ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ชมรมรองผอ.สพท.ภาคอีสานเสนอให้สพฐ.แบ่งโครงสร้างการบริหารส่วนราชการในภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ


ข่าวการศึกษา 17 พ.ย. 2559 เวลา 19:17 น. เปิดอ่าน : 15,741 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

ชมรมรองผอ.สพท.ภาคอีสานเสนอให้สพฐ.แบ่งโครงสร้างการบริหารส่วนราชการในภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ

ข้อเสนอ
ชมรมรองผู้อำนวยการสำนักงานพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เรื่อง เสนอให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งโครงสร้าง
การบริหารส่วนราชการในภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษา พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมาตรา 6 กำหนดให้จัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

(1) ระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
(2) ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
(3) ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญา

ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา (มาตรา 34) ดังนี้

(1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(2) สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น

แต่การดำเนินการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตั้งแต่ พ.ศ.2546 เป็นต้นมาไม่สามารถบริหารจัดการให้สำเร็จตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้ มาตรา 6 ที่กำหนดไว้ว่า“การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”โดยเฉพาะให้ด้านความรู้จากการทดสอบ O-NET (Ordinary National Educational Test) ซึ่งเป็นการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ผลปรากฏว่าการทดสอบตั้งแต่ปีการศึกษาที่ผ่านๆมานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ผ่านเกณฑ์ทุกสาระวิชาและในการทดสอบปี 2558 ก็ยังพบว่ามีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ต่ำทั้ง 5 สาระวิชา ดังนี้ วิชาภาษาไทย คะแนนเฉลี่ย 48.39 สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม เฉลี่ย 47.64 คะแนน ภาษาอังกฤษ เฉลี่ย 36.61 คะแนน คณิตศาสตร์ เฉลี่ย 41.76 คะแนน วิทยาศาสตร์ เฉลี่ย 41.55 คะแนน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในอาเซียนแล้วเราจัดอยู่ในลำดับที่ 8 จาก 10 ประเทศ มีเพียงลาวและเมียนมาร์ เท่านั้นที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นแล้วก็ตามแต่ก็ไม่สามารถให้สำเร็จลุล่วงได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก็ยังตกต่ำและยังพบปัญหาอีกหลายประการ เช่น การอ่านออกเขียนได้ เด็กออกกลางคัน เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างเต็มรูปแบบซึ่งหากเมื่อย้อนหลังไปก่อน พ.ศ.2546 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับประถมศึกษาอยู่ในระดับที่น่าพอใจไม่ตกต่ำอย่างเช่นในปัจจุบันและนักเรียนมีคุณธรรม สอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า “ความรู้คู่คุณธรรม” ด้วยดีเสมอมา นอกจากนั้นในการบริหารจัดการในเขตพื้นที่การศึกษาที่ผ่านมายังพบปัญหาการบริหารงานบุคคลซึ่งรัฐบาลก็ได้แก้ไขให้จัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขึ้นโดยให้มีการบริหารงานในรูปคณะกรรมการ เรียกว่า คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ซึ่งก็สามารถแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลได้อย่างมีธรรมาภิบาล ดังนั้น ชมรมรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงได้เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกท่านได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจึงมีความคิดเห็นตรงกันว่าในการบริหารจัดการนั้นชมรมจึงขอเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งโครงสร้างการบริหารส่วนราชการในภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอสาเหตุที่เสนอให้มีสำนักงานในระดับอำเภอด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1.หากมีการจัดตั้งสำนักงานในระดับอำเภอ จะมีหน่วยงานทางการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งอยู่ในพื้นที่ได้ใกล้ชิดกับประชาชนและทำงานเคียงคู่กับนายอำเภอและกระทรวงหลักอื่นเพื่อจะช่วยเหลือกันในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันประกอบกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในปัจจุบันตั้งอยู่ห่างไกลต้องกำกับดูแลสถานศึกษาในสังกัดประมาณกว่า 200 โรง ครอบคลุมพื้นที่ 3-5 อำเภอทำให้การนิเทศติดตามประเมินผลเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง ครูต้องเสียเวลาในการเดินทางไปติดต่อราชการกับเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งตั้งอยู่ในคนละท้องที่อำเภอทำให้ไม่มีเวลาดูแลนักเรียนและต้องสิ้นเปลืองงบประมาณอันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์การเรียนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านตามที่เป็นข่าว

