ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การนั่งขับรถในท่านั่งที่ถูกต้อง


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,141 ครั้ง
Advertisement

การนั่งขับรถในท่านั่งที่ถูกต้อง

Advertisement

การนั่งขับรถในท่านั่งที่ถูกต้อง ไม่เพียงแต่ช่วยบรรเทาความเมื่อยล้า แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับขี่

                                                                   

เริ่มจากการปรับเบาะนั่งให้ได้ระยะเหมาะสม ปรับตำแหน่งพวงมาลัย และปรับมุมกระจกมองข้าง-มองหลัง นั่งให้เข่าอยู่สูงกว่าตะโพกเล็กน้อย งอข้อศอกเล็กน้อย ปรับพนักพิงให้เอนเล็กน้อย การนั่งชิดพวงมาลัยเกินไป ไม่ว่าจะด้วยจุดประสงค์ เพื่อต้องการมองด้านหน้าสุดของฝากระโปรงหน้า เพราะกลัวจะกะระยะไม่ถูกก็ไม่ควรทำ ควรใช้วิธีกะระยะเอาเอง เพราะท่านั่งที่งอข้อศอกมากเกินไปทำให้การหมุนพวงมาล ัยไม่คล่อง นอกจากนี้ หากเกิดอุบัติเหตุ แม้คุณจะคาดเข็มขัดนิรภัย ก็ยังเสี่ยงต่อการอัดเข้ากับพวงมาลัย เพราะเข็มขัดรั้งไว้ไม่ทัน ทั้งเสี่ยงต่อการปะทะกับถุงลมนิรภัยที่ยังพองตัวไม่เ ต็มที่ ซึ่งเท่ากับเป็นการโดนเสยกลับ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตทีเดียว

การปรับเบาะและท่านั่งขับรถที่ถูกต้อง มีผลมากต่อความปลอดภัยในการขับรถ รวมถึงความปลอดภัยเมื่อเกิดการชนด้วย การปรับเบาะที่ถูกต้องทำได้ไม่ยาก แค่ใช้ฝ่าเท้า เน้นว่าฝ่าเท้า ไม่ใช่ปลายเท้า เหยียบแป้นคลัตช์ให้สุด หรือถ้าเป็นเกียร์ออโต้ก็ใช้ฝ่าเท้าเหยียบแป้นเบรก แล้วเลื่อนตัวเบาะนั่งให้เข่างอเล็กน้อย นั่นเป็นตำแหน่งของเบาะนั่งที่เหมาะสมบางคนชอบปรับเบ าะให้เอนมากๆ แล้วชะโงกตัวโหนพวงมาลัย จนหลังมาสัมผัสกับพนักพิงเต็มที่ เช่นนี้ก็ทำให้สูญเสียความฉับไวและแม่นยำในการควบคุม รถยนต์ เมื่อจะมองกระจกมองข้างและกระจกส่องหลังก็ต้องเบนแนว สายตามากขึ้น แถมยังทำให้เกิดความเมื่อยล้าเมื่อนั่งอย่างนี้นานๆ

การปรับพนักพิงที่ถูกต้อง จะต้องไม่เอนหรือตั้งเกินไป ถ้าปรับพอดี จะเช็คได้โดย ใช้มือซ้ายจับพวงมาลัยในตำแหน่ง 9 นาฬิกา มือขวา 3 นาฬิกา แล้วข้อศอกต้องงอเล็กน้อย แต่แผ่นหลังต้องแนบกับพนักพิงตลอดเวลา ปรับเสร็จแล้วลองเลื่อนมือไปวางไว้บนสุดของวงพวงมาลั ย แถวๆ ข้อมือต้องแตะกับพวงมาลัยจึงจะถูกต้อง ถ้าวงพวงมาลัยอยู่เลยไปถึงกลางฝ่ามือหรือโคนนิ้ว แสดงว่าปรับพนักพิงเอนเกินไป ถ้าวงพวงมาลัยอยู่ชิดเลยข้อมือเข้ามาแสดงว่านั่งชิดเ กินไป

หมอนรองศีรษะ ก็สำคัญ ควรปรับให้พอดี โดยให้เอนศีรษะแล้วพิงช่วงกลางหมอนพอดี แต่ศีรษะไม่ต้องพยายามพิงหมอนเวลาขับ เพราะหมอนรองศีรษะมีไว้รองรับเมื่อเกิดการชนแล้วศีรษ ะจะได้สะบัดไปด้านหลังน้อย ไม่ใช่ไว้พิงตอนขับ

เข็มขัดนิรภัย ถ้าปรับสูง-ต่ำได้ ก็ควรปรับต่อจากการปรับเบาะ จะได้พอดีกัน ที่ถูกต้องสายเข็มขัดนิรภัยต้องพาดจากไหปลาร้าเฉียงล งมาที่สะโพก ส่วนด้านล่างก็พาดอยู่แถวกระดูกเชิงกราน อย่าให้สายพาดคอ หรือห้อยเลยหัวไหล่ลงไป

