ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

พระพุทธรูปปางต่างๆ


สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เปิดอ่าน : 30,317 ครั้ง
Advertisement

พระพุทธรูปปางต่างๆ

Advertisement

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 29

พระพุทธรูปปางต่างๆ โดย ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

ดังได้กล่าวแล้วว่า พระพุทธรูปสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า และส่วน หนึ่งเพื่อบอกเล่าถึงพุทธประวัติว่า มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นมูลเหตุของการสร้าง พระพุทธรูปเพื่อเล่าเรื่องราวในแต่ละตอนขึ้น ความหมายของคำว่า “ปาง” จึงหมายถึง พุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง ต่างจากคำว่า “มุทรา” ที่หมายถึงการแสดงท่าด้วยพระหัตถ์ ว่า พระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร

ในศิลปะอินเดียรุ่นแรกๆปรากฏการแสดง “มุทรา” ของพระพุทธรูปเพียง ๖ ท่า เท่านั้น ได้แก่ มารวิชัยสมาธิ ปฐมเทศนา ทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) ประทานอภัย และประทานพร การแสดงมุทรานี้ บางครั้งมุทราหนึ่งอาจนำไปใช้ในพุทธประวัติตอนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น ท่าทรงแสดงธรรม มีปรากฏ อยู่ในพุทธประวัติหลายตอน อย่างไรก็ดี ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักรวมเรียกการแสดงมุทราว่า การแสดงปาง ด้วย

ส่วนการแสดงปางหรือพุทธประวัตินั้น แรกเริ่มมีเพียง ๔ ปาง ตามสังเวชนียสถาน ทั้ง ๔ แห่ง ได้แก่ ปางประสูติ ปางตรัสรู้ ปางปฐมเทศนา และปางปรินิพพาน ต่อมาภายหลังจึงเพิ่มขึ้นเป็น ๘ ปาง ตามมหาสถาน ที่เพิ่มขึ้นจาก ๔ แห่ง เป็น ๘ แห่ง ที่เรียกว่า อัฏฐมหาสถาน ปางที่เพิ่มขึ้น ๔ ปาง ได้แก่ ปางทรมานช้างนาฬาคีรี ปางทรงรับบาตรจากพญาวานร ปางยมกปาฏิหาริย์ และปางเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในดินแดนไทยสมัยทวารวดีระยะแรก ได้พบหลักฐานพระพุทธรูปเพียงไม่กี่ปาง ซึ่งเป็นศิลปะที่สืบต่อมาจากอินเดียโดยตรง ได้แก่ ปางประทานพร ปางทรงแสดงธรรม ปางมารวิชัย และปางสมาธิ ในระยะต่อมาจึงมีการสร้างพระพุทธรูปปางอื่นๆ ทั้งที่เป็นการดัดแปลงให้เป็นแบบท้องถิ่น และที่คิดริเริ่มขึ้นใหม่ เช่น พระพุทธรูปปางทรงแสดงธรรม ทั้ง ๒ พระหัตถ์ในศิลปะทวารวดีนั้น ก็ไม่มีปรากฏในอินเดีย พระพุทธรูปลอยตัวปางลีลาถือว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในศิลปะสุโขทัย และพระพุทธรูปแสดงปางประทานอภัย ทั้ง ๒ พระหัตถ์ที่เรียกว่า ปางห้ามสมุทร อาจเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่สมัยทวารวดีจนถึงสมัยอยุธยา การสร้างพระพุทธรูปแสดงปางต่างๆยังมีปางอยู่ไม่มากนััก ที่นิยมมาก ที่สุดคือ ปางมารวิชัย รองลงมาได้แก่ ปางสมาธิ และปางอื่นๆ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต-ชิโนรส ทรงรวบรวม และเรียบเรียงตำราทาง พระพุทธศาสนาขึ้นคือ พระนิพนธ์พุทธประวัติ เรื่อง “ปฐมสมโพธิกถา” แล้วทรงประดิษฐ์แบบอย่างพระพุทธรูปปางต่างๆขึ้นตามพุทธ-ประวัติดังกล่าว เพื่อให้ช่างสร้างเป็นพระ-พุทธรูปรวม ๔๐ ปาง ซึ่งถือเป็นการกำหนดปางต่างๆของพระพุทธรูปมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา หลังจากนั้นมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ได้มีการกำหนดปางพระพุทธรูปเพิ่มเติมขึ้น หลายตำรา เช่น “พระพุทธรูปปางต่างๆ” ของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ มีจำนวน ๕๕ ปาง ใน “ภาพพุทธประวัติวัดทองนพคุณ” เป็น ประติมากรรมนูนสูงสร้างด้วยทองเหลืองทาสี ปิดทอง มีจำนวน ๙๐ ปาง ใน “ประวัติพระ-พุทธรูปปางต่างๆ” ของกรมการศาสนา แต่งโดยพิทูร มลิวัลย์ มีจำนวน ๗๒ ปาง และ ใน “ตำนานพระพุทธรูปปางต่างๆ” แต่งโดย พระพิมลธรรม มีจำนวน ๖๖ ปาง จากตำรา เล่มหลังนี้ ได้ปรากฏงานสร้างพระพุทธรูป รวม ๖๖ ปาง ที่พระระเบียงรอบองค์พระ-ปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม

