ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ร.ร.ประชารัฐ-ร.ร.ไอซียู : สมหมาย ปาริจฉัตต์


บทความการศึกษา 30 ธ.ค. 2559 เวลา 12:10 น. เปิดอ่าน : 16,675 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

ร.ร.ประชารัฐ-ร.ร.ไอซียู : สมหมาย ปาริจฉัตต์

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ออกตัวรับตำแหน่งใหม่ มอบนโยบายให้ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คัดเลือกโรงเรียนไอซียู โดยสำรวจโรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือจำนวน 3,000 โรงเรียนทั่วประเทศ สพฐ.ต้องวินิจฉัยว่าแต่ละแห่งต้องการความช่วยเหลือเรื่องใด โรงเรียนไหนขาดอะไรก็ช่วยดูแลตามนั้น ทำให้เต็มที่ เกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกต้องมีความยืดหยุ่นและไม่ใช้มาตรวัดอันเดียวกัน จะเริ่มดำเนินการทันที ปี 2560 ตั้งเป้าว่า ภายใน 1 ปีนี้ โรงเรียนไอซียูทั้ง 3,000 โรงเรียนจะต้องดีขึ้น และจะเพิ่มขึ้นอีก 3,000 โรงเรียนในปีถัดไป

“เป็นนโยบายที่ให้การปฏิรูปการศึกษาเกิดขึ้นในระดับโรงเรียน”

ครับ นโยบายใหม่ล่าสุด หลักการเพื่อแก้ปัญหาการขาดโอกาสและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เน้นที่โรงเรียนซึ่งขาดความพร้อม

ขณะที่ก่อนหน้านี้ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีท่านเดิมที่เพิ่งพ้นตำแหน่งไป มอบมรดกไว้ให้สานต่อเรื่องใหญ่ๆ ไม่แพ้กัน คือ นโยบายโรงเรียนประชารัฐ หลักการเพื่อแก้ปัญหาการบริหารจัดการศึกษาและยกระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ภายใต้โครงการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ CONNEXT Ed (School Partner Leadership Program) สร้างผู้นำควบคู่กับการขับเคลื่อนโรงเรียนประชารัฐ

ภาคเอกชนขนาดใหญ่ 12 แห่งจะสนับสนุนงบประมาณให้โรงเรียนปีละ 500,000-1,000,000 บาท ใช้งบประมาณราว 2,000 ล้านบาทต่อปี เพิ่งออกตัวไปได้ปีเดียว 2559 เป้าหมาย 3,342 โรง ถึงปี 2561 จะทำให้ครบทุกตำบลทั่วประเทศ 7,422 โรง เน้นโรงเรียนที่มีความพร้อม มีเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา

กับอีกโครงการคือ แก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก 15,577 โรงทั่วประเทศ โดยการยุบเลิกโรงเรียนที่ไม่มีนักเรียน กับควบรวมโรงเรียนเข้ากับโรงเรียนแม่เหล็กที่อยู่ใกล้กัน

ผมนับจำนวนโรงเรียนตามนโยบาย 3 ประการทั้งของเดิมและของใหม่ รวมกันแล้วเฉพาะปีแรกปีเดียว เกือบ 7,000 โรงเข้าไปแล้ว ทำให้เป็นกังวลเรื่องความต่อเนื่องของนโยบายจากสิ่งที่ทำมาแล้ว พอคนเก่าไปของที่ทำไว้ก็ฝ่อไปตาม เช่นทุกครั้งที่เกิดความเปลี่ยนแปลง

แต่ถ้าทำได้สำเร็จตามนั้นจริง ปัญหาการขาดแคลน ความเหลื่อมล้ำและโอกาส กับคุณภาพการศึกษา น่าจะลดความรุนแรงลง อีกเพียงไม่กี่ปีเห็นหน้าเห็นหลังเพราะเท่ากับแก้ปัญหาได้ถึงครึ่งหนึ่งของโรงเรียนขนาดเล็กแล้ว

แต่ประเด็นปัญหาทางการศึกษาไม่ได้เป็นแค่ปัญหาเชิงปริมาณ แต่เป็นปัญหาเชิงคุณภาพ สิ่งที่ต้องพิจารณาจึงอยู่ที่การจัดลำดับความสำคัญควรแก้ปัญหาตรงจุดไหน ระหว่างคนกับของ อะไรควรเป็นหลัก เป็นรอง

เฉพาะโครงการโรงเรียนไอซียู ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าหลักเกณฑ์การพิจารณาความขาดแคลนดูจากอะไร แนวทางการช่วยเหลือควรมุ่งเน้นไปที่จุดใดมากกว่ากัน

ในอดีตเมื่อสิบปีที่ผ่านมาราวปี 2550 สพฐ.เคยดำเนินโครงการโรงเรียนไอซียูมาแล้วครั้งหนึ่ง ทีแรกโรงเรียนไม่มีความมั่นใจที่ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการเพราะเท่ากับประจานความขาดแคลน ความไม่พร้อมของตนเองให้คนนอกรับรู้ ผลประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาโดย สมศ. คะแนนต่ำกว่า 2 จากคะแนนเต็ม 4 แทบทั้งสิ้น