พวงมาลัย ของรถรุ่นใหม่ๆ มักปรับสูงต่ำได้ ก็ควรปรับให้พอดี คือ ไม่สูงเกินไปเพราะจะเมื่อยเมื่อขับนานๆ และไม่ต่ำเกินไปจนติดต้นขา กระจกมองข้างและกระจกมองหลังเปรียบเสมือนตาหลังของคน ขับ กระจกมองข้างควรปรับไม่ก้มหรือเงยเกินไป และปรับให้เห็นด้านข้างของตัวรถเรานิดๆ อย่าให้เห็นแต่ทางด้านหลังล้วนๆ ส่วนกระจกมองหลังก็ปรับให้เห็นด้านหลังเป็นมุมกว้างท ี่สุด ไม่ใช่ปรับไว้ส่องหน้าตัวเองแบบที่หลายคนทำกัน

ทั้งหมดที่แนะนำต้องปรับตอนรถจอดนิ่งในที่ปลอดภัย อย่าปรับตอนขับรถหรือจอดบนถนน อันตราย ถุงลมนิรภัย หรือแอร์แบ็ก ซึ่งรถรุ่นใหม่ๆ มักมีมาให้อย่างน้อย 1 ใบในฝั่งผู้ขับ ถุงลมนิรภัยจะพองตัวขึ้นเองเมื่อเกิดอุบัติเหตุ มีไว้รองรับร่างกายส่วนบนเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ไม่ให้ปะทะกับพวงมาลัยหรือแผงหน้าปัดโดยตรง ช่วยลดความบาดเจ็บได้ แต่ก็ต้องมีการใช้งานที่ถูกต้องด้วย

สิ่งสำคัญในการขับรถที่มีถุงลมฯ คือ ต้องปรับเบาะและพนักพิงให้เหมาะสม อย่าให้ชิดเข้ามามากเกินไป คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง และจับพวงมาลัยให้ถูกตำแหน่ง ถ้าปรับเบาะชิดไป และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ร่างกายส่วนบนอาจปะทะกับถุงลมฯ ผิดจังหวะ คือ ปะทะตอนถุงลมยังพองตัวไม่สุด ร่างกายพุ่งไปด้านหน้าแล้วเจอกับถุงลมฯ ที่พุ่งสวนออกมา กลายเป็น 2 แรงบวกเจ็บหนักแน่

การจับพวงมาลัย ก็เกี่ยวข้องกับถุงลมฯ เพราะถ้าจับไม่ถูกตำแหน่งแขนอาจไปขวางทางการพองตัวขอ งถุงลมฯ ทำให้ถุงลมฯ ไม่ได้ทำงานตามที่ออกแบบมา

ส่วนรถที่มีถุงลมฯ ฝั่งข้างคนขับก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังไม่วางของขวา งทางถุงลมฯ และอ่านคำเตือนเรื่องถุงลมฯ ในคู่มือประจำรถอย่างละเอียดก่อนใช้งานด้วย ถุงลมนิรภัยจะช่วยลดความบาดเจ็บได้ก็ต่อเมื่อมีการใช ้งานอย่างถูกวิธี จำง่ายๆ ว่า อย่านั่งชิดเกินไป และต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดการขับรถ ไม่งั้นอาจกลายเป็นถุงลมมหาภัยได้

ตำแหน่งการจับพวงมาลัยที่ถูกต้อง

จริงๆ แล้วอยากจะบอกว่า คนไทยมีการจับพวงมาลัยผิดตำแหน่งกันมากกว่าครึ่ง แต่ก็ไม่ได้สำรวจอย่างจริงจัง แค่ลองนั่งริมถนนคอยดูคนขับรถผ่านไปเท่านั้น 3 สาเหตุที่ทำให้หลายคนปฏิบัติกันผิดๆ ก็คือ

1. เน้นความสบายของตนเองเป็นหลัก
2. จับพวงมาลัยตามใจชอบ ก็ไม่เห็นจะเกิดอุบัติเหตุเลย
3. ไม่มีใครบอกใครสอน ทั้งตอนหัดขับรถ หรือคนอื่นนั่งไปด้วย