พระพุทธรูป ๔๐ ปาง ที่สมเด็จพระ-มหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงกำหนดไว้ และถือเป็นต้นแบบให้มีการ สร้างเพิ่มเติมต่อๆมา ประกอบด้วยปางต่างๆ ดังนี้ คือ
๑. ปางทุกกรกิริยา
๒. ปางรับมธุปายาส
๓. ปางลอยถาด
๔. ปางทรงรับ หญ้าคา
๕. ปางมารวิชัย
๖. ปางสมาธิ
๗. ปางถวายเนตร
๘. ปางจงกรมแก้ว
๙. ปางประสานบาตร
๑๐. ปางฉันสมอ
๑๑. ปาง ลีลา
๑๒. ปางประทานเอหิภิกษุอุปสมบท
๑๓. ปางปลงกรรมฐาน
๑๔. ปางห้ามสมุทร
๑๕. ปางอุ้มบาตร
๑๖. ปางภุตตกิจ
๑๗. ปางพระเกตุธาตุ
๑๘. ปางเสด็จลงเรือขนาน
๑๙. ปางห้ามญาติ
๒๐. ปางพระป่าเลไลยก์
๒๑. ปางห้ามพระแก่นจันทน์
๒๒. ปาง นาคาวโลก
๒๓. ปางปลงพระชนม์
๒๔. ปางรับอุทกัง
๒๕. ปางพระสรงน้ำ
๒๖.ปางยืน
๒๗. ปางคันธารราฐ
๒๘. ปางพระรำพึง
๒๙. ปางสมาธิเพชร
๓๐. ปาง แสดงชราธรรม
๓๑. ปางประดิษฐานพระ-พุทธบาท
๓๒. ปางสำแดงโอฬาริกนิมิต
๓๓. ปางรับผลมะม่วง
๓๔. ปางขับพระวักกลิ
๓๕. ปางไสยา
๓๖. ปางฉันมธุปายาส
๓๗. ปางห้ามมาร
๓๘. ปางสนเข็ม
๓๙. ปาง ทรงตั้งพระอัครสาวก
๔๐. ปางเปิดโลก

การแสดงปางที่กำหนดขึ้นนั้น ทุกๆปาง ล้วนแต่มีความหมายเพื่อเล่าถึงพุทธประวัติ ในตอนนั้น จึงขอยกตัวอย่างลักษณะปางที่สำคัญของพระพุทธรูป พร้อมทั้งความหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ คือ

 

