ROAD MAP ปฏิรูปการศึกษา & พัฒนาศึกษานิเทศก์ "สูตรเสธเอี่ยว"
โดย นายกิตติ ทวยภา ศึกษานิเทศก์ สพป.มค.1
หลังจากที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ได้ใช้ ม.44 ปฏิรูปการศึกษา ภายใต้การนำำของ “พล.เอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ” รมว.ศึกษาฯได้เปลี่ยนการบริหารระดับภูมิภาค
หลังจากที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ได้ใช้ ม.44 ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 การปฏิรูปการศึกษา โดยการนำของ “พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) ได้ขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ มีการปรับเปลี่ยนการบริหารงานบุคคลในระดับภูมิภาค โดยได้ยุบบอร์ด อ.ก.ค.ศ. และกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และมีคำสั่งแต่งตั้งบอร์ดการบริหารจัดการใหม่ คือ กศจ. เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายส่งผลต่อตัวผู้เรียน ให้เป็นคน เก่ง ดี มีสุข อยู่ในสังคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี และก้าวทันโลกในศตวรรษที่ 21
ในการขับเคลื่อนในการดำเนินงานตามนโยบายครั้งนี้ “รมว.ศธ.”ได้มอบหมายให้ "เสธเอี่ยว-พลตรีณัฐพงษ์ เพราแก้ว” เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ “เป็นแม่ทัพภาคสนามเพื่อขับเคลื่อนการจัดการศึกษา ตาม 11 Road map” ที่สำคัญอาทิ
1.ให้เด็กทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกันโรงเรียนมีคุณภาพเดียวกัน คนยากจน คนรวย เข้าถึงการศึกษาได้ทุกระดับเหมือนกัน โดยใช้วิธีพัฒนาการเรียน การสอนแบบสะเต็มศึกษา(STEM)
2.ส่งเสริมให้ครูใช้ศักยภาพเต็มที่ เช่นมีครูสอนตรงตามกลุ่มสาระ มีสื่อในการจัดการเรียน การสอน 3.เกลี่ยครูให้ครบเกณฑ์ ทุกโรงเรียน ครบชั้นเรียน และมีอินเตอร์เน็ตครบทุกห้องและใช้สื่อ DLTV
4.ส่งเสริมให้เด็กท่องจำน้อยลง เน้นฝึกการคิดวิเคราะห์ เช่น ห้องเรียนThinking skills
5.ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอน STEM ศึกษาครบทุกโรงเรียนโดยใช้ศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics)
6.ยกระดับภาษาอังกฤษให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้
7.ปรับระบบการสอบ O-NET ให้เป็นที่ยอมรับและสะท้อนถึงคุณภาพของการจัดการศึกษา มีTest blue print และเฉลยข้อสอบหลังจากการสอบ เพื่อให้เกิดความกระจ่างให้กับนักเรียนและสังคม
8.ผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ เช่นการสร้างค่านิยมในการเรียนอาชีวะ ระบบทวิภาคีโครงการประชารัฐ และการขอร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนาผู้เรียน นิสิต นักศึกษา
9.ผลิตคนดีออกสู่สังคม โดยกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี รักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
10. ซ่อมแซมบ้านพักครูให้แล้วเสร็จเพื่อใช้เป็นที่พักอาศรัย ช่วยครูประหยัดเวลา และเงินในการเดินทาง
11.การแก้ปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบ เช่น การแก้ปัญหาหนี้สินครู เป็นต้น
จาก Road map ที่“เลขานุการ รมว.ศธ.” ได้นำเสนอที่ประชุมศึกษานิเทศก์ ทั้ง 4 ภูมิภาค ได้รับการตอบรับจากศึกษานิเทศก์ทั่วประเทศเป็นอย่างดียิ่ง เมื่อ“รมว.ศธ.”ได้ให้ความสำคัญกับศึกษานิเทศในการที่จะขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จตามความต้องการของสังคม ซึ่งศึกษานิเทศก์เปรียบเสมือน “ทหารเอกในภาคสนามที่จะรับภารกิจประสานนโยบายเบื้องบนสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาทุกระดับ” ให้ลุล่วงด้วยดี นโยบายที่ดำเนินงานที่ผ่านมาสำเร็จตามวัตถุประสงค์เป้าหมายด้วยดี อาทิ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้,สื่อDLTV,โครงการประชารัฐ,การคิดเลขในใจ,STEMศึกษา เป็นต้น ในการดำเนินงานได้รับการสนับสนุนจาก รมว.ศธ.และเลาขานุการ รมว.ศธ.เป็นอย่างดี
