ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ที่มาของชื่อเดือนทั้ง 12 เดือนในภาษาอังกฤษ


ความรู้ทั่วไป 4 ม.ค. 2560 เวลา 19:25 น. เปิดอ่าน : 85,163 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

ที่มาของชื่อเดือนทั้ง 12 เดือนในภาษาอังกฤษ

ปฏิทินที่เราใช้ทุกวันนี้ มีที่มาจากระบบการนับเดือนและวันแบบโรมัน จึงเป็นเหตุผลที่ชื่อเดือนส่วนใหญ่จึงมาจากเทพเจ้าของชาวโรมัน และส่วนที่เหลือก็มาจากชื่อจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมัน 

เท่าที่มีหลักฐานปรากฏ พบว่ามนุษย์รู้จักการทำและการดูปฏิทินมาตั้งแต่ก่อนที่จะรู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรโดยการสังเกตจากการโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว จากนั้นก็นำก้อนหินมาวางเรียงกันไว้เป็นสัญลักษณ์บอกช่วงเวลา อย่างเช่น Stonehenge ที่อังกฤษ หรืออย่างชาวสุเมเรียนผู้ครองดินแดนเมโสโปเตเมียเมื่อกว่า 3,700 ปีก่อน ค.ศ. ได้แบ่งช่วงเวลา 1 ปี ออกเป็น 12 เดือน และกำหนดให้วันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ (Vernal Equinox) เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่งระยะเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน ซึ่งต่อมาชาวไอยคุปต์นำความรู้นี้ไปพัฒนาต่อยอดอีกมากมาย

ส่วนที่มาของชื่อเดือนแต่ละเดือนนั้น เป็นดังนี้ครับ

มกราคม (January)

เดือนนี้ตั้งตามชื่อเทพเจ้า “Janus” (ชื่อเดิมคือ Ianuarius) ตามตำนานเทพปกรณัมของชาวโรมัน Janus เป็นเทพผู้ควบคุมจักรวาล เทพผู้รักษาประตูสวรรค์ เป็นผู้เปิดและผู้ปิดสรรพสิ่ง รวมทั้งประตูสวรรค์ ประตูรั้ว กระทั่งประตูบ้านคน เป็นเทพแห่งการเริ่มต้นและการเปลี่ยนผ่านของชีวิต จากเก่าไปใหม่ จากอดีตสู่อนาคต จากสิ่งที่ผ่านไปแล้วกับสิ่งที่กำลังจะเกิด?ชาวโรมันจินตนาการภาพของเจนัสว่าเป็นเทพที่มีสองพักตร์(ใบหน้า) พักตร์หนึ่งหันมาด้านหน้า ส่วนอีกพักตร์หนึ่งอยู่ทางด้านหลัง ด้วยเหตุที่ทรงรู้ทั้งอดีตและอนาคต ถือเป็นคติของการเริ่มต้นใหม่ วันใหม่ เดือนใหม่ ปีใหม่

กุมภาพันธ์ (February)

ชื่อเดือน February นั้นตั้งตามชื่อเทพเจ้าองค์หนึ่งของเทพปกรณัมโรมันที่มีนามว่า “Februus” (มีชื่อเรียกที่เก่าแก่กว่าคือ “Februa” และ Februalia) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความตายและความบริสุทธิ์ เทพองค์นี้เป็นเทพที่ชาวอิทรัสกันบูชา

มีนาคม (March)

เดือน March เดิมเป็นชื่อเดือนแรกของปีในปฏิทินรูปแบบเดิมของชาวโรมัน  ชื่อในภาษาอังกฤษ March มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า “Martius” หมายถึงเทพเจ้า “Mars” เทพแห่งสงครามซึ่งมีนัยยะว่าเป็นปีที่ดีในการเริ่มต้นทำสงครามเพื่อขยายอาณาจักรสำหรับชาวโรมัน

เมษายน (April)

ในภาษาอังกฤษ คำว่า April มาจากคำว่า “Aprilis” มาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า “Aperire” แปลว่า “เปิด” หรือ “ผลิดอกออกผล” ซึ่งอาจหมายถึงการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ และอาจมาจาก “Apru” ชื่อเทพีแห่งความรักในภาษาของชาวอิทรูเรีย

พฤษภาคม (May)