๑. ปางมารวิชัย

ปางมารวิชัย พระอิริยาบถนั่ง พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวา วางคว่ำบนพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้เพื่อเรียกแม่พระธรณี หมายถึง พุทธประวัติตอนตรัสรู้ มีพญามารมาผจญ พระพุทธองค์ทรงเรียก แม่พระธรณีมาเป็นพยาน แม่พระธรณีได้บีบมวยผมหลั่งน้ำที่พระพุทธองค์เคยทรงบำเพ็ญบารมีออกมาไหลท่วมเหล่ามารทั้งหลายพ่ายแพ้ไป พระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นปางที่พบ มากที่สุดในศิลปกรรมไทย โดยเฉพาะในสมัยสุโขทัย ล้านนา อู่ทอง อยุธยา จนถึง รัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ พุทธประวัติตอนมารผจญยังเป็นที่นิยมในงานจิตรกรรมฝาผนัง เขียนที่ผนังสกัดด้านหน้าพระอุโบสถ ในสมัย อยุธยาตอนปลาย จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์

๒. ปางสมาธิ

ปางสมาธิ พระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางหงายซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางบนพระหัตถ์ซ้าย หมายถึง พุทธประวัติตอนตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรด้วยปางสมาธิ เมื่อมีมารมาผจญ พระพุทธองค์ทรงแสดงปางมารวิชัยเพื่อปราบมาร เสร็จแล้วจึงเปลี่ยนมาแสดงปางสมาธิอีกครั้งหนึ่ง จนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๓. ปางปฐมเทศนา

ปางปฐมเทศนา พระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวายกขึ้น จีบนิ้วพระหัตถ์ พระอังคุฐ (นิ้วโป้ง) และพระดัชนี (นิ้วชี้) เป็น วงกลม อันหมายถึงธรรมจักร คือ การแสดงธรรม ในศิลปะอินเดียนิยมให้พระหัตถ์ซ้ายประคองพระหัตถ์ขวา แต่ในศิลปะไทยนิยมให้ วางพระหัตถ์ซ้ายบนพระเพลา มักมีธรรมจักรกับกวางหมอบ และปัญจวัคคีย์อยู่ด้วยเสมอ หมายถึง พุทธประวัติตอนปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระธรรมที่ทรงแสดงเรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

๔. ปางทรงแสดงธรรม (วิตรรก-มุทรา)

ปางทรงแสดงธรรม (วิตรรก-มุทรา) พระอิริยาบถยืนหรือนั่ง พระหัตถ์ขวายกขึ้น จีบนิ้วพระหัตถ์พระอังคุฏ และพระดัชนีเป็นวงกลม อันหมายถึงธรรมจักร คือ การแสดงธรรม หากเป็นพระพุทธรูปยืน นิยมแสดงธรรมด้วยพระหัตถ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายทรงยึดชายจีวร ส่วนพระพุทธรูปนั่ง พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา เป็นการแสดงมุทรา โดยทั่วไปใช้ประกอบตอนใดตอนหนึ่งในพุทธประวัติที่เกี่ยวกับการแสดงธรรม

๕. ปางประทานพร

ปางประทานพร พระอิริยาบถยืนหรือนั่ง แสดงปางด้วยพระหัตถ์ขวายกขึ้น และหันฝ่าพระหัตถ์ออก ปลายนิ้วพระหัตถ์ชี้ลง ใช้ในความหมายของการให้พร และการ อนุญาต ซึ่งปรากฏในพุทธประวัติหลายตอน

๖. ปางประทานอภัย

ปางประทานอภัย พระอิริยาบถยืน หรือนั่ง แสดงปางด้วยพระหัตถ์ข้างใดข้างหนึ่งยกขึ้น หันฝ่าพระหัตถ์ออก ปลายนิ้ว พระหัตถ์ตั้งขึ้น มีการแสดงปางประทานอภัย รวม ๓ แบบ ได้แก่ แบบแสดงด้วยพระหัตถ์ขวา หมายถึง ห้ามญาติ เป็นตอนที่พระพุทธองค์ทรงห้ามพระประยูรญาติวิวาทเรื่องการแย่งน้ำ แบบแสดงด้วยพระหัตถ์ซ้าย หมายถึง ห้าม พระแก่นจันทน์ ในพุทธประวัติตอนเสด็จโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้มีการสร้างพระพุทธรูปด้วยไม้แก่นจันทน์แทนพระพุทธองค์ และเมื่อพระพุทธองค์เสด็จกลับ ลงมาแล้ว พระแก่นจันทน์ลุกหนีจากบัลลังก์ พระพุทธเจ้าจึงทรงยกพระหัตถ์ห้ามไว้ และแบบแสดงด้วยทั้ง ๒ พระหัตถ์ หมายถึง ห้ามสมุทร เป็นพุทธประวัติตอนทรงแสดง ปาฏิหาริย์ปราบเหล่าชฎิล โดยทรงห้ามน้ำฝน ที่ตกหนักบริเวณนั้น มิให้ท่วมปริมณฑลที่พระพุทธองค์ประทับอยู่