ในช่วงเปลี่ยนผ่านการปฏิรูปการศึกษา ทั้งทางด้านโครงสร้างและด้านวิชาการ ด้านบุคคล มีประเด็นปัญหาหลายอย่างที่ต้องนำเสนอ สังคมและศธ.เพื่อโปรดพิจารณา เพื่อให้การปฏิบัติงานในพื้นที่ส่งผลต่อการปฏิรูปการศึกษา และสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้ที่ทำงานในพื้นที่ มีขวัญ กำลังใจ และทิศทางที่ดีในการทำงาน โดย“สมาพันธ์ศึกษานิเทศก์แห่งประเทศไทยและสมาคมศึกษานิเทศก์ภาคอีสาน” ได้นำเรียนต่อ“รมว.ศธ.” ดังนี้
1.ประเด็นปัญหา ตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษา พศ.2547และแก้ไขเพิ่มเติม ในมาตรา 38 ค(1)(2) ซึ่ง(1)หมายถึงศึกษานิเทศก์(2)หมายถึงบุคลากรอื่นทางการศึกษา เห็นควรจะต้องมีการแก้กฎหมายนี้เพราะทั้ง
2 กลุ่มไม่มีความเสมอภาค หลายด้าน เช่น การเลือกผู้แทน ใน ก.ค.ศ. การเสนอขอรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย และเงินค่าวิทยฐานะ 2.เพื่อให้เกิดความเสมอภาคของบุคลากรทุกฝ่าย ในด้านความก้าวหน้าและสวัสดิการ จึงเสนอให้มีการแก้ พ.ร.บ.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พศ.2547 และแก้ไขเพิ่มเติมใน มาตรา 38 ค แยกดังนี้ มาตรา38 ก (ครู) มาตรา 38 ข(ผู้บริหาร) มาตรา 38 ค(ศึกษานิเทศก์) มาตรา38 ง(บุคลากรอื่นทางการศึกษา)
3.กำหนดมาตรฐานวิชาชีพศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พศ.2556 ข้อ 9 (ข) (1) กำหนดให้ศึกษานิเทศก์ต้องมีประสบการณ์ 10 ปี โดยกำหนดให้เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ไม่ระบุวิชาเอก ส่วนเขตมัธยมศึกษา ระบุวิชาเอก ทั้งนี้ให้คณะกรรมการกศจ.เป็นผู้สรรหาคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่ง เพื่อให้ตรงกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่น
4.ความก้าวหน้าและความเป็นเอกภาพของศึกษานิเทศก์ สามารถสอบ ย้าย โอน สู่ตำแหน่งใหม่ได้ เช่น ผอ.โรงเรียน รอง ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ฯลฯ 5.โครงสร้างศึกษานิเทศก์ ปัจจุบันในส่วนกลางไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ทำให้ ไม่มีหัว มีแต่ ตัว แขน ส่วนขา มีไว้สำหรับเดินตามคำสั่งของสำนักต่างๆ ใน สพฐ.ให้ศึกษานิเทศก์ต้องออกไปประเมิน KPI ที่โรงเรียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการนำเอาครูออกห้องเรียน เพราะต้องมารอรับและเตรียมการประเมิน ทำให้ศึกษานิเทศก์ไม่สามารถทำหน้าที่นิเทศช่วยเหลือข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษาได้เต็ม ความรู้ ความสามารถ
จาก Road map ของศธ. โดย “รมว.ศธ.” ได้กำหนดแนวทางในขับเคลื่อนผ่านหน่วยงานองค์กรต่างๆ รวมทั้ง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหาร และ ศึกษานิเทศก์ ในการที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเสมอภาค ด้านการเข้าถึงการศึกษา ด้านคุณภาพ ด้านความเท่าเทียม และด้านประสิทธิภาพ “พลตรีณัฐพงษ์ เพราแก้ว” เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้รับบัญชา จาก“รมว.ศธ.”ให้ เป็นแม่ทัพภาคสนามในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาได้เดินเครื่องอย่างเต็มที่ ส่วนผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้นตามที่สังคมไทยคาดหวังหรือไม่ อยู่ที่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศที่จะต้องให้ความร่วมมือและรับผิดชอบร่วมกัน
ขอบคุณที่มาจาก คม ชัด ลึก วันที่ 21 กันยายน 2559