2. การแบ่งเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในปัจจุบันไม่มีความสอดคล้องกับการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งแบ่งการบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอจึงทำให้ขาดการประสานงานกับส่วนราชการอื่นที่อยู่ในอำเภอเดียวกันในการระดมสรรพกำลังเพื่อพัฒนาการศึกษาหากมีปัญหาอุปสรรใดจะได้ช่วยเหลือกันในการแก้ไขปัญหาต่างๆให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีอย่างเช่นในอดีตที่ผ่านมา

3.ผู้บริหารการศึกษาในระดับอำเภอสามารถนำนโยบายทั้งของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นเอกภาพในฐานะผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการอย่างเช่น ศึกษาธิการจังหวัดและศึกษาธิการอำเภอในอดีต

ดังนั้น ชมรมจึงเห็นว่าหากได้ดำเนินการตามข้อเสนอนี้โดยให้มีการจัดตั้งหน่วยงานทางการศึกษาระดับอำเภอเพื่อให้สอดรับกับการจัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชมรมคาดว่าผลประโยชน์ที่ได้รับจะเกิดขึ้นกับนักเรียนโดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพการศึกษาก็จะได้ทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนและการบริหารจัดการก็จะเกิดธรรมาภิบาลยิ่งขึ้นต่อไป อนึ่ง ในการเสนอขอจัดตั้งหน่วยงานทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับอำเภอในฐานะที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและเป็นผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในระดับอำเภอในครั้งนี้จะไม่ผูกพันงบประมาณทั้งด้านอาคารสถานที่เนื่องจากเดิมเคยมีอาคารที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอเดิมอยู่แล้วนอกจากนั้นอาจจะขอใช้อาคารเรียนโรงเรียนขนาดเล็กที่กำลังจะยุบรวมซึ่งมีอยู่หลายโรงเรียนในด้านบุคลากรก็สามารถเกลี่ยอัตรากำลังมาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาได้อยู่แล้ว

ชมรมรองผู้อำนวยการสำนักงานพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
17 พฤศจิกายน 2559

ที่มาข้อมูลจาก ชมรมรอง ผอ.สพทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
jira.2112@gmail.com


ชมรมรองผอ.สพท.ภาคอีสานเสนอให้สพฐ.แบ่งโครงสร้างการบริหารส่วนราชการในภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 9 ราย เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 9 ราย เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567

เปิดอ่าน 4,768 ☕ 8 ต.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม"  ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม" ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
เปิดอ่าน 508 ☕ 19 พ.ย. 2567

คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
เปิดอ่าน 678 ☕ 15 พ.ย. 2567

"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 771 ☕ 15 พ.ย. 2567

ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 3,376 ☕ 13 พ.ย. 2567

ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
เปิดอ่าน 2,059 ☕ 13 พ.ย. 2567

สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
เปิดอ่าน 953 ☕ 13 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

"ราชบัณฑิตยสภา"
"ราชบัณฑิตยสภา"
เปิดอ่าน 11,874 ครั้ง

ประตูบ้าน คือ ปากแห่งโชคลาภ
ประตูบ้าน คือ ปากแห่งโชคลาภ
เปิดอ่าน 14,557 ครั้ง

12 เทคนิคกันสมองเหี่ยว
12 เทคนิคกันสมองเหี่ยว
เปิดอ่าน 13,131 ครั้ง

ระบบสุริยะจักรวาล
ระบบสุริยะจักรวาล
เปิดอ่าน 48,634 ครั้ง

Adjectives การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ ( Comparison of Adjectives )
Adjectives การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ ( Comparison of Adjectives )
เปิดอ่าน 333,762 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