ตำแหน่งที่ถูกต้องของการจับพวงมาลัย เมื่อเปรียบเทียบกับหน้าปัดนาฬิกา เพราะเป็นวงกลมเหมือนกันน่าจะเข้าใจกันได้ง่าย มือซ้ายอยู่ในตำแหน่ง 9 นาฬิกา มือขวาอยู่ในตำแหน่ง 3 นาฬิกาส่วนตำแหน่ง 10 และ 2 นาฬิกา อนุโลมได้ แต่ไม่แนะนำ เพราะความแม่นยำในการบังคับควบคุมจะด้อยกว่าตำแหน่ง 9 และ 3 นาฬิกาซึ่งอยู่ครึ่งหรือช่วงกลางของวงพวงมาลัยพอดี
การกำพวงมาลัยสำหรับการขับรถบนเส้นทางเรียบ ไม่ใช่วิบาก ควรใช้นิ้วโป้งเกี่ยวช่วยด้วยเสมอ กำแน่นพอประมาณ แต่ไม่หลวมเกินไป ควรจับพวงมาลัย 2 มือ ที่ตำแหน่ง 9 และ 3 นาฬิกาอยู่เสมอ (แต่ไม่ถึงกับเกาหรือปรับวิทยุไมได้) อย่าชะล่าใจเมื่อเห็นเส้นทางโล่งๆ หรือเดินทางไกล เพราะถนนเมืองไทยมีหลุมโดยไม่ได้คาดหมาย หรือมีอะไรให้หักหลบฉุกเฉินได้เสมอ และหลังเปลี่ยนเกียร์แล้ว อย่าวางมือคาไว้บนหัวเกียร์ ให้ยกมือขึ้นมาจับพวงมาลัยครบ 2 มือตามปกติ

อ่านแล้วนอกจากจะนำไปปฏิบัติ (เหมือนว่าบางคนจะแก้ไขยาก เพราะเคยชิน แต่ถ้าตั้งใจก็ไม่ยาก) ก็ควรเผยแพร่ออกไปเท่าที่ทำได้ เพราะไม่ใช่เรื่องยากเลยกับการจับพวงมาลัยครบ 2 มือตามตำแหน่งที่บอก เกือบตลอดการขับ ถ้าขับทางไกลแล้วรู้สึกเมื่อย ก็แค่บีบข้อศอกเข้ามาแตะลำตัวเท่านั้นเอง ไม่ควรคิดว่าจับพวงมาลัยตำแหน่งแบบไหนๆ ก็ไม่เคยขับรถชน เพราะถ้าพลาดเพียงครั้งเดียว อาจไม่มีโอกาสนึกถึงการแนะนำนี้เลยก็เป็นได้..ห่วงนะ..!

                                                                     

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1712 วันที่ 14 เม.ย. 2552


การนั่งขับรถในท่านั่งที่ถูกต้อง

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ชีวิตครูเฒ่า

ชีวิตครูเฒ่า


เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
เปิดพระธาตุ..ดอยสุเทพ

เปิดพระธาตุ..ดอยสุเทพ


เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
ยิ่งสูง...ยิ่งหนาว......

ยิ่งสูง...ยิ่งหนาว......


เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

"เสนาหอย"ควง"น้องพิม"ซ้อมหมั้น

"เสนาหอย"ควง"น้องพิม"ซ้อมหมั้น

เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ความรู้เรื่อง...สถาปัตยกรรมเบื้องต้น
ความรู้เรื่อง...สถาปัตยกรรมเบื้องต้น
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย

เรื่องของสัตว์..ที่คนเลี้ยงสัตว์ควรรู้...
เรื่องของสัตว์..ที่คนเลี้ยงสัตว์ควรรู้...
เปิดอ่าน 7,152 ☕ คลิกอ่านเลย

เครื่องประดับหินสี .....ของขวัญชิ้นพิเศษ.....สำหรับคนพิเศษ
เครื่องประดับหินสี .....ของขวัญชิ้นพิเศษ.....สำหรับคนพิเศษ
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย

ภาษาอังกฤษกับเพลง สำหรับคนที่คิดถึงบ้าน ที่บ้านนอก Take me home, country roads.
ภาษาอังกฤษกับเพลง สำหรับคนที่คิดถึงบ้าน ที่บ้านนอก Take me home, country roads.
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย

"บัวสวย">>ดูแล้วสบายตา..สบายใจ..มีความสุข
"บัวสวย">>ดูแล้วสบายตา..สบายใจ..มีความสุข
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย

6 วิธีเด็ดๆ เก็บออมอย่างฉลาด...
6 วิธีเด็ดๆ เก็บออมอย่างฉลาด...
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

โครงการเพชรในตม โครงการที่ให้ทุนนักเรียนเรียนครูเมื่อจบแล้วบรรจุเป็นครูโดยตรง
โครงการเพชรในตม โครงการที่ให้ทุนนักเรียนเรียนครูเมื่อจบแล้วบรรจุเป็นครูโดยตรง
เปิดอ่าน 33,580 ครั้ง

การคูณด้วยไม้ตะเกียบแบบบูรณาการ (ชมคลิป)
การคูณด้วยไม้ตะเกียบแบบบูรณาการ (ชมคลิป)
เปิดอ่าน 30,753 ครั้ง

ทำไมคำว่า"ไทย" ต้องมี "ย" ยักษ์
ทำไมคำว่า"ไทย" ต้องมี "ย" ยักษ์
เปิดอ่าน 22,323 ครั้ง

กรดไหลย้อน และการรักษากรดไหลย้อน
กรดไหลย้อน และการรักษากรดไหลย้อน
เปิดอ่าน 2,080 ครั้ง

ซีร็อกมาจากคำว่าอะไร
ซีร็อกมาจากคำว่าอะไร
เปิดอ่าน 14,605 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