แต่ต่อมากลายเป็นเรื่องดี ใครๆ ก็อยากเข้าร่วม เพราะทำให้ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนด้านต่างๆ โดยเฉพาะหนังสือเข้าห้องสมุด เครื่องมือ อุปกรณ์การเรียน และการจัดกิจกรรม สิ่งที่มีความจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่

มาเที่ยวนี้ นโยบายใหม่ นอกจากรับฟังข้อเสนอความต้องการของโรงเรียนเป็นหลักก็ตาม แต่สิ่งที่น่าพิจารณาร่วมกันเพื่อให้การพัฒนาคุณภาพเกิดผลจริงจัง เป็นชิ้นเป็นอัน เกิดความยั่งยืนในระยะยาว ควรหันมามุ่งที่คนเป็นหลัก

คือ เน้นที่ปัญหาการขาดแคลนครูและบุคลากรสนับสนุน โรงเรียนที่ขาดครู ครูไม่ครบชั้น ครูสอนไม่ตรงตามวิชาที่ถนัด ครูอัตราจ้างทำให้เป็นครูประจำการ

แผนพัฒนาโรงเรียน แทนที่จะเน้นไปที่สิ่งก่อสร้าง มาเน้นการพัฒนาครูและบุคลากรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันดีกว่าหรือไม่ รวมถึงโรงเรียนในโครงการประชารัฐทั้งหลาย

ขณะเดียวกันลดน้ำหนักการช่วยเหลือโรงเรียนขนาดใหญ่ที่ดีมีคุณภาพ พัฒนาไปได้ด้วยตนเองอยู่แล้ว เพียงส่งเสริมให้มีความอิสระมากขึ้น

หันมาทุ่มเทไปที่โรงเรียนที่มีปัญหาคุณภาพและขาดโอกาส ไม่มีความพร้อม ไม่มีใครอยากเข้าเรียน ครู ผู้บริหารก็หลีกหนี เพื่อไม่ให้เป็นแค่ทางผ่านอีกต่อไป

โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์

ขอบคุณที่มาจาก มติชนออนไลน์ 29 ธ.ค. 59

 

ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด

฿368 - ฿999

https://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6


ร.ร.ประชารัฐ-ร.ร.ไอซียู : สมหมาย ปาริจฉัตต์ร.ร.ประชารัฐ-ร.ร.ไอซียู:สมหมายปาริจฉัตต์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ปฏิรูปการศึกษา ?

ปฏิรูปการศึกษา ?


เปิดอ่าน 8,818 ครั้ง
การศึกษาปัญหาที่แก้ไม่ตก

การศึกษาปัญหาที่แก้ไม่ตก


เปิดอ่าน 9,023 ครั้ง
ภาษาอังกฤษไม่แข็ง

ภาษาอังกฤษไม่แข็ง


เปิดอ่าน 10,540 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล

โรงเรียนยุคมิลเลนเนียล

เปิดอ่าน 8,721 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก 17 ประการ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก 17 ประการ
เปิดอ่าน 14,624 ☕ คลิกอ่านเลย

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ ๒๑ : ไทยแลนด์ ๔.o
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศตวรรษที่ ๒๑ : ไทยแลนด์ ๔.o
เปิดอ่าน 108,954 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยโอนโรงเรียนให้ท้องถิ่น
ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยโอนโรงเรียนให้ท้องถิ่น
เปิดอ่าน 12,136 ☕ คลิกอ่านเลย

อาลัยการศึกษาไทย เก่งเจ๋งในกระดาษ
อาลัยการศึกษาไทย เก่งเจ๋งในกระดาษ
เปิดอ่าน 19,901 ☕ คลิกอ่านเลย

การปฏิรูปการศึกษา การศึกษายุค 4.0 : โดย ประเสริฐ ตันสกุล
การปฏิรูปการศึกษา การศึกษายุค 4.0 : โดย ประเสริฐ ตันสกุล
เปิดอ่าน 30,201 ☕ คลิกอ่านเลย

"โรงเรียนแบบไหนที่สร้างเด็กให้ฉลาด" โดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
"โรงเรียนแบบไหนที่สร้างเด็กให้ฉลาด" โดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
เปิดอ่าน 56,326 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ระวัง! ใช้ Wi-Fi ทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ เสี่ยงโดนแฮ็ค
ระวัง! ใช้ Wi-Fi ทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ เสี่ยงโดนแฮ็ค
เปิดอ่าน 9,126 ครั้ง

 8 ข่าวสุขภาพที่ไม่ควรลืมประจำปี 2010
8 ข่าวสุขภาพที่ไม่ควรลืมประจำปี 2010
เปิดอ่าน 14,349 ครั้ง

กรมอนามัย เผยไข่ต้มคลุกน้ำปลาสารอาหารไม่พอ เด็กวัยเรียนควรกินไข่คู่กับอาหารให้ครบหมู่หลากหลาย
กรมอนามัย เผยไข่ต้มคลุกน้ำปลาสารอาหารไม่พอ เด็กวัยเรียนควรกินไข่คู่กับอาหารให้ครบหมู่หลากหลาย
เปิดอ่าน 2,123 ครั้ง

4 เกาะที่น่าไป หลังเกษียณอายุ
4 เกาะที่น่าไป หลังเกษียณอายุ
เปิดอ่าน 17,505 ครั้ง

ข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้าง กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้าง กระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 12,480 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.

Thailand Web Stat

Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