ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

รายงานพิเศษ I ยุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่ (สยามรัฐ)


ข่าวการศึกษา 8 พ.ย. 2559 เวลา 08:44 น. เปิดอ่าน : 25,144 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

รายงานพิเศษ I ยุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่ (สยามรัฐ)
 
โดย วารินทร์ พรหมคุณ
 
คลี่ยุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่ ความท้าทายภายใต้พลวัตของโลกศตวรรษที่ 21
 
ทันทีที่รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศเดินหน้าผลักดันเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งมีเป้าหมายหลักให้ประเทศไทยหลุดจากกับดักประเทศกำลังพัฒนาก้าวไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ตามอย่างประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์และมาเลเซีย 
ในมิติของ "การศึกษา" ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมียุทธศาสตร์การศึกษาชาติ อันเป็นกรอบการพัฒนาระยะยาว ที่สอดรับกับนโยบายของรัฐ ซึ่งแผนการศึกษาแห่งชาติ ที่มีสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ทำหน้าที่เป็นเสาหลัก นั้นได้วางกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของไทยไว้อย่างมีนัยสำคัญหลายประการ วันนี้ข่าวการศึกษา "สยามรัฐ" มีโอกาสพูดคุยกับ ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการ สกศ. เพื่อคลี่ยุทธศาสตร์การศึกษาของไทย ภายใต้ธรรมนูญการศึกษาฉบับใหม่ที่จะเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในปีหน้า...
 
โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญ คือเรื่องของการจัดการข้อมูลสารสนเทศ ซึ่ง ดร.กมล กล่าวว่า
 
"...การบริหารข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารการจัดการการศึกษา โดยรวมแล้วจะแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรก เป็นระบบจัดการข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารโรงเรียน แต่ละโรงเรียนจะมีข้อมูลจำนวนเด็ก จำนวนครูห้องเรียน รวมทั้งองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษา อีกส่วนหนึ่ง จะเป็นข้อมูลกลางของหน่วยงานระดับกรม หรือระดับสำนักงาน นั่นก็คือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับส่วนบริหารการศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับจำนวนโรงเรียน จำนวนครู งบประมาณทางการศึกษา
 
ข้อมูลทั้งสองส่วนนี้ ถือเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการโดยตรง เนื่องจากปัจจุบันเรายังมีจุดอ่อนในเรื่องของข้อมูลสารสนเทศของเด็ก ซึ่งไม่มีตัวเลขเด็กที่แน่นอน ขาดความชัดเจนในกรณีที่เด็กมีการเคลื่อนย้ายหรือออกกลางคัน ฉะนั้นระบบนี้จะเชื่อมโยงกับระบบข้อมูลสารสนเทศของกระทรวงมหาดไทย (มท.) จะทำให้มีรายชื่อ มีรหัสประจำตัวเด็กเป็นรายบุคคลตามเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตเราจะมีระบบข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การจัดสรรงบฯรายหัวให้กับเด็กและโรงเรียนได้ครบถ้วนและเหมาะสมยิ่งขึ้น..."
 
ดร.กมล กล่าวต่อไปว่า นอกจากข้อมูลเด็กแล้ว ก็ยังมีเรื่องสำคัญคือ ข้อมูลครู
 
"...กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีข้อมูลครูซึ่งหลายพื้นที่ขาดแคลนและในหลายพื้นที่ก็จะมีครูเกิน เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีข้อมูลครูที่ชัดเจน ทั้งการขาดแคลนในสาขาวิชาต่างๆ หรือครูเกินในพื้นที่นั้นๆ ก็สามารถทำให้เราเกลี่ยครูได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น ฉะนั้นถ้ากล่าวโดยรวมก็คือในส่วนของระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร จะเน้นไปที่ข้อมูลระดับสถานศึกษา และข้อมูลระดับหน่วยงาน ที่สำคัญก็คือการใช้ข้อมูลสารสนเทศ ก็นำไปเพื่อการจัดสรรงบฯ และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
 
