มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในผู้หญิง และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในลำดับต้นๆ
ดร.สุทธิดา ชูเกียรติศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.กาญจนา ธรรมนู นักวิจัยจากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จึงได้ร่วมมือกันใช้แสงซินโครตรอน ในเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อินฟราเรด ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางชีวโมเลกุลในเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด MCF7 (Human Breast Adenocarcinoma cell line) ที่ถูกยับยั้งการเจริญเติบโตด้วยโปรตีนสกัดจากดักแด้ไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านนางลาย (Mulberry silkworm, Bombyx mori) และดักแด้ไหมอีรี่ (Non-mulberry silkworm; Eri silkworm, Samia ricini) ซึ่งพบว่าโปรตีนสกัดดังกล่าวมีผลทำให้เซลล์มะเร็งเต้านมตาย
อย่างไรก็ดี งานวิจัยนี้ยังอยู่ระหว่างการทดสอบในห้องปฏิบัติการซึ่งการค้นพบดังกล่าวจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญ ที่จะนำไปสู่การวิจัยในขั้นตอนต่อไปในการหาความเป็นไปได้จากการนำโปรตีนสกัดจากดักแด้ไหมทั้ง 2 สายพันธุ์มาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเต้านมในอนาคต
หากหน่วยงานใดสนใจร่วมพัฒนาต่อยอดงานวิจัยนี้ สามารถติดต่อสอบถามนักวิจัยได้โดยตรง
ผู้ประสานงาน น.ส.ศศิพันธุ์ ไตรทาน, น.ส.กุลธิดา พิทยาภรณ์
เบอร์โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 1251-2 โทรสาร 0-4421-7047
อีเมลล์: sasipun@slri.or.th, kultida@slri.or.th, pr@slri.or.th
ขอบคุณที่มาจาก สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)