ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สสค.-นักวิชาการ ชี้รัฐ (ต้อง) สร้าง “ห้องเรียน 4.0” คิดสร้างสรรค์ มีทักษะ ทำงานเป็นทีม ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รู้แยกแยะ –จี้รัฐยกเลิกโอเน็ต หากมุ่งเป้าพัฒนาปร


ข่าวการศึกษา 1 พ.ย. 2559 เวลา 10:09 น. เปิดอ่าน : 37,159 ครั้ง
Advertisement

สสค.-นักวิชาการ ชี้รัฐ (ต้อง) สร้าง “ห้องเรียน 4.0” คิดสร้างสรรค์ มีทักษะ ทำงานเป็นทีม ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รู้แยกแยะ –จี้รัฐยกเลิกโอเน็ต หากมุ่งเป้าพัฒนาปร

Advertisement

สสค.-นักวิชาการ ชี้รัฐ (ต้อง) สร้าง “ห้องเรียน 4.0” คิดสร้างสรรค์ มีทักษะ ทำงานเป็นทีม ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รู้แยกแยะ –จี้รัฐยกเลิกโอเน็ต หากมุ่งเป้าพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0
 
ดร. วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ นักวิชาการ ผู้วิจัยและพัฒนา  Creativity-based Learning ให้สัมภาษณ์ถึแนวคิดการสร้าง ‘ห้องเรียน 4.0’ = ทาง(ต้อง)เลือกเพื่อเดินหน้าประเทศไทย เพื่อการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาไทย ให้สอดรับกับเป้าหมายของประเทศไทยในการเดินหน้าเข้าสู่ยุค Industry 4.0 และ Thailand 4.0 เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจให้ประสบความสำเร็จ โดยการพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
 
ดร. วิริยะ กล่าวถึงแนวความคิดเกี่ยวกับห้องเรียน 4.0 ว่า ได้หารือกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ในฐานะเป็นหน่วยส่งเสริมและสนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป้าหมายในการปฏิรูปการศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งเดิมได้กำหนดจัดจัดปาฐกถา เรื่อง “ห้องเรียน 4.0” = ทาง(ต้อง)เลือก เพื่อเดินหน้าประเทศไทย ในวันที่ 19 ตุลาคม 2559 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 21 แต่ได้ยกเลิกการจัดกิจกรรมดังกล่าวไป เพื่อแสดงความอาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ดังนั้น เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาของประเทศ แนวความคิด “ห้องเรียน 4.0” คือห้องเรียนที่จะสร้างให้เด็กก้าวสู่ Thailand 4.0 โดยจะมุ่งให้เด็กและเยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะในศตวรรษที่ 21 สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม มีทักษะของการเรียนรู้ คิดวิเคราะห์ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รู้จักแยกแยะข้อมูล ซึ่งห้องเรียนที่กล่าวมานี้ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน ถ้ายังสอนและวัดผลด้วยการให้นักเรียนท่องจำหรือลอกจากตำรา ฉะนั้น สิ่งที่ต้องการทั้งทักษะการคิด การเรียนรู้และทักษะการทำงาน จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าครูสอนแบบเดิม วัดผลเหมือนเดิม การสอบเข้ามหาวิทยาลัยเหมือนเดิม ที่สำคัญควรยกเลิกการนำการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานคะแนน (O-NET) มาใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ไม่เช่นนั้นไทยแลนด์ 4.0 ก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง 
 
ทั้งนี้ สอดคล้องกับผลการสำรวจความต้องการแรงงานของนายจ้างและองค์กรเกิดใหม่ในปี 2557 ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) พบว่านายจ้างขององค์กรในศตวรรษที่ 21 คาดหวังให้พนักงานในองค์กรมีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) มากที่สุด นอกจากนี้ ผลการสำรวจของ McKinsey พบว่าภาคธุรกิจกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนผู้ที่มีทักษะต่างๆ ในการทำงาน รวมทั้งเยาวชนถึงร้อยละ 79 มีความรู้สึกว่าไม่ได้ถูกเตรียมความพร้อมในการทำงานภายหลังจบการศึกษา  
 
ดร. วิริยะ กล่าวต่อว่า ห้องเรียน 4.0 เริ่มสร้างได้ทันที่ที่พร้อม โดยเฉพาะประชาชนคือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องเป็นคนเริ่มก่อน ด้วยการสร้างแรงผลักดัน ฉายภาพชีวิตของลูกให้เห็นว่าเรียนรู้อะไร ฝึกอย่างไร จบมาจะเป็นอะไร ไม่ใช่เริ่มจากคำสั่ง อย่าให้โรงเรียนกลายเป็นที่ทำลายเด็กเสียเวลาไปกับเรื่องที่ไม่เกิดประโยชน์กับชีวิตและสังคมของเด็กเลย ถือเป็นความหายนะที่ร้ายแรงที่สุด โดยเด็กและเยาวชนควรเติบโตในโลกยุคปัจจุบัน ที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว ทุกคนสามารถสื่อสารผ่านเทคโนโลยี โทรทัศน์ วิทยุ ถ่ายทอดสดได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถทำมาหากิน เขียนโปรแกรมได้ตั้งแต่อายุยังน้อย มีแหล่งเรียนรู้มากมายทั่วโลก ทางเลือกนั้นมีหลากหลาย ขอแต่เด็กมีเป้าหมายที่ชัดเจน แต่ปัญหาอย่างเดียวคือระบบการการศึกษาได้สกัดสิ่งเหล่านี้ให้หมดไป 
 