ขณะเดียวกัน ก็มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสูตรการเรียนการสอน แต่เราก็ถือว่าเป็นเรื่องของระบบข้อมูลสารสนเทศเช่นเดียวกัน นั่นก็คือข้อมูลด้านองค์ความรู้ หรือข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน ก็จะมีการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อจะเอาสื่อการเรียนรู้ นำเอาซอฟต์แวร์ต่างๆ เข้ามาเพื่อที่จะจัดฐานข้อมูลเป็นรายวิชาทุกระดับชั้น เพื่อให้สถานศึกษาต่างๆ สามารถดึงข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้ เพราะฉะนั้นเชื่อว่าโดยภาพรวมถ้ากระทรวงฯ มีการจัดสรรข้อมูล มีกระบวนการจัดการที่เหมาะสม จะทำให้ระบบการศึกษามีคุณภาพการบริหารการจัดการมีประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายซึ่งมีความซ้ำซ้อนหลายส่วนออกไป..."
 
และตามที่ เลขาธิการ สกศ. กล่าวมานี้จะเห็นว่าธรรมนูญการศึกษาฉบับปี 2560 ยังเน้นในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการในสถานศึกษาไปพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะการจัดการปัญหาในเรื่องของโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งมีอยู่จำนวนมากในระบบการศึกษาของไทย ซึ่ง ดร.กมล ได้พูดถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวว่า
 
"...ประเด็นสำคัญคือทำอย่างไร เราจะบริหารสถานการศึกษาให้เป็นที่น่าเรียน มีคุณภาพสูง และตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง ตรงนี้ระบบสำคัญที่เราจะนำมาใช้ คือระบบการโซนนิ่งสถานศึกษาปัจจุบันนี้เรามีโรงเรียนประมาณ 30,000 โรงเรียน เป็นโรงเรียนขนาดเล็กเกือบครึ่งหนึ่ง ก็คือหลัก 10,000 โรงเรียน ในอดีตถือว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมเ พราะว่าเราจำเป็นจะต้องตั้งโรงเรียนเพื่อให้เด็กๆ ในพื้นที่ต่างๆ ได้มีโอกาสเข้าสู่สถานศึกษา แต่วันนี้การคมนาคมไปมาง่ายขึ้น เด็กๆ ก็มีจำนวนน้อยลงเพราะการเกิดของประชากรมีน้อย เรามีโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมาก ส่งผลให้สูญเสียงบประมาณไป 20-30% ในเรื่องของการต้องดูแลโรงเรียนขนาดเล็กรวมทั้งต้องดูแลครูผู้บริหาร ที่ต้องอยู่ประจำโรงเรียนเหล่านี้
 
...การทำให้มีโรงเรียนแม่เหล็ก ซึ่งเราเรียกว่า magnet school หรือโรงเรียนที่มีคุณภาพสูง เมื่อโรงเรียนขนาดเล็กรอบๆ ปิดตัวลง หรือเรียนแค่บางวัน ที่เหลือเด็กๆ เข้ามาเรียนโรงเรียนหลักที่มีการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพมากขึ้น ตรงนี้ ศธ.ได้มีการกำหนดให้เป็นโรงเรียนเกรด A-B-C นั่นก็คือโรงเรียนเกรด C คือโรงเรียนขนาดเล็กโรงเรียนที่มีผู้เรียนน้อย การสนับสนุนก็จะมีให้น้อยลง โดยพยายามดึงเด็กมาอยู่โรงเรียนเกรด B ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนประจำตำบล ประจำอำเภอแล้วในที่สุดก็มาพัฒนาเป็นโรงเรียนเกรด A คือโรงเรียนประจำจังหวัด หรือประจำอำเภอใหญ่ๆ ตรงนี้จุดเน้นสำคัญก็คือ เรื่องของคุณภาพทางการศึกษานั่นเอง
 
ดร.กมล อธิบายต่อถึงประเด็นที่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง ก็คือ การมีกรรมการสถานศึกษาเข้าไปดูแล และมีกลุ่มประชาสังคม จะมีส่วนสนับสนุนเพื่อทำให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพราะฉะนั้นเมื่อเราพูดเรื่องการบริหารการจัดการสถานศึกษา คงไม่ได้หมายความแต่เชิงบริหารอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงการพัฒนาภูมิทัศน์ของโรงเรียน การดูแลเรื่องอาคารสถานที่ การทำให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อนักเรียนจะได้มีโอกาสเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ชุมชนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนในการใช้บริการสถานศึกษาด้วย
 
