Advertisement
❝ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36 ข. (2) กำหนดให้ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามคือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. หรือหากเป็นข้าราชการ อยู่แล้วและเป็นโรคดังกล่าว ก็ถือเป็นผู้ที่ขาดคุณสมบัติในการรับราชการและส่วนราชการจะต้องสั่งให้ออกจากราชการ โดยโรคที่ ก.พ.กำหนดในร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... มีจำนวน 8 โรคดังนี้ ❞
มีจำนวน 8 โรค ดังนี้
1) วัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ
2) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
3) โรคติดยาเสพติดให้โทษ
4) โรคพิษสุราเรื้อรัง
5) โรคไตวายเรื้อรัง
6) โรคสมองเสื่อม
7) โรคทางจิตเวชในระยะที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
8) โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและ เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามที่ ก.พ.กำหนด
ทั้งนี้เพื่อให้ทางราชการได้บุคคลที่มีสุขภาพเหมาะสมที่จะเข้ารับราชการ โดยจะได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป
2. รับทราบการดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ดังนี้
2.1 จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน เพื่อเป็นหลักในการกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ รวม 245 สายงาน จำแนกตามประเภทตำแหน่ง แบ่งเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร จำนวน 4 สายงาน ตำแหน่งประเภทอำนวยการ จำนวน 3 สายงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการ จำนวน 149 สายงาน และตำแหน่งประเภททั่วไปจำนวน 89 สายงาน
2.2 จัดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของทุกส่วนราชการเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งแล้วเสร็จ รวม 381,377 ตำแหน่ง จำแนกตามประเภทตำแหน่ง เป็นตำแหน่งประเภทวิชาการ ร้อยละ 65.35 รองลงมาเป็นตำแหน่งประเภททั่วไป ร้อยละ 32.78 ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ร้อยละ 1.59 และตำแหน่งประเภทบริหาร ร้อยละ 0.28 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 46.43 รองลงมาเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 11.46 และเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 10.05 กรณีจำแนกตามกลุ่มอาชีพ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข ร้อยละ 43.48 รองลงมาเป็นกลุ่มบริหาร อำนวยการ ธุรการ งานสถิติ งานนิติการ งานการทูตและต่างประเทศ ร้อยละ 22.27 กลุ่มคลัง การเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม ร้อยละ 12.14
ส่วนสายงานที่มีข้าราชการมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 21.04 นักวิชาการสาธารณสุข ร้อยละ 6.21 เจ้าพนักงานธุรการ ร้อยละ 5.38 เจ้าพนักงานสาธารณสุข ร้อยละ 3.57 นายแพทย์ ร้อยละ 3.54 เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ร้อยละ 2.56 เจ้าพนักงานปกครอง ร้อยละ 1.97 นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ร้อยละ 1.96 นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 1.87 และนักจัดการงานทั่วไป ร้อยละ 1.85
ก.พ. ได้จัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติในเรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าตามบัญชีท้าย พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 การกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการและระดับทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะ การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ รวมทั้งการกำหนดเหตุพิเศษ หลักเกณฑ์และวิธีการให้ส่วนราชการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งได้โดยไม่ต้องสอบแข่งขันในกรณีต่างๆ ตามที่กำหนด การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองคุณวุฒิ อัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับและประเภทตำแหน่งของ ผู้ที่ส่วนราชการประสงค์จะบรรจุเข้ารับราชการตามที่กำหนด กำหนดการดำเนินการตาม บทเฉพาะกาล มาตรา 132 วรรคสอง และมาตรา 137 ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาและออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับ และระเบียบ หรือกำหนดกรณีเพื่อปฏิบัติการตามบทบัญญัติ ในลักษณะ 4 และลักษณะ 5 ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการหลายเรื่อง เช่น การดำเนินการกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย กรณีการลงโทษหรือให้ออกจากราชการ ในกรณีที่จะต้องส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. สามัญ และกรณีการพักราชการหรือให้ออกจากราชการ เป็นต้น ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ได้จัดประชุมชี้แจงส่วนราชการเพื่อซักซ้อมความเข้าใจการดำเนินงานดังกล่าวแล้ว
สำหรับเรื่องสำคัญที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ การกระจายอำนาจ การกำหนดตำแหน่ง การใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรบุคคล การบริหารผล การปฏิบัติงาน การเลื่อนเงินเดือน การปรับบัญชีเงินเดือนข้าราชการ เสรีภาพในการรวมกลุ่มของข้าราชการพลเรือนสามัญ การพัฒนาข้าราชการตั้งแต่ระดับแรกบรรจุจนถึงระดับผู้บริหาร ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการ และระบบวินัยใหม่
อย่างไรก็ดี การจัดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งของทุกส่วนราชการ รวมทั้งสิ้น 381,377 ตำแหน่ง ปรากฏว่ายังคงมีตำแหน่งว่างจากการเกษียณอายุราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 และตำแหน่งว่าง โดยเหตุอื่นรวม 24,136 ตำแหน่ง ซึ่งสามารถใช้รองรับการบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ เพื่อแก้ปัญหาคนว่างงาน ตามนโยบายเร่งด่วนในด้านการเร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจได้ ที่ประชุม เห็นควรกำหนดเป็นนโยบายให้ส่วนราชการต่างๆ เร่งดำเนินการสรรหาบุคคลมาบรรจุแต่งตั้ง ในอัตราว่างดังกล่าวซึ่งควรดำเนินการอย่างมียุทธศาสตร์ โดยจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
นอกจากนี้ ผลจากการจัดคนลงตำแหน่งยังพบว่า ร้อยละ 94.58 ของผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป อยู่ในระดับปฏิบัติงานและชำนาญงาน และร้อยละ 88.5 ของผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ อยู่ในระดับปฏิบัติการและชำนาญการ ดังนั้น จึงควรดูแลเรื่องความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการให้ได้มีโอกาสเติบโตไปในสายงานได้มากขึ้น โดย การเพิ่มคุณภาพงาน เพื่อเพิ่มโอกาสให้ข้าราชการที่มีคุณภาพผลงานที่ดีได้เลื่อนระดับตำแหน่ง และประธานได้มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. ศึกษาข้อมูลรายละเอียดความก้าวหน้าในบาง สายงานเพิ่มเติม อาทิเช่น สายงานแพทย์ พยาบาล วิศวกร วิทยาศาสตร์ และนักกฎหมาย เป็นต้น
วันที่ 15 เม.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,400 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,408 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 26,843 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,309 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,100 ครั้ง |
เปิดอ่าน 96,044 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,660 ครั้ง |
|
|