“จึงอยากฝากคำถามดังๆ ไปทั่วประเทศ ตกลงเด็กเรียนเพื่อใคร เมื่อโรงเรียนไปตัดสินว่าเด็กโง่ โดยใช้ความจำ เนื้อหาที่ไม่เกี่ยวกับชีวิตเด็ก เอาเกรดมาตัดสิน ดังนั้น ถ้าจะวัดความสำเร็จของโรงเรียนต้องวัดว่า เด็กเรียนแล้วมีความสุข วันนี้เด็กยิ้มกี่ครั้ง หัวเราะกี่ครั้ง ได้กระโดด ได้วิ่งไหม อย่าวัดว่าเด็กจดจำอะไรได้เท่าไร พร้อมทั้งต้องเปลี่ยนการแข่งขันของโรงเรียนและเด็ก จากเดิมการได้ที่หนึ่งเกิดจากการแข่งขันชนะ แต่การได้ที่หนึ่งจากนี้และอนาคต ต้องวัดที่การแบ่งปันและสร้างสรรค์คนที่มีคุณงามความดีออกมา เพราะการศึกษาคือการพัฒนาคนให้มีคุณค่า วันนี้ การที่ยังเปลี่ยนห้องเรียนไม่ได้เพราะยังคงวัดผลโอเน็ต เด็กยังกวดวิชา ผู้ปกครองวัดความสำเร็จของลูกด้วยการสอบเข้ามหาลัยได้ จึงต่างคนต่างโทษกัน ผลร้ายปรากฏอยู่กับตัวเด็ก ซึ่งเด็กไม่รู้ว่าถ้าไม่ต้องแย่งกันสอบเข้าเด็กจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ง่ายกว่า”  ดร. วิริยะ กล่าว
 
ดร. วิริยะ กล่าวย้ำอีกว่า ถ้าจะทำห้องเรียน 4.0 หรือไทยแลนด์ 4.0 ต้องทำจากการเปลี่ยนห้องเรียน ให้สร้างคนที่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงนี้ เพราะต่อจากนี้ จะเป็นยุคของความรู้ (Knowledge) ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่รวดเร็วและสะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งไม่มีใครได้เปรียบใคร เรื่องของความคิด โดยเฉพาะความคิดสร้างสรรค์เท่านั้นที่จะทำให้เกิดคุณค่าเพิ่มจากทรัพยากรเดิมที่มีอยู่ ฉะนั้น การเรียนการสอนต้องสร้างคนที่คิด ครูจะสอนอย่างไรให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ ที่สำคัญที่สุดถ้าคนมีความคิดสร้างสรรค์แล้ว จะไม่มีคนตีกันด้วยความคิดเห็นที่แตกต่างกันแต่จะเป็นการทะเลาะ เถียงกัน เพื่อช่วยกันหาข้อแตกต่าง ไม่ใช่การหาพวกที่เห็นตรงกัน เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องส่วนตัว ส่วนบุคคล เพราะเมื่อไรก็ตามที่คนมีความคิดสร้างสรรค์แล้ว บ้านเมืองก็จะน่าอยู่ การออกแบบองค์กร ความคิดของคนก็จะเปลี่ยนไป
 
 
 

 


สสค.-นักวิชาการ ชี้รัฐ (ต้อง) สร้าง “ห้องเรียน 4.0” คิดสร้างสรรค์ มีทักษะ ทำงานเป็นทีม ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รู้แยกแยะ –จี้รัฐยกเลิกโอเน็ต หากมุ่งเป้าพัฒนาปรสสค.-นักวิชาการชี้รัฐ(ต้อง)สร้าง“ห้องเรียน4.0”คิดสร้างสรรค์มีทักษะทำงานเป็นทีมใฝ่รู้ใฝ่เรียนรู้แยกแยะ–จี้รัฐยกเลิกโอเน็ตหากมุ่งเป้าพัฒนาปร

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569

เปิดอ่าน 367 ☕ 22 พ.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
เปิดอ่าน 367 ☕ 22 พ.ย. 2567

ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 325 ☕ 22 พ.ย. 2567

สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม"  ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม" ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
เปิดอ่าน 537 ☕ 19 พ.ย. 2567

คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
เปิดอ่าน 709 ☕ 15 พ.ย. 2567

"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 814 ☕ 15 พ.ย. 2567

ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 3,440 ☕ 13 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย (Internet research cycle)
วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย (Internet research cycle)
เปิดอ่าน 22,594 ครั้ง

เปลือกผลไม้ ไม่ไร้ค่า
เปลือกผลไม้ ไม่ไร้ค่า
เปิดอ่าน 21,940 ครั้ง

เคล็ดลับ 13 ประการ เพื่อการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
เคล็ดลับ 13 ประการ เพื่อการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
เปิดอ่าน 13,089 ครั้ง

เตือนภัย "ถ่ายเป็นเลือด" ระวังโรคแฝง...ร้ายแรงถึงชีวิต!!
เตือนภัย "ถ่ายเป็นเลือด" ระวังโรคแฝง...ร้ายแรงถึงชีวิต!!
เปิดอ่าน 122,516 ครั้ง

เปิดม่านการศึกษา : 2 พ.ค. 59 : โดย...ครูแจ่ม
เปิดม่านการศึกษา : 2 พ.ค. 59 : โดย...ครูแจ่ม
เปิดอ่าน 10,142 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