อีกประเด็นที่กำลังตื่นตัวกันอย่างมาก คือเรื่องของการกระจายอำนาจไปยังสถานศึกษา เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนของตนเองขึ้นมา โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของ คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด หรือ กศจ. ซึ่งการกระจายอำนาจเพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา เป็นเรื่องที่ต้องถือว่าสำคัญมากเพราะการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ เราจะเริ่มที่โรงเรียน ฉะนั้นโรงเรียนในอนาคตจะมีรูปแบบที่หลากหลายไม่ได้เป็นโรงเรียนที่สอนเฉพาะวิชาสามัญอย่างเดียว แต่อาจจะสอนวิชาสามัญควบคู่กับวิชาชีพในสายอาชีวศึกษา หรือเป็นโรงเรียนสามัญซึ่งมีลักษณะพิเศษ เช่น โรงเรียนดนตรี โรงเรียนกีฬา โรงเรียนที่เน้นด้านศิลปะ เราอาจจะเห็นโรงเรียนที่เปิดสอนอิงลิชโปรแกรม หรือโรงเรียนสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
 
โดยสรุปก็คือ โรงเรียนในอนาคตจะต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาสถานศึกษา เราจะไม่ตัดเสื้อตัวเดียวให้คนใส่ทั้งประเทศ แต่จะมีการตัดเสื้อเป็นรายบุคคล ไม่ได้เป็นการตัดเสื้อโหล ตรงนี้ก็เพื่อจะตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ความต้องการของเด็กๆ นวัตกรรมเหล่านี้มีหลากหลายและก็มีหลายโครงการที่ดำเนินการอยู่แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ 
 
จากสถานศึกษาซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด ที่เด็กสัมผัสโดยตรง หน่วยงานที่สูงขึ้นมาก็คือระดับเขตพื้นที่การศึกษา หรือระดับจังหวัด สูงขึ้นมาอีกก็คือระดับกระทรวง ในรูปแบบการบริหารจัดการใหม่ เราพยายามกระจายอำนาจจากกระทรวงไปสู่สถานศึกษาให้มากที่สุด นั่นก็คือโครงสร้าง ศธ.จะมีขนาดเล็กลง มีการดำเนินงานเฉพาะเรื่องของการกำหนดนโยบาย และแผนการจัดสรรงบฯ ดูแลระบบบุคลากรโดยภาพรวม จากนั้นก็จะยกให้ระดับจังหวัดดูแล ซึ่งเป็นหน่วยงานตรงกลาง อยู่ระหว่าง ศธ.และสถานศึกษา
 
"...วันนี้ ศธ.ได้จัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ขึ้นซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของการจัดการแทนที่จะให้เขตพื้นที่การศึกษาดูแลโรงเรียน ให้อาชีวะดูแลอาชีวะ ให้มหาวิทยาลัยดูแลมหาวิทยาลัย ให้ กศน.ดูแล กศน. กระจัดกระจายกัน ก็จะมีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เป็นผู้ดูแลเป็นหน่วยงานกลางในระดับจังหวัด ซึ่งเมื่อมีหน่วยงานกลางระดับจังหวัดแล้ว จะทำให้ทิศทางการพัฒนาเป็นรายจังหวัด คือจะมีการกำหนดแผน กำหนดเป้าหมาย มีการยกระดับคุณภาพการศึกษาของแต่ละจังหวัด รวมไปถึงจังหวัดไหนมีปัญหาเรื่องอะไร ก็จะมีการแก้ปัญหาเป็นเรื่องๆ ไป จะส่งผลให้การจัดสรรงบฯ ทำได้ตรงกับการกำหนดทิศทางของแผนการจัดสรรบุคลากร หรือการเกลี่ยบุคลากรที่จะมาทำงานตรงกับความจำเป็นที่เกิดขึ้น..." ดร.กมล กล่าวชี้แจง 
 
