบัติ ณ วันนี้ท่านก็ยังคงบรรเลงเพลง ยุบกรม ย้ายสำนัก เพิ่มคณะกรรมการ แยกกระทรวง แยกเขต รวมเขตแยกภาค ตั้งสำนักเพิ่ม ตั้งตำแหน่งบริหารเพิ่มสร้างสำนักงานเพิ่ม ยุบรวมโรงเรียน จัดคนลงตำแหน่งบริหารระดับสูงที่ว่าง อยู่ในกระทรวงศึกษาธิการ เอาตำแหน่งที่ว่างอยู่ในกระทรวงศึกษาธิการไปยุบรวมตั้งเป็นตำแหน่งระดับปลัดกระทรวงในภาคภูมิศาสตร์เพิ่มขึ้นอีก 13 แท่ง แล้วจัดคนส่วนเกินในกระทรวงอื่นมานั่งตำแหน่ง ตามหลักคิดแบบทำนาหว่าน ซึ่งก็ไม่มีใครบอกได้ว่าท่าน “ขยายโอกาสให้กำลังคนส่วนเกิน” หรือ “ขยายอำนาจบริหาร” เช่นนี้จะทำให้ “เด็กไทยใฝ่ศึกษา และพาชาติมั่นคง” ตามที่ให้เด็กว่าตาม หรือหาไม่

การที่เราตกลงให้ในเดือนมกราคมทุกปี มีวันเด็กกับวันครู ก็บอกเป็นนัยๆ ว่าเด็กกับครู คือแกนสำคัญของการพัฒนาการศึกษาของชาติ ซึ่งในวันเด็กแห่งชาติปีนี้ รัฐบาลนี้อุตส่าห์ทำให้ทำเนียบรัฐบาลปรากฏภาพชัดเป็น ทำเนียบไดโนเสาร์ ก็ไม่แน่ใจว่าจะบอกใบ้อะไรหรือเปล่า วันครูแห่งชาติ กระทรวงศึกษาฯก็ประกาศนโยบายให้บันทึกการสอนของครูโรงเรียนกวดวิชาดังๆ เป็นวิดีโอ ลงในซีดี แจกให้เด็กตามโรงเรียนต่างๆ ที่ไม่มีโอกาสเรียนกวดวิชาได้เรียน ให้ครูทุกโรงเรียนสอนเหมือนโรงเรียนกวดวิชา คงหวังแก้ภาพพจน์ว่า กระทรวงนี้ไม่ได้เป็นเต่าล้านปีหงายท้องอีกต่อไปแล้ว

ในส่วนของเนื้องานหลัก เหมือนกับท่านกำลังท่องสูตรคูณ สองหนึ่งเป็นสอง สองสองเป็นสี่… คือยังเน้นเฉพาะถ่ายทอดความรู้ ยังไม่เคลื่อนไหวไปแม้แต่จะพูดถึง เรื่องเสริมสร้างบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย ฝึกทักษะทางสมองและปัญญา และการพัฒนาศักยภาพเยาวชนให้เป็นคนมุ่งมั่นบากบั่นไม่มักง่าย รู้จักคิดสร้างเสริมและต่อยอดเลย คำว่า “ให้คิดเป็น” เป็นเพียงโวหารในห้องประชุม มาตั้งแต่ยุคขยายการศึกษาภาคบังคับเจ็ดปี

ตอนนี้ก็ใช้ว่า “คิดวิเคราะห์” แทน เพื่อให้ดูแปลกใหม่ ก็เท่านั้น

สําหรับในช่วงสามรัฐมนตรีว่าการของรัฐบาลนี้ งานสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาที่มีความพิเศษ คือการนำอำนาจเบ็ดเสร็จตามมาตรา 44 มาเป็นเครื่องมือบริหารการศึกษาแทนการใช้กฎหมายหลัก จะปลดใครถอดใครนายชี้ได้ทันที ซึ่งได้รับเสียงเชียร์กึกก้องจากคนดังหลายกลุ่มทั้งในกระทรวงและในสถาบันอุดมศึกษา แสดงว่ากองเชียร์ ยังเข้าใจว่าการปฏิรูปการศึกษา คือการขยายอำนาจ ทำให้ผู้บริหารในกระทรวงมีอำนาจเบ็ดเสร็จ สั่งการเด็ดขาดผ่านกลุ่มตัวแทนได้ โดยรวมศูนย์อำนาจไว้กับรัฐมนตรีกับปลัดกระทรวงและเลขาธิการสำนักงานส่วนกลาง…น่าสนุก

ท่านได้ใช้อำนาจมาตรา 44 จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เปลี่ยนบทบาทของเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริหารกลาง ที่ต้องสนับสนุนส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยก้าวหน้าทางวิชาการโดยอิสระ ภายใต้ขอบเขตแห่งศักยภาพของแต่ละแห่ง ไปเป็นให้หน่วยบริหารธุรการกลางมีอำนาจเหนือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่จัดตั้งตาม พ.ร.บ. เพื่อลดความเป็นอิสระทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาให้อยู่ในกรอบทิศทางที่ฝ่ายบริหารธุรการกำหนด อ้างหลักความมั่นคงของประเทศ นัยว่าเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นศูนย์มหาอำนาจสามารถสั่งการต่อสถาบันอุดมศึกษาทั้งปวงให้มี ทำ-มา-พิ-บาน คือ ไม่แตกแถวได้ โดยไม่มีส่วนใดเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาและทรัพยากรมนุษย์เลย

หลายคนคงได้แต่คิด ว่าผู้เสนอให้นำอำนาจเผด็จการมาใช้ลักษณะนี้ เป็นอาการคิดของผู้มีความรู้ท่วม แต่ขาดคุณลักษณะจำเป็นสำหรับคนในยุค 4.0 (grit) จึงเสนอให้ทำง่ายๆ คือเดินวนอยู่ในเขาวงกตไปเรื่อยๆ คงไม่มีใครกล้าพูดตรงๆ อาจเป็นเพราะกลัวถูกสั่งนำตัวไปปรับทัศนคติ…มั้ง เพราะมาตราสี่สิบสี่ แค่ได้ยินก็หางลู่ หูตกแล้ว

หยุดใช้เงินภาษีอากรเพื่อการขยายอำนาจหน่วยบริหารทุกรูปแบบกันเสียทีเถอะทูนหัว… ขอให้คณะกรรมการมหาอำนาจที่ตั้งขึ้นมาจนอักษรไทยจะไม่พอใช้เป็นชื่อย่ออยู่แล้วนั้น เลิกคิดสร้างแผนบริหารการศึกษาระยะยี่สิบปี ร้อยปี ข้างหน้าให้รัฐบาลในอนาคตเขาปฏิบัติได้แล้ว ขอเพียงกำหนดภาพผลลัพธ์ที่ต้องการ ให้เป็นกรอบเป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักของการศึกษาสำหรับประชาชนยุค 4.0 ให้ชัดเจนเป็นที่ยอมรับของประชาชนก็พอแล้ว รายละเอียดทางปฏิบัตินอกนั้น ให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลในอนาคตที่อาสาเข้ามาบริหารโดยรับผลประโยชน์ตอบแทนจากภาษีของประชาชนเขาได้แสดงฝีมือบ้าง เขาจะต้องหาคนดีมีฝีมือเข้ามาทำแผนปฏิบัติ ทำไม่ได้ประชาชนก็จะขับไล่ไปเอง

ขอเพียงอย่าใช้อำนาจมาตรา 44 คุ้มครองให้อยู่เหนือกฎหมายค้างไว้ก็แล้วกัน
 

ขอบคุณที่มาจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 6 ก.พ. 60 เวลา 13:49 น.

 


การปฏิรูปการศึกษา การศึกษายุค 4.0 : โดย ประเสริฐ ตันสกุลการปฏิรูปการศึกษาการศึกษายุค4.0:โดยประเสริฐตันสกุล

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

อย่ากวดวิชาอย่างเดียว

อย่ากวดวิชาอย่างเดียว


เปิดอ่าน 7,843 ครั้ง
ภาษาอังกฤษไม่แข็ง

ภาษาอังกฤษไม่แข็ง


เปิดอ่าน 10,369 ครั้ง
การศึกษาในกะลา

การศึกษาในกะลา


เปิดอ่าน 11,535 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การศึกษาไทยอาการหนัก คุณหมอต้องส่งเข้าห้อง ICU

การศึกษาไทยอาการหนัก คุณหมอต้องส่งเข้าห้อง ICU

เปิดอ่าน 27,063 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ซุปเปอร์บอร์ดจะเป็นอัศวินม้าขาว ทางการศึกษาไทยได้หรือ
ซุปเปอร์บอร์ดจะเป็นอัศวินม้าขาว ทางการศึกษาไทยได้หรือ
เปิดอ่าน 10,885 ☕ คลิกอ่านเลย

8 นิสัยที่ฉุดให้การทำงานของคุณย่ำอยู่กับที่
8 นิสัยที่ฉุดให้การทำงานของคุณย่ำอยู่กับที่
เปิดอ่าน 16,631 ☕ คลิกอ่านเลย

เกาะติดการปิดเปิดเทอม มหาวิทยาลัยไทยตามอาเซียน
เกาะติดการปิดเปิดเทอม มหาวิทยาลัยไทยตามอาเซียน
เปิดอ่าน 7,414 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?
ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?
เปิดอ่าน 8,163 ☕ คลิกอ่านเลย

"อยากไปโรงเรียน" โจทย์ใหญ่? พ่อแม่ช่วยลูกได้..ด้วย "สนุก"
"อยากไปโรงเรียน" โจทย์ใหญ่? พ่อแม่ช่วยลูกได้..ด้วย "สนุก"
เปิดอ่าน 9,919 ☕ คลิกอ่านเลย

ครูพันธุ์ควอลิตี้
ครูพันธุ์ควอลิตี้
เปิดอ่าน 9,336 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

การปอกผลไม้ไม่ให้ดำ
การปอกผลไม้ไม่ให้ดำ
เปิดอ่าน 80,355 ครั้ง

ประเภทของระบบภาพกราฟิก
ประเภทของระบบภาพกราฟิก
เปิดอ่าน 21,166 ครั้ง

เพลง   :   Jingle Bell
เพลง : Jingle Bell
เปิดอ่าน 152,625 ครั้ง

วิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้
วิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้
เปิดอ่าน 10,673 ครั้ง

เหมือนอย่างกับแกะ! หุ่นยนต์เหมือนมนุษย์ตัวล่าสุด (มีคลิป)
เหมือนอย่างกับแกะ! หุ่นยนต์เหมือนมนุษย์ตัวล่าสุด (มีคลิป)
เปิดอ่าน 20,123 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