ชื่อเดือนนี้ตั้งตามชื่อเทพธิดาของกรีกที่มีชื่อว่า “Maia” ซึ่งในสมัยโรมันเทพองค์นี้หมายถึงเทพธิดาแห่งการเจริญเติบโตและความอุดมสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามมีกวีชาวโรมันได้บันทึกถึงที่มาของคำนี้ว่ามีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า “Maiores” ซึ่งมีความหมายว่า “Elder” หรือสูงวัยกว่านั่นเอง

มิถุนายน (June)

ชื่อในภาษาอังกฤษ June มีที่มาจากเทพเจ้าโรมันนามว่า “Juno” หรือ “Hera” เป็นเทพธิดาแห่งการแต่งงานและเป็นเทพธิดาของคู่บ่าวสาว จึงมีความเชื่อว่าหากแต่งงานในเดือนนี้จะโชคดี อีกความเชื่อหนึ่งเชื่อว่าเดือนนี้มาจากคำว่า “Juveins” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า “Iuniore” แปลว่า “หนุ่ม” หรือ “วัยรุ่น”

กรกฎาคม (July)

ชื่อเดิมของเดือนนี้คือ “Quintilis” หมายถึงเดือนลำดับที่ 5 ของปฏิทินโรมันแบบดั้งเดิม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเดือนเป็น July เป็นอนุสรณ์แด่ ”Julius Caesar” แห่งอาณาจักรโรมัน

สิงหาคม (August)

ชื่อเดิมของเดือนนี้ “Sextilis” หมายถึงเดือนลำดับที่ 6 ของปฏิทินโรมันแบบดั้งเดิม คือ ตั้งเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ ”Augustus Caesar” จักรพรรดิของชาวโรมัน

กันยายน (September)

ตั้งมาจากภาษาละตินว่า “Septem” แปลว่า “เจ็ด” เหตุเพราะเป็นเดือนลำดับที่ 7 ในปฏิทินโรมันแบบดั้งเดิม

ตุลาคม (October)

ตั้งมาจากภาษาละตินว่า “Octo” แปลว่า “แปด” เหตุเพราะเป็นเดือนลำดับที่ 8ในปฏิทินโรมันแบบดั้งเดิม

พฤศจิกายน (November)

ตั้งมาจากภาษาละตินว่า “Novem” แปลว่า “เก้า” เหตุเพราะเป็นเดือนลำดับที่ 9 ในปฏิทินโรมันแบบดั้งเดิม

ธันวาคม (December)

ตั้งมาจากภาษาละตินว่า “Decem” แปลว่า “สิบ” เหตุเพราะเป็นเดือนลำดับที่ 10 ในปฏฺทินโรมันแบบดั้งเดิม

 

อ่านมาถึงตรงนี้ อาจจะงงว่า เดือนกันยายน (September) เดือนตุลาคม (October) เดือนพฤศจิกายน (November) และ เดือนธันวาคม (December) มาจากชื่อตัวสะกดเดือนเดียวกันในภาษาละตินทั้งหมดโดยมีความหมายว่าเดือนที่ 7, 8, 9 และ 10 ตามลำดับ ในระบบปฏิทินโรมันโบราณ แต่ทำไมในปัจจุบันจึงตรงกับเดือนที่ 9,10,11 และ 12 ล่ะ?

นั่นเป็นเพราะว่าเมื่อราว 2,700 ปีก่อน กษัตริย์ผู้สร้างกรุงโรมได้กำหนดปฏิทินแบบจันทรคติขึ้นโดยกำหนดให้ 1 ปีมีแค่ 10 เดือน หรือ 304 วัน (แต่ละเดือนมีจำนวนวันแตกต่างไปจากปฏิทินในยุคนี้)

โดยปฏิทินเดิมนั้นเริ่มนับจากมีนาคมให้เป็นเดือนเริ่มต้นปีใหม่ไปจนถึงธันวาคม โดยเรียงลำดับคือ Martius, Aprilis, Maius, Junius, Quintilis, Sextilis, September, October, November และ December จะเห็นได้ว่า 4 เดือนแรก ชื่อเดือนจะมาจากชื่อเทพเจ้าและชื่ออื่นๆ ส่วน 6 เดือนหลังมาจากคำเรียกเลขตามลำดับ Quintus = 5 (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเดือนเป็น July เป็นอนุสรณ์แด่ ”Julius Caesar” แห่งอาณาจักรโรมัน), Sextus = 6 (ต่อมาเปลี่ยนเป็น August ตั้งเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ ”Augustus Caesar” จักรพรรดิของชาวโรมัน), Septem = 7, Octo = 8, Novem = 9, Decem = 10 ปฏิทินนี้เป็นที่รู้จักและใช้ต่อกันเรื่อยมาจนถึงประมาณ 738 ปีก่อนคริสตกาล

