ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

วิจัยชี้เด็กคะแนนสอบดี มีทักษะคิดวิเคราะห์-จิตสาธารณะน้อย


ข่าวการศึกษา 10 ธ.ค. 2559 เวลา 08:44 น. เปิดอ่าน : 18,106 ครั้ง
Advertisement

วิจัยชี้เด็กคะแนนสอบดี มีทักษะคิดวิเคราะห์-จิตสาธารณะน้อย

Advertisement

ผลการวิจัยชี้ เด็กไทยคะแนนสอบดี จะมีทักษะการคิดวิเคราะห์และจิตสาธารณะน้อย
 
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดย ศูนย์ประสานงานการศึกษา “การสร้างความคุ้มครองทางสังคมในกลุ่มเด็กและเยาวชน” (CSPS) จัดการประชุม “CHILD POLICY FORUM I : นโยบายด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และการมีจิตสาธารณะของนักเรียนไทย” ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ เพื่อนำเสนอและร่วมอภิปรายผลการวิจัยหัวข้อ “การศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และการมีจิตสาธารณะเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดีคนเก่งของนักเรียนไทย”
       
รศ.ดร.ปังปอนด์ รักอำนวยกิจจากวิทยาลัยประชากรศาสตร์ และ ผศ. ดร. ยศวีร์ สายฟ้า จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ทีมวิจัยได้ทำการออกแบบแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ (คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน) ตามโครงสร้างของข้อสอบโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ หรือ PISA และแบบทดสอบโครงการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยเทียบกับนานาชาติ หรือ TIMSS สำหรับแบบทดสอบวัดความมีจิตสาธารณะ มีองค์ประกอบ 4 ข้อ
 
 
คือ
1.การมีความรับผิดชอบต่อตนเอง และหลีกเลี่ยงการใช้หรือการกระทำที่จะทำให้เกิดการชำรุดเสียหายต่อส่วนรวม
2.การถือเป็นหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลส่วนรวม และช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจโดยไม่หวังผลตอบแทน
3.การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม และ
4.การมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการเคารพสิทธิของผู้อื่นและปฏิบัติตนโดยสุจริต
 
ทีมวิจัยนำแบบประเมินทั้ง 2 แบบ ไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับชั้น ป.6 ม.4 และ ปวช. 1 จำนวนทั้งสิ้น 6,235 คนใน 5 ภูมิภาค 10 จังหวัด โดยมีการศึกษาปัจจัยด้านผู้เรียน โรงเรียน การใช้เวลา และครอบครัวประกอบด้วย
     
ผลการวิจัยพบว่า เด็กไทยได้คะแนนการคิดวิเคราะห์ เกินร้อยละ 60 ในทุกวิชา เพียงร้อยละ 1.09 โดยเด็กที่มีผลการเรียนดี(วัดด้วยคะแนนสะสมในโรงเรียน) จะมีทักษะการคิดวิเคราะห์น้อยกว่า และมีจิตสาธารณะน้อยกว่าเด็กที่มีผลการเรียนต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ผลทางสถิติพบว่า เด็กที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์จะมีแนวโน้มที่มีจิตสาธารณะที่ดีด้วย เด็กไทยมีจิตสำนึกรู้ถึงความรับผิดชอบของตนเองและการช่วยเหลือผู้อื่นในระดับหนึ่ง แต่ยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อโรงเรียนชุมชนสังคมน้อย
 
วิจัยชี้เด็กคะแนนสอบดี มีทักษะคิดวิเคราะห์-จิตสาธารณะน้อย
     “จากผลการวิจัยเชิงสถิติ นักเรียนไทยมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับที่ต่ำมาก แม้ว่าจะมีการประเมินผลการเรียนในโรงเรียนอย่างเข้มข้น ผลการศึกษาพบว่า ระดับการคิดวิเคราะห์แปรผกผันกับเกรดเฉลี่ย แสดงถึงการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ทางด้านการเรียนการสอนด้านการคิดวิเคราะห์ หรือการวัดผลการคิดวิเคราะห์ในโรงเรียนอาจไม่มีประสิทธิผล ทางด้านการมีจิตสาธารณะพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ยังมีการแสดงออกถึงการริเริ่มหรือการสร้างสรรค์ต่อส่วนรวม ความรับผิดชอบต่อสังคม ความเคารพสิทธิของผู้อื่น ตลอดจนมีความซื่อสัตย์สุจริตในระดับที่ไม่มากนัก ดังนั้นการส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมจิตสาธารณะในทุกด้านควรได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย เริ่มจากครอบครัว ชุมชน สถานศึกษา และสังคมอย่างต่อเนื่อง
     
ทักษะสำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ชี้ให้เห็นว่า การเป็นเด็กเก่งเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องมีการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ และควรส่งเสริมและพัฒนาให้มีจิตสาธารณะควบคู่กันไปเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาทางสังคม จากผลการศึกษาพบว่า เกรดเฉลี่ยของนักเรียนในโรงเรียนแปรผกผันกับการมีจิตสาธารณะเช่นเดียวกับทักษะการคิดวิเคราะห์ โรงเรียนต้องส่งเสริมให้โรงเรียนจัดกิจกรรมบูรณาการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคิดวิเคราะห์กับการมีจิตสาธารณะให้นักเรียนมากขึ้น และมีการวัดผลและประเมินจากกิจกรรมโดยใช้ตัวชี้วัดทั้งด้านการคิดวิเคราะห์และจิตสาธารณะร่วมกันและไม่เน้นการท่องจำ
 
