ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ผ่าแนวคิด "เอ็นทรานซ์" 4.0 ผสาน "เอ็นทรานซ์ - แอดมิชชัน"


ข่าวการศึกษา 30 ส.ค. 2559 เวลา 11:41 น. เปิดอ่าน : 8,383 ครั้ง
Advertisement

ผ่าแนวคิด "เอ็นทรานซ์" 4.0 ผสาน "เอ็นทรานซ์ - แอดมิชชัน"

Advertisement

กระทรวงศึกษาธิการมีแนวคิดกลับไปใช้ระบบคล้ายกับการเอ็นทรานซ์ อีกครั้ง โดยเรียกว่า การเอ็นทรานซ์ 4.0 โดยนักเรียนอยู่ชั้น ม.5 ในขณะนี้จะเป็นรุ่นแรกของระบบเอ็นทรานซ์ 4.0

การปรับรูปแบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ หรือแอดมิชชัน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในขณะนี้จะเป็นรุ่นแรกที่ต้องผ่านการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยด้วยวิธีใหม่ในปีการศึกษา 2561 โดยเปลี่ยนจากระบบแอดมิชชัน เป็น ระบบที่อาจถูกเรียกว่า "เอ็นทรานซ์ 4.0" ซึ่งเป็นการสอบเพียงครั้งเดียวแล้วนำคะแนนไปเลือกคณะ 4 อันดับ โดยเลือกได้ 2 รอบ และมหาวิทยาลัยจะไม่มีการสอบรับตรง คือ ข้อมูลเท่าที่นักเรียนกลุ่มนี้พอจะทราบ แม้จะกังวลกับการเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง แต่หลายคนเชื่อว่า น่าจะมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย

นายธนนท์ ภู่ชัย นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี กล่าวว่า "การสอบเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่มีข้อดีคือ เราจะรู้คะแนนก่อน แล้วจะเอาไปยื่นว่าเราจะเลือกคณะไหนโดยเลือกได้ 4 คณะ คือ พอเรารู้แล้วก็จะมีโอกาสเราก็เลือกซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับตัวเรา "

ด้าน น.ส.ภัทรปภา แสงทอง นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ระบุ "ถ้าเป็นการสอบรูปแบบแบบเก่าต้องมากังวลว่าต้องไปสอบวันไหนบ้าง มานั่งอ่านหนังสือไปด้วยเรียนไปด้วยก็ปวดหัว "

ขณะที่ นายเดชพลเดช ดวงทิพย์ นักเรียนชั้น ม.5 ร.ร.สุรศักดิ์มนตรี "ความสบายใจก็สู้ระบบแอดมิดชันไม่ได้ เพราะว่าสอบได้แค่ครั้งเดียว แต่แอดมิดชันมีแยกแบบสอบตรง สอบตรงสบายใจก่อน แต่นี่ต้องมาเครียดกว่า"

ระบบ "เอ็นทรานซ์ 4.0" คือการผสมกันระหว่างเอ็นทรานซ์แบบเดิม กับ แอดมิชชัน ที่ใช้มาแล้ว 10 ปีเต็ม รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อธิบายว่า ระบบใหม่ นักเรียนต้องจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เท่านั้นเพื่อหวังแก้ปัญหาการสมัครสอบตรงและวิ่งรอกสนามสอบ ก่อนหน้านี้นักเรียนส่วนใหญ่จะสมัครสอบตั้งแต่ชั้น ม.5 เมื่อสอบติดเข้าสถาบันอุดมศึกษา ก็จะทิ้งการเรียนในชั้น ม.6

การจัดสอบระบบใหม่ยังคงสอบโอเน็ต เก็ต แพ็ท และวิชาบังคับ 9 วิชาไว้เหมือนเดิม แต่จัดสอบเพียงครั้งเดียวผ่านระบบกลางทั้งประเทศ ในช่วงเดือน มี.ค. โดยไม่อนุญาตให้มหาวิทยาลัยเปิดสอบด้วยตัวเองแต่สามารถกำหนดสัดส่วนคะแนนและกติกาการรับได้ เมื่อประกาศผลการสอบนักเรียนจะนำคะแนนที่ได้เทียบกับสัดส่วนของแต่ละคณะ เพื่อใช้เลือกคณะที่ต้องการและคิดว่ามีโอกาส 4 อันดับ หากพลาดโอกาสรอบแรก นักเรียนสามารถเลือกใหม่ได้อีก 4 อันดับ ในรอบที่ 2

"บางคนบอกสมัครแล้วมันพลาดทำยังไง หากพลาดมีโอกาสที่ 2 เนื่องจากหากมหาวิทยาลัย 4 แห่ง เลือกนักเรียนคนเดียวกัน โดยนักเรียนเลือก 1 มหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยอีก 3 แห่งจะเป็นช่องว่างในรอบที่ 1 โดยให้เป็นช่องว่างเพื่อที่จะเป็นรอบที่ 2 ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนที่เก่งน้อยกว่าจะมีสิทธิในการเลือกรอบที่ 2 โดยนักเรียนที่เก่งจะสอบติดไปหมดแล้ว ซึ่งนักเรียนที่สอบในรอบที่ 2 ก็จะมีโอกาสติดมหาวิทยาลัยที่ดีเหมือนกัน " ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระบุ

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ยอมรับว่า ระบบใหม่อาจไม่ช่วยแก้ปัญหากวดวิชาแต่ก็เชื่อว่าจะช่วยลดภาระการสอบและลดค่าใช้จ่าย ซึ่งทั้งระบบอาจเสียค่าใช้จ่ายเพียงไม่เกิน 2,000 บาทเท่านั้น เพราะนักเรียนจะทราบแนวทางล่วงหน้าว่า คณะที่ตนเองต้องการสมัคร เน้นสัดส่วนคะแนนใดเป็นหลัก จึงอาจไม่ต้องสอบในวิชาที่ไม่จำเป็น โดยสัดส่วนที่ว่านี้ กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดให้มหาวิทยาลัยต้องจัดทำเป็นคู่มือระบุสัดส่วนการรับของแต่ละคณะ ให้เสร็จภายในเดือน เม.ย.ปี 2560 เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา เตรียมพร้อมเป็นเวลา 1 ปี ก่อนจะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2561


ชมคลิปข่าว
 

ขอบคุณที่มาภาพ เนื้อหาและคลิปจาก ThaiPBS วันที่ 29 สิงหาคม 2559

 


ผ่าแนวคิด "เอ็นทรานซ์" 4.0 ผสาน "เอ็นทรานซ์ - แอดมิชชัน"ผ่าแนวคิดเอ็นทรานซ์4.0ผสานเอ็นทรานซ์-แอดมิชชัน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2567

การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2567

เปิดอ่าน 3,116 ☕ 5 พ.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569
เปิดอ่าน 697 ☕ 22 พ.ย. 2567

ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 480 ☕ 22 พ.ย. 2567

สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม"  ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม" ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
เปิดอ่าน 559 ☕ 19 พ.ย. 2567

คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
เปิดอ่าน 723 ☕ 15 พ.ย. 2567

"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 831 ☕ 15 พ.ย. 2567

ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 3,499 ☕ 13 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

Plasma TV คืออะไร
Plasma TV คืออะไร
เปิดอ่าน 35,763 ครั้ง

รวมคลิปสุดแสบ ในการ "ปลุก" ภาวนาอย่ามีเพื่อนแบบนี้เลย
รวมคลิปสุดแสบ ในการ "ปลุก" ภาวนาอย่ามีเพื่อนแบบนี้เลย
เปิดอ่าน 129,876 ครั้ง

งูพิษกัด
งูพิษกัด
เปิดอ่าน 27,734 ครั้ง

คืนนี้ชมจันทร์เต็มดวงขนาดใหญ่ และสว่างที่สุดในรอบปี
คืนนี้ชมจันทร์เต็มดวงขนาดใหญ่ และสว่างที่สุดในรอบปี
เปิดอ่าน 13,718 ครั้ง

โรคสมองเสื่อมกับมะเร็งกลายเป็นคู่กัดกันเองต่างปราบกันและกัน
โรคสมองเสื่อมกับมะเร็งกลายเป็นคู่กัดกันเองต่างปราบกันและกัน
เปิดอ่าน 9,012 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