แต่ต่อมาเดือน January และ February ได้ถูกเพิ่มขึ้นโดยกษัตริย์โรมันนามว่า “Numa Pompilius” ทำให้เดือน September, October, November และ October เลื่อนออกไปนั่นเอง

 

ทีมงานครูบ้านนอกเรียบเรียงจาก teen.mthai และ buiao.bu.ac.th

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

 


ที่มาของชื่อเดือนทั้ง 12 เดือนในภาษาอังกฤษที่มาของชื่อเดือนชื่อเดือนมาจากชื่อเดือนมาจากไหนชื่อเดือนภาษาอังกฤษ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ประโยชน์ "คาเฟอีน" ในกาแฟ

ประโยชน์ "คาเฟอีน" ในกาแฟ


เปิดอ่าน 51,221 ครั้ง
การเลือกโต๊ะที่เป็นมงคล

การเลือกโต๊ะที่เป็นมงคล


เปิดอ่าน 13,024 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

8 ข้อปฏิบัติอยู่อย่างเป็นสุข

8 ข้อปฏิบัติอยู่อย่างเป็นสุข

เปิดอ่าน 11,245 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
คีเลชั่น (Chelation) คืออะไร
คีเลชั่น (Chelation) คืออะไร
เปิดอ่าน 15,758 ☕ คลิกอ่านเลย

ไปรษณีย์ไทย เเจ้ง ส่งไปรษณีย์ต้องแสดงบัตรประชาชน เริ่ม 8เม.ย.นี้
ไปรษณีย์ไทย เเจ้ง ส่งไปรษณีย์ต้องแสดงบัตรประชาชน เริ่ม 8เม.ย.นี้
เปิดอ่าน 15,353 ☕ คลิกอ่านเลย

เกาะติดโปรโมชั่น งานคอมมาร์ท 2009
เกาะติดโปรโมชั่น งานคอมมาร์ท 2009
เปิดอ่าน 10,137 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไมต้องตีเส้นซิกแซ็กก่อนถึงทางม้าลาย
ทำไมต้องตีเส้นซิกแซ็กก่อนถึงทางม้าลาย
เปิดอ่าน 11,290 ☕ คลิกอ่านเลย

๒๐ คำถามกับท่าน ว.วชิรเมธี
๒๐ คำถามกับท่าน ว.วชิรเมธี
เปิดอ่าน 13,138 ☕ คลิกอ่านเลย

ออกรถใหม่...วันไหนดี?
ออกรถใหม่...วันไหนดี?
เปิดอ่าน 15,394 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

PowerPoint ชี้แจงหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ภาคบังคับ ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาที่ 3
PowerPoint ชี้แจงหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ภาคบังคับ ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาที่ 3
เปิดอ่าน 9,764 ครั้ง

ไขความลับ 95 ภาพสุดยอดจากรอยเตอร์ มาจากกล้องอะไร ตั้งค่าแบบไหน
ไขความลับ 95 ภาพสุดยอดจากรอยเตอร์ มาจากกล้องอะไร ตั้งค่าแบบไหน
เปิดอ่าน 19,902 ครั้ง

จามบ่อย ๆ เสี่ยงเป็นโรคไหมนะ
จามบ่อย ๆ เสี่ยงเป็นโรคไหมนะ
เปิดอ่าน 10,138 ครั้ง

เอกสารแนวทางการดำเนินงานโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2559
เอกสารแนวทางการดำเนินงานโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2559
เปิดอ่าน 28,045 ครั้ง

วันสิ่งแวดล้อมโลก กับ วิกฤติน้ำแล้ง - ขาดแคลนอาหาร (5 มิ.ย.)
วันสิ่งแวดล้อมโลก กับ วิกฤติน้ำแล้ง - ขาดแคลนอาหาร (5 มิ.ย.)
เปิดอ่าน 13,159 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