นอกจากนี้ตามแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ยังได้พูดถึงการสร้างกระบวนการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมหรือประชารัฐ ซึ่ง ดร.กมล กล่าวว่า...
"โครงการประชารัฐ เป็นโครงการกำหนดความร่วมมือ โดยขณะนี้รัฐบาลได้มีการทำ MOU ระหว่างสถานศึกษาของรัฐบาล เช่น การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษาและอุดมศึกษากับภาคเอกชน คือ บริษัท หรือธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ประสบความสำเร็จที่จะเข้ามาช่วยพัฒนา ซึ่งในส่วนของการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งยกระดับคุณภาพ ส่วนของอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา มุ่งผลิตกำลังคนเพื่อให้ตรงกับความต้องการของภาครัฐและตรงกับความต้องการ ของภาคเอกชน นั่นก็คือเมื่อเด็กจบไปแล้วสามารถที่จะไปทำงานได้ ทั้ง 2 ส่วน แต่ว่าในภาคประชาสังคมเอง เรารวมถึงองค์กรท้องถิ่นต่างๆ พ่อแม่ ผู้ปกครอง สมาคม ชมรมต่างๆ ที่อยากเห็นเราผลิตคนดีออกไปสู่สังคม 
 
...ฉะนั้น ภาคประชาสังคม เองก็จะเข้ามามีส่วนร่วมในมิติของการสนับสนุน เช่น องค์กรท้องถิ่น อาจสนับสนุนอุปกรณ์ สนับสนุนครูสำหรับมาช่วยเหลือสถานศึกษา หรือส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถพิเศษ เช่น ความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรม การเล่นดนตรีพื้นเมืองละครฟ้อนรำต่างๆ รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้ในสิ่งที่เราเรียกว่าเป็นศิลปวัฒนธรรมประจำถิ่นของตนเอง เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เด็กจะต้องธำรงรักษาไว้ กระบวนการทั้งหมดจึงเป็นกระบวนการที่เป็นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม แต่ว่าประชารัฐก็จะเป็นโครงการพิเศษซึ่งกระทรวงได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นต้นแบบและนำไปสู่การขยายผลในอนาคตด้วย..."
 
นี่คือภาพคร่าวๆ ของธรรมนูญการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ที่จะเริ่มใช้ในปี 25560 ซึ่งยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกมาก...โดยสามารถติดตามได้ต่อในฉบับวันพรุ่งนี้
 
 
ขอบคุณที่มาจาก สยามรัฐ วันที่ 7 พ.ย.2559
 
คลิกอ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 


รายงานพิเศษ I ยุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่ (สยามรัฐ)ยุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่ยุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติกมล รอดคล้าย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ

แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ

เปิดอ่าน 3,407 ☕ 17 ต.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม"  ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม" ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
เปิดอ่าน 508 ☕ 19 พ.ย. 2567

คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
เปิดอ่าน 678 ☕ 15 พ.ย. 2567

"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 771 ☕ 15 พ.ย. 2567

ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 3,376 ☕ 13 พ.ย. 2567

ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
เปิดอ่าน 2,059 ☕ 13 พ.ย. 2567

สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
เปิดอ่าน 953 ☕ 13 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ต้นสัตบรรณ - ต้นตีนเป็ด
ต้นสัตบรรณ - ต้นตีนเป็ด
เปิดอ่าน 36,898 ครั้ง

กูเกิล เผยอันดับคำค้นสุดฮิตของไทย ประจำปี 2013
กูเกิล เผยอันดับคำค้นสุดฮิตของไทย ประจำปี 2013
เปิดอ่าน 13,464 ครั้ง

คลิปโครงการ "ลดพุงลดโรค 90 วินาที" โดย สสส. ที่กำลังฮิตสุดๆ ในขณะนี้
คลิปโครงการ "ลดพุงลดโรค 90 วินาที" โดย สสส. ที่กำลังฮิตสุดๆ ในขณะนี้
เปิดอ่าน 23,745 ครั้ง

สอนออนไลน์ง่ายขึ้นด้วยโปรแกรม ClassPoint บน PowerPoint
สอนออนไลน์ง่ายขึ้นด้วยโปรแกรม ClassPoint บน PowerPoint
เปิดอ่าน 25,840 ครั้ง

แรงบันดาลใจ ถ่ายรูปให้ลูกมุมเดิม 14 ปี ตั้งแต่เด็กจนโต ชมคลิป
แรงบันดาลใจ ถ่ายรูปให้ลูกมุมเดิม 14 ปี ตั้งแต่เด็กจนโต ชมคลิป
เปิดอ่าน 20,577 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