     
นอกจากนี้ผลการศึกษาพบว่านักเรียนที่มีการเรียนพิเศษเสริมทักษะด้านการเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์มากกว่านักเรียนที่ไม่ได้เรียนพิเศษ ชี้ให้เห็นว่า ระบบการเรียนในโรงเรียนที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่เอื้อต่อการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรพิจารณาการปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ให้มากขึ้น ทั้งนี้ อาจส่งผลให้อัตราการเรียนพิเศษทางด้านวิชาการลดลงด้วย
     
การสำรวจครั้งนี้พบว่าที่ว่า เด็กที่สังคมให้คุณค่าว่าเก่ง มีผลการเรียนดี เป็นเด็กที่มีจิตสาธารณะน้อย ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรในโรงเรียนให้ลดการแข่งขันและมุ่งเน้นการทำงานร่วมกันโดยดำเนินการตามหลักการ “เด็กเก่งดีได้” โดยการส่งเสริมการมีจิตสาธารณะอาจส่งเสริมควบคู่ไปกับการเสริมทักษะด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬาในโรงเรียน การพัฒนาศักยภาพการคิดวิเคราะห์และการมีจิตสาธารณะของนักเรียนควรคำนึงถึงประเด็นด้านความเหลื่อมล้ำและข้อจำกัดของการเรียนรู้ของท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณลักษณะทั้ง 2 อย่าง อย่างเหมาะสมในแต่ละภูมิภาค ควรศึกษาแบบอย่างการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการมีจิตสาธารณะจากการเรียนการสอนในภาคใต้ เพราะผลการวิจัยพบว่าเด็กภาคใต้มีผลคะแนนการสอบ คิดวิเคราะห์และจิตสาธารณะสูงกว่านักเรียนในภูมิภาคอื่น” รศ.ดร.ปังปอน์กล่าวขยายความ
 
ด้าน ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ หัวหน้าหน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า “เด็กควรจะมีทักษะพื้นฐาน อาทิ การอ่านออกเขียนได้ ความสามารถในภาษาที่ 2 ตามวัย อยากเห็นหลักสูตรการศึกษาที่เป็นแบบสั่งตัด หรือ Tailor Made ที่เหมาะสมกับเด็ก เพราะเด็กแต่ละคนล้วนมีความสามารถแตกต่างกัน เด็กอาจไม่มีเวลาสำหรับการพัฒนาทักษะดังกล่าว เพราะตารางการใช้ชีวิตเต็มไปด้วยเรื่องการเรียนที่โรงเรียนและเรียนพิเศษเต็มที่แล้ว”
       
ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุลจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเสริมว่า “ทางฝั่งของสถาบันผลิตครูอย่างคณะคุรุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์มองเห็นว่า นักศึกษาครูหลายคนมีไฟในความเป็นครูสูง แต่เมื่อเข้าไปอยู่ในสถาบันการศึกษาจริง นโยบายของผู้บริหาร ตลอดจนแนวปฏบัติในหลักสูตรการเรียนการสอน ล้วนบีบรัดทำให้ทฤษฎีหรือหลักการที่เหมาะสมในการสอนเด็กมากกว่าไม่ได้นำไปใช้”
   
ด้าน รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล รองผู้อำนวยการด้านการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ และ รักษาการผู้อำนวย ฝ่ายชุมชุนและสังคม สกว. กล่าวว่า “ภายใต้ข้อจำกัดเชิงโครงสร้าง ตนไม่เห็นด้วยที่จะผลักหน้าที่ความรับผิดชอบเรื่องการส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการคิดวิเคราะห์และจิตสาธารณะให้เป็นภาระของ “ครู” หรือ “โรงเรียน” เพียงฝ่ายเดียว ทั้งครูและผู้ปกครองจะเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลง หรือ Change Agent ที่สำคัญสำหรับการคลี่คลายปัญหานี้”
 
 
ขอบคุณที่มาภาพและข่าวจาก คม ชัด ลึก 9 ธ.ค.2559


วิจัยชี้เด็กคะแนนสอบดี มีทักษะคิดวิเคราะห์-จิตสาธารณะน้อยวิจัยชี้เด็กคะแนนสอบดีมีทักษะคิดวิเคราะห์-จิตสาธารณะน้อย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 13 ราย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2567

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 13 ราย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2567

เปิดอ่าน 26,468 ☕ 24 ต.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
เปิดอ่าน 158 ☕ 22 พ.ย. 2567

ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 187 ☕ 22 พ.ย. 2567

สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม"  ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม" ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
เปิดอ่าน 533 ☕ 19 พ.ย. 2567

คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
เปิดอ่าน 696 ☕ 15 พ.ย. 2567

"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 796 ☕ 15 พ.ย. 2567

ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 3,404 ☕ 13 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

กระบี่กระบอง
กระบี่กระบอง
เปิดอ่าน 32,178 ครั้ง

มารยาทของการจับมือ (shaking Hands)
มารยาทของการจับมือ (shaking Hands)
เปิดอ่าน 58,458 ครั้ง

ลายมือผู้วิเศษ
ลายมือผู้วิเศษ
เปิดอ่าน 15,651 ครั้ง

ISO นั้นสำคัญไฉน
ISO นั้นสำคัญไฉน
เปิดอ่าน 26,726 ครั้ง

ไขข้อสงสัย "หมึกชอต" ทรมานสัตว์หรือไม่?
ไขข้อสงสัย "หมึกชอต" ทรมานสัตว์หรือไม่?
เปิดอ่าน 16,637 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