 

ที่มา สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน เล่มที่ 29


พระพุทธรูปปางต่างๆ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การกำเนิดของศาสนาพราหมณ์

การกำเนิดของศาสนาพราหมณ์


เปิดอ่าน 111,272 ครั้ง
อาณาเขตประเทศไทย

อาณาเขตประเทศไทย


เปิดอ่าน 296,615 ครั้ง
ตำนานเมืองสุรินทร์

ตำนานเมืองสุรินทร์


เปิดอ่าน 32,922 ครั้ง
รู้จักเพื่อนบ้านอาเซียน

รู้จักเพื่อนบ้านอาเซียน


เปิดอ่าน 18,162 ครั้ง
ศิลปะการเห่เรือ

ศิลปะการเห่เรือ


เปิดอ่าน 34,472 ครั้ง
ราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368)

ราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368)


เปิดอ่าน 21,390 ครั้ง
ประวัติจังหวัดอำนาจเจริญ

ประวัติจังหวัดอำนาจเจริญ


เปิดอ่าน 21,141 ครั้ง
อริยสัจ 4

อริยสัจ 4


เปิดอ่าน 1,316,717 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

อาหรับ มาจากไหน?

อาหรับ มาจากไหน?

เปิดอ่าน 31,858 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ประเพณีการบอกหมาก ในงานแต่งงาน
ประเพณีการบอกหมาก ในงานแต่งงาน
เปิดอ่าน 29,997 ☕ คลิกอ่านเลย

ที่มาของ "กรุงเทพมหานคร" และ "บางกอก"
ที่มาของ "กรุงเทพมหานคร" และ "บางกอก"
เปิดอ่าน 55,502 ☕ คลิกอ่านเลย

บทสวดอโหสิกรรม
บทสวดอโหสิกรรม
เปิดอ่าน 107,909 ☕ คลิกอ่านเลย

140 ที่สุดในโลก
140 ที่สุดในโลก
เปิดอ่าน 48,836 ☕ คลิกอ่านเลย

ย้อนรอยสายราชสกุล... ในพระบรมราชจักรีวงศ์ (๑)
ย้อนรอยสายราชสกุล... ในพระบรมราชจักรีวงศ์ (๑)
เปิดอ่าน 42,376 ☕ คลิกอ่านเลย

ชุดประจำชาติต่างๆ ในอาเซียน
ชุดประจำชาติต่างๆ ในอาเซียน
เปิดอ่าน 37,919 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ระเบียบรักษาความปลอดภัย
ระเบียบรักษาความปลอดภัย
เปิดอ่าน 15,892 ครั้ง

แหล่งกำเนิดพลังงานของดวงอาทิตย์
แหล่งกำเนิดพลังงานของดวงอาทิตย์
เปิดอ่าน 18,547 ครั้ง

Google ใหญ่ขึ้น!!! คุณไม่ได้ตาฝาด...
Google ใหญ่ขึ้น!!! คุณไม่ได้ตาฝาด...
เปิดอ่าน 8,946 ครั้ง

บางคนเกษียณแล้วร้องไห้หนักมาก เพราะไม่รู้สิบข้อนี้
บางคนเกษียณแล้วร้องไห้หนักมาก เพราะไม่รู้สิบข้อนี้
เปิดอ่าน 446,871 ครั้ง

ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์
ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 21,000 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