Advertisement
ลูกติดเกม…ไม่ใช่ปัญหาใหญ่....จริงหรือ??
ปัญหาลูกติดเกมดูเหมือนไม่ใช่ปัญหาใหญ่โตอะไรในความรู้สึกพ่อแม่ ตราบใดที่เห็นว่าลูกอยู่ติดบ้าน ไม่ได้ไปมั่วสุมที่ไหน แต่ในงานศึกษาทางการแพทย์ซึ่งมีพื้นฐานจากเรื่องการทำงานของสมอง กลับพบว่า ผลของการติดเกมมีความรุนแรงไม่แพ้ปัญหาติดยาเสพติด ที่ส่งผลทำลายคุณภาพของเยาวชนวัยเรียนรู้ได้อย่างมหันต์
นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี และนพ.พนม เกตุมาน ภาควิชาจิตเวชศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวไว้ในการศึกษาเรื่อง Game Addiction : The Crisis and Solution ว่าเด็กวัยรุ่นที่ติดเกมมักเป็นเด็กผู้ชาย เพราะเพศชายนิยมคอมพิวเตอร์และใช้เวลาเล่นเกมมากกว่าเพศหญิง เพราะเพศชายมีความถนัดทางด้านมิติสัมพันธ์และการประสานงานระหว่างตากับมือดีกว่าเพศหญิง เกมส่วนใหญ่ยังถูกสร้างขึ้นให้มีเนื้อหาเหมาะกับเพศชาย เช่น การแข่งกีฬา การผจญภัย และการต่อสู้
ความรู้สึกเพลิดเพลินใจในการเล่น และความพึงพอใจเมื่อได้รับชัยชนะในการเล่นเกม ล่อให้เด็กและวัยรุ่นติดเกม คล้ายกับผู้ป่วยติดสารเสพติดและผู้ป่วยติดการพนัน มีความต้องการเอาชนะเพิ่มขึ้นอีกจึงจะรู้สึกพึงพอใจเท่าเดิม จึงเล่นในระดับที่สูงขึ้นไปอีก ทำให้ใช้เวลาเล่นเกมนานขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อถูกขัดขวางการเล่นเกมจะรู้สึกหงุดหงิดกระวนกระวายหรือมีอาการทางกายจากความเครียด มีความต้องการเล่นเกมมากขึ้นในเวลาที่รู้สึกเครียด และเล่นเกมเพื่อหลบเลี่ยงการเผชิญปัญหา รวมถึงมีความคิดหมกมุ่นกับเกมคอมพิวเตอร์อย่างมาก จนละเลยหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการเรียน การทำการบ้าน ยอมอดอาหาร และอดนอนจนมีผลกระทบต่อสุขภาพ ยอมเลิกกิจกรรมอื่นที่เคยสนุกสนาน และมีพฤติกรรมหลายอย่างตามมา เช่น โกหก ขโมย ก้าวร้าว หนีเรียน หนีออกจากบ้าน และพนัน ส่งผลกระทบหลายด้าน เช่น การเรียน การทำงาน สุขภาพ ความสัมพันธ์ในครอบครัว และสังคม เป็นต้น มีพฤติกรรมการเล่นที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยมักใช้เวลาเล่นเกมมากกว่าที่ตั้งใจไว้ แม้มีความพยายามจะลดหรือเลิกเล่นเกมแต่ไม่สามารถควบคุมตนเองให้หยุดเล่นได้ ทั้งที่ทราบดีว่ามีผลกระทบต่อตนเองอย่างมาก
เด็กและวัยรุ่นที่มีความนับถือตนเอง (self-esteem) ต่ำ เนื่องจากไม่ค่อยได้รับความสำเร็จจากกิจกรรมอื่นๆ จะติดเกมได้ง่าย เพราะผู้เล่นทุกคนมีโอกาสชนะหรือประสบความสำเร็จมากขึ้นได้จากการเล่นซ้ำๆ และจะได้รับรางวัลเป็นคะแนน จึงเป็นแรงเสริมให้อยากเล่นมากขึ้นเรื่อยๆ
ครอบครัวของเด็กและวัยรุ่นที่ติดเกมคอมพิวเตอร์มักเป็นครอบครัวที่ขาดการฝึกวินัยให้ลูกอย่างเหมาะสมมาตั้งแต่วัยเด็ก อาจเกิดเนื่องจากขากทักษะในการฝึกวินัย ไม่มีเวลา หรือไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงพอ ไม่สามารถติดตามพฤติกรรมของลูกได้อย่างเหมาะสม กลุ่มเพื่อนและสังคมก็เช่นกันมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของวัยรุ่นมาก เป็นแรงผลักดันอีกส่วนให้วัยรุ่นเกิดความต้องการเล่นเกมตามไปด้วยปัจจุบันสังคมมีค่านิยมสนับสนุนให้เด็กและวัยรุ่นใช้คอมพิวเตอร์ โดยยังไม่ตระหนักถึงผลเสียของเทคโนโลยีเพียงพอ และไม่ได้เตรียมเด็กและวัยรุ่นให้พร้อมสำหรับการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
เด็กและวัยรุ่นมีปัญหาซึมเศร้า รวมถึงเด็กที่ต้องการหลีกหนีการเผชิญความเครียดในด้านต่างๆ เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ติดเกมได้ง่าย เล่นเกมเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน เบนความสนใจจากปัญหาทางอารมณ์ แต่เมื่อหยุดเล่นเกม อาการดังกล่าวยังรบกวนอยู่ จึงทำให้กลับไปเล่นอีก จนใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเล่นเกมและเลือกเกมที่เป็นประโยชน์แก่ลูกได้ ควรจัดระบบการเล่นเกมตั้งแต่ต้น การเล่นเกมต้องควบคุมได้ อยู่ในสายตาพ่อแม่ ในเวลาที่กำหนด ควรกำกับให้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้อย่างจริงจัง
สำหรับที่มีปัญหาติดเกม ทางสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ก็ได้จัดทำหลักสูตรสำหรับแก้ไขปัญหาเด็กและวัยรุ่นติดเกม รวมทั้งภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กำลังเตรียมจัดค่ายสำหรับวัยรุ่นที่ติดเกมด้วยวิธีกลุ่มบำบัด เพื่อปรับพฤติกรรมให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพด้วย.
ขอบคุณที่มาข้อมูลlearners.in.th
วันที่ 14 เม.ย. 2552
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,259 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,174 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,281 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 20,035 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,403 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,847 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,689 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,611 ครั้ง |
|
|