Advertisement
ถ้าเราเปิดงาน วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา หรือสาขาอื่นที่เน้นทำวิจัย วิทยานพนธ์เกี่ยวกับ การสร้างสื่อ นวัตกรรมมาใช้ หรือแม้กระทั่งการส่งผลงานเพื่อประเมินเลื่อนวิทยฐานะของครู เราก็มักจะพบตัวเลข ที่แสดงประสิทธิภาพของสื่อหรือนวัตกรรมนั้น เช่น 80/80 70/70 75/75 90/90 หลายๆ คนคงจะยังไม่เข้าใจ และมักจะถามว่า มันคือเลขอะไร ทำไมตัวเลขมันไม่เท่ากัน เป็นตัวเลขอื่นๆ ได้ไหม หาได้อย่างไร ไม่มีได้ไหม หรือแม้กระทั่งว่าจะใช้วิธีการอื่นๆ แทนได้ไหม มาดูกันนะครับ ว่าเลขดังกล่าวคืออะไร
1. ตัวเลขที่กำหนดนั้นหมายถึง E1/E2 ครับ โดยตัวเลขนั้นการกำกำหนดขึ้นอยู่กับผู้วิจัยเป็นคนกำหนด โดยจะต้องคำถึงถึงองค์ประกอบดังนี้
1.1 ธรรมชาติของรายวิชา หรือเนื้อหา ความยากกง่ายของรายวิชาหรือเนื้อหานั้น ถ้าง่ายก็ตั้งสูง เพราะผู้เรียนอาจจะสามารถผ่านได้ง่าย ถ้าเนื้อหายากก็ตั้งต่ำๆ หน่อย เช่น คณิตศาสตร์จะตั้งประมาณ 70/70 หรือ 75/75 เพราะธรรมชาติของวิชานั่นเอง
1.2 สมรรถภาพของผู้เรียนว่า ผู้เรียนมีคนเก่งกี่คน ปานกลางกี่คน อ่อนกี่คน ประเมินโดยภาพรวมว่าอยู่ระดับไหน อันนี้ถ้าในห้องเรียนนั้น มีนักเรียนที่เรียนเก่งอยู่มาก ประสิทธิภาพของสื่อของเราก็ต้องสามารถช่วยยกระดับความรู้ให้เข้าใกล้ 100 ให้มากที่สุดตามไปด้วยนั่นเอง
2. ความหมายหมายของ E1/E2
E1 คือ ประสิทธิภาพของกระบวนการ (กระบวนการในที่นี้ คือ กระบวนการ การจัดการเรียนการสอนระหว่างเรียนทั้งหมด โดยคิดจากคะแนนหลังเรียนของแต่ละหน่วย บท ของแต่ละเรื่อง) เช่น ตัวเลข 80 หมายถึง ผู้เรียนทั้งหมดได้ทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบย่อยได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 ซึ่งหาได้จากสูตร ผลรวมของคะแนน หารด้วย จำนวนผู้เรียนทั้งหมด คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ผมรวมของคะแนนเต็มของแบบทดสอบทุกชุด ก็จะได้ E1
E2 คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (ผลลัพธ์ในที่นี้หมายถึง หลังจากผู้เรียน เรียนจบกระบวนการ โดยคิดคะแนนจากหลังเรียน ได้มาจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์นั่นเองครับ) เช่น ตัวเลข 80 หมายถึง ผู้เรียนทั้งหมดได้ทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 หาได้จากสูตร ผลรวมของคะแนน หารด้วย จำนวนผู้เรียนทั้งหมด คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ผมรวมของคะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน ก็จะได้ E2
ซึ่งจะเห็นได้ว่า E1/E2 หาได้ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ดังนั้นค่า E1/E2 จึงมีความสำคัญ และยิ่งถ้าตัวเลขเข้าใกล้ 100 มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งถือว่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นเกณฑ์ที่ใช้พิจารณารับรองประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอน จะเห็นได้ว่า การคำนวณหาประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน เป็นผลรวมของการคุณภาพและปริมาณ ด้วย
Advertisement
เปิดอ่าน 62,511 ครั้ง เปิดอ่าน 68,583 ครั้ง เปิดอ่าน 18,810 ครั้ง เปิดอ่าน 13,224 ครั้ง เปิดอ่าน 146,481 ครั้ง เปิดอ่าน 22,150 ครั้ง เปิดอ่าน 27,283 ครั้ง เปิดอ่าน 17,622 ครั้ง เปิดอ่าน 120,849 ครั้ง เปิดอ่าน 73,935 ครั้ง เปิดอ่าน 13,121 ครั้ง เปิดอ่าน 21,413 ครั้ง เปิดอ่าน 89,759 ครั้ง เปิดอ่าน 7,661 ครั้ง เปิดอ่าน 26,207 ครั้ง เปิดอ่าน 27,063 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 33,058 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 25,475 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 39,412 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 79,217 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,637 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,063 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 50,320 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 16,264 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,839 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,508 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,324 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,712 ครั้ง |
|
|