Advertisement
เรื่องราวในโลกนี้เกิดขึ้นได้ล้วนแต่เราเป็นผู้กระทำถึงแม้ชะตาชีวิตจะ
กำหนดให้ท่านเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าในใจท่านเกิดความมุ่งมั่น
จะทำสิ่งใดก็ตาม จงรักษาความมุ่งมั่นนั้นแล้วความมุ่งมั่นนั้น ที่อาจแปร
ร้ายให้กลายดีได้ อยู่ที่ตัวท่านเอง ชะตาชีวิตแม้จะอยู่ที่ฟ้า แต่ฟ้าก็รอ
ลุ้นให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น จงจำคำนี้ไว้นะ ถึงแม้ซะตาชีวิตจะอยู่
ที่ฟ้า แต่ฟ้าก็ลุ้นมนุษย์เปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น โดยละกิเลส ความเคยชิน
และตัวตน และเข้าใจรัก โลภ โกรธ หลงให้ถูกต้องอะไรล่ะที่ต้องเรียก
ว่ารัก อะไรล่ะที่ต้องควรโกรธ โกรธที่ตัวเองไม่ดีพอไม่ใช่โกรธที่เขาไม่
ดี รักที่เขายังดีไม่ได้ ไม่ใช่เกลียดเขาที่เขาไม่ดี นี่คือรัก โลภ โกรธ
หลง อย่างถูกต้อง เข้าใจไหม มนุษย์มักจะเกลียดคนโน้นที่เขาไม่ดี แต่
ความเกลียดที่แท้จริงคือ เกลียดที่ตัวเองไม่ดีไปรักคนอื่นที่เขาไม่ได้ดี
สักที เขาไม่ดีเราต้องเห็นใจ เราต้องเมตตา อย่าไปโกรธที่เขาไม่ดี แต่
จงโกรธตัวเราเองที่อยู่กับเขาแล้ว เขาดีไม่ได้ใช่ไหมจงรักเขาอย่างที่
ควรจะรัก แล้วรักนั้นจะไม่นำพาทุกข์มาให้เกิดกับใจเราและใจเขา จง
ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดี เมตตาให้มาก ๆ ใจกว้างอย่าง เข้มแข็ง
ความจริงแล้วมีโลภะ โทสะ โมหะเป็นหัวหน้าหมวดกิเลส
สำหรับโลภะนั้น มีราคะเข้าข่ายอยู่ด้วย (ราคะเป็น subset)
ที่พูดนำว่ารักแล้วตามด้วยโลภนั้น ความจริงเป็นกิเลสหมวดเดียวกัน
คือ หมวดอยาก หมวดเอา หมวดยึด อันเป็นภวตัณหา
คงเป็นเพราะฟังสละสลวยและเข้าใจง่ายกว่าพูดว่าโลภ โกรธ หลงอย่างเดียวครับ
อารมณ์อื่นที่คุณรู้น้อยยกคือกลัว เกลียด เศร้า จัดเป็นวิภวตัณหา เข้าข่ายโทสะทั้งสิ้น
เคยมีความสงสัยคล้าย ๆ คุณรู้น้อยค่ะ
คือ เคยรู้คร่าว ๆ แต่ว่าหมวดหลัก ๆ ของกิเลสมีโลภะ โทสะ โมหะ
แต่ก็ไม่แน่ใจในความหมายที่ชัดเจน และไม่รู้ว่า
อารมณ์จิปาถะต่าง ๆ จะจัดลงว่าเป็นหมวดอะไรอย่างไรบ้าง
(เผื่อจะได้เข้าใจถูกหรือเรียกถูกบ้าง เวลามีสติพิจารณารู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น)
พอดีคุณ IQ0 เคยตอบไว้ให้ในกระทู้ที่พันธุ์ทิพย์
ไม่รู้จะตอบข้อสงสัยของคุณรู้น้อยหรือเปล่า แต่น่าจะพอช่วยได้บ้าง
ขออนุญาตคัดลอกมาฝากนะคะ
- - -
กิเลสในใจคนมีอยู่ ๓ ตระกูลใหญ่ คือตระกูลโลภะ โทสะ โมหะ กิเลสแต่ละตระกูลก็มีหลายระดับ ตั้งแต่ที่หยาบมากๆ เห็นได้ชัดเจนเหมือนขยะมูลฝอย และเล็กลงเหมือนฝุ่นผง จนถึงที่ละเอียดมากๆ เหมือนธุลี บางคนเจอแล้วก็ยังไม่รู้ว่าเป็นกิเลส มองไม่ออก ดังนี้
๑. ตระกูลโลภะ หรือราคะ คือความกำหนัดยินดี รัก อยากได้ ในคน สัตว์ สิ่งของ หรืออารมณ์ที่น่าใคร่ มีตั้งแต่หยาบจนถึงละเอียด ดังนี้
๑.๑ อภิชฌาวิสมโลภะ ความโลภอย่างแรงจนกระทั่งแสดงออกมา เช่น ปล้น จี้ ลักขโมย
๑.๒ อภิชฌา ความเพ่งเล็งทรัพย์ของผู้อื่น จ้องๆ จะเอาของเขาละ แต่ยังสงวนท่าที ไม่แสดงออก
๑.๓ โลภะ ความอยากได้ในทางทุจริต อยากได้ในทางที่ไม่ชอบ แต่ยังไม่แสดงออก
๑.๔ ปาปิจฉา ความอยากได้โดยวิธีสกปรก เช่น อยากได้สตางค์เลย ไปเล่นการพนัน ไม่รักษาเกียรติ ไม่รักษาชื่อเสียงของตน
๑.๕ มหิจฉา ความอยากใหญ่ ความมักมาก เช่น รับประทานอาหาร วงเดียวกันก็คว้าเอากับอร่อยๆ ไปรับประทานเสียคนเดียว ไม่เกรงใจคนอื่น ไม่ รู้จักประมาณ
๑.๖ กามราคะ ความพอใจในกาม รักเพศตรงข้าม ยังมีความรู้สึกทางเพศ หรือยังยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์
๑.๗ รูปราคะ ความติดใจยินดีในอารมณ์ของรูปฌาน เป็นเรื่องของผู้ฝึกสมาธิจนได้รูปฌานแล้ว
๑.๘ อรูปราคะ ความติดใจยินดีในอารมณ์ของอรูปฌาน เป็นเรื่องของผู้ฝึกสมาธิจนได้อรูปฌานแล้ว
ข้อ ๑.๖-๑.๘ นี้แหละที่จัดเป็นกิเลสละเอียด ที่เรียกว่า ธุลีในตระกูลราคะ
๒. ตระกูลโทสะ คือความไม่ชอบใจ ความคิดร้าย คิดทำลายผู้ที่ทำให้ตนโกรธ มีตั้งแต่หยาบจนถึงละเอียด ดังนี้
๒.๑ พยาบาท ความผูกอาฆาต จองเวร อยากแก้แค้น ไม่ยอมอภัย บางทีข้ามภพข้ามชาติก็ยังไม่ยอม เช่น พระเทวทัตผูกพยาบาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งแต่ภพในอดีตมา
๒.๒ โทสะ ความคิดร้าย คิดทำลาย เช่น คิดจะฆ่า คิดจะเตะ คิดจะด่า คิดจะเผาบ้าน คิดจะทำให้อาย ฯลฯ
๒.๓ โกธะ ความเดือดดาลใจ คือคิดโกรธแต่ยังไม่ถึงกับคิดทำร้ายใคร
๒.๔ ปฏิฆะ ความขัดใจ เป็นความไม่พอใจลึกๆ ยังไม่ถึงกับโกรธ แต่มันขัดใจ
ข้อ ๒.๔ นี้แหละที่จัดเป็นธุลี กิเลสละเอียดในตระกูลโทสะ
๓. ตระกูลโมหะ คือความหลง เป็นอาการที่จิตมืดมน ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี ไม่รู้จักบุญบาป ส่วนความไม่รู้วิทยาการต่างๆ ไม่ใช่โมหะ คนที่มีความรู้วิทยาการมากเพียงใด มีปริญญากี่ใบก็ตาม หากยังไม่รู้จักบุญบาป ไม่รู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำละก็ ได้ชื่อว่าตกอยู่ในโมหะทั้งนั้น กิเลสตระกูลโมหะ มีตั้งแต่หยาบถึงละเอียดดังนี้
๓.๑ มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีพระคุณ เห็นว่าบุญบาปไม่มี เห็นว่าโลกนี้โลกหน้าไม่มี เป็นต้น
๓.๒ โมหะ ความหลงผิด ความไม่รู้ผิดชอบชั่วดี
๓.๓ สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวตน เช่น คิดว่าร่างกายนี้เป็นของเราจริงๆ
๓.๔ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในการปฏิบัติธรรม เช่น ยังไม่มั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ ว่าบุญบาปมีจริงไหม ทำสมาธิแล้วจะหมดกิเลสจริงหรือ
๓.๕ สีลัพพตปรามาส ความติดอยู่ในศีลพรตอันงมงาย เช่น เชื่อหมอดู เชื่อศาลพระภูมิ เชื่อพระเจ้า
๓.๖ มานะ ความถือตัว ถือเขาถือเรา
๓.๗ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน เป็นอาการที่จิตไหวกระเพื่อมน้อยๆ ยัง ไม่หยุดนิ่งสนิทบริบูรณ์ ไม่ได้หมายถึงความฟุ้งซ่าน ไม่รู้เหนือรู้ใต้อย่างที่คนทั่วไปเป็น
๓.๘ อวิชชา ความไม่รู้พระสัทธรรม เช่น ไม่รู้ว่าตัวเรามาจากไหน เกิดมาทำไม ตายแล้วจะไปไหน
ตั้งแต่ข้อ ๓.๓-๓.๘ เป็นธุลี กิเลสอย่างละเอียดในตระกูลโมหะ
โดยสรุป ธุลี หมายถึง กิเลสอย่างละเอียดทั้ง ๓ ตระกูล รวม ๑๐ ประการ ได้แก่
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส
๔. กามราคะ
๕. ปฏิฆะ
๖. รูปราคะ
๗. อรูปราคะ
๘. มานะ
๙. อุทธัจจะ
๑๐. อวิชชา
ทั้ง ๑๐ ประการนี้เรียกว่า สังโยชน์ ๑๐ พระโสดาบันจะสามารถละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ มีความเชื่อมั่นในคุณของพระรัตนตรัยเต็มที่ ไม่มีความลังเลเลย ส่วนพระสกิทาคามีก็ละได้ ๓ ข้อแรก เช่นเดียวกับพระโสดาบัน แต่กิเลสข้อที่เหลือเบาบางลง ส่วนพระอนาคามีละได้เพิ่มอีก ๒ ข้อ คือกามราคะและปฏิฆะ มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ละสังโยชน์ธุลีกิเลสทั้ง ๑๐ ประการ ได้อย่างสิ้นเชิง มีจิตผ่องใส บริสุทธิ์ตลอด
ระดับโทษของกิเลสทั้ง ๓ ตระกูล
ราคะ มีโทษน้อย แต่คลายช้า คนจะรักกัน อยู่กันฉันสามีภรรยา ถือว่าไม่ผิดศีลธรรม ขออย่าไปนอกใจหรือไปมีชู้ก็แล้วกัน โทษของราคะไม่ค่อยหนักนัก แต่การจะเลิกนั้นยากมาก คลายช้า คนลองรักกันแค่ไม่เห็นหน้าไม่กี่วันก็ทำท่าจะตายเอาให้ได้ บางทีตายแล้วเกิดใหม่ใจยังผูกพันกันอยู่เลย จะให้เลิกรักเลิกยาก
โทสะ มีโทษมาก แต่คลายเร็ว เวลาโกรธขัดใจขึ้นมาฆ่ากันได้ บางทีถึงขนาดฆ่าพ่อฆ่าแม่ ทำอนันตริยกรรมก็ยังได้ มีโทษมาก แต่ทว่าคลายเร็ว ถ้าเขามาขอโทษขอโพย เอาอกเอาใจไม่นานก็หาย โทสะคลายเร็วอย่างนี้
โมหะ มีโทษมากด้วย คลายช้าด้วย ความหลง ความไม่รู้พระสัทธรรมนี้มีโทษมาก ทำให้เราหลงไปทำบาปตกนรกเสียย่ำแย่ เราต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารกันมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ทนทุกข์กันตลอดมาก็เพราะโมหะนี่เอง และแถมเจ้าโมหะความหลงนี้ยังคลายช้าอีกด้วย คนลงไม่รู้จักบุญไม่รู้จักบาปละก็ กว่าจะแก้ได้ท่านว่าหืดขึ้นคอเลย บางทีก็ต้องรอพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ต่อๆ ไปโน้นมาโปรด ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะแก้หายหรือเปล่า
----------------------------
(บางส่วนจากพระธรรมเทศนา "มงคลชีวิต ๓๘ ประการ" มงคลที่ ๓๗ จิตปราศจากธุลี โดยพระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว))
" รัก โลภ โกรธ หลง "
|
|
รัก คือการให้
โลภ เป็นสิ่งที่เห็นเยอะแยะไปในคนชั่ว
โกรธ คือไฟที่สุ่มอยู่ในทรวง
หลง คือรักที่หลอกลวง....สุดท้ายคือช้ำใจ
|
วันที่ 12 เม.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,134 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 19,209 ครั้ง |
เปิดอ่าน 79,599 ครั้ง |
เปิดอ่าน 35,372 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,111 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,845 ครั้ง |
|
|