ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์


บทความการศึกษา 10 ส.ค. 2559 เวลา 16:47 น. เปิดอ่าน : 21,038 ครั้ง
Advertisement


Advertisement

ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์

จําเลยของความล้มเหลวทางการศึกษาไทยที่ถูกกล่าวหามาโดยตลอด คือ การไม่กระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปให้ท้องถิ่น การกระจายอำนาจจึงเป็นปัจจัยทางความเชื่ออย่างหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุให้เกิดความล้มเหลว การไม่กระจายอำนาจจึงตกเป็นจำเลยทุกครั้ง การจะปฏิรูปการศึกษาจึงต้องกลับไปรื้อโครงสร้างของกระทรวงฯ แล้วก็ออกแบบการกระจาย อำนาจตามแบบของบางประเทศ ส่วนปัจจัยที่เป็นจำเลยอื่นๆ คือ คุณภาพของครู วิธีสอนของครู หลักสูตร การวัดประเมินผล

การกระจายอำนาจไปให้ท้องถิ่นเป็นเรื่องน่ากังวล เพราะคำว่าท้องถิ่น (Local) ของไทยกับท้องถิ่นในต่างประเทศนั้นไม่เหมือนกัน ในต่างประเทศท้องถิ่นหมายถึงรัฐบาลของท้องถิ่น (State Government หรือ Province Government) ส่วนท้องถิ่นของไทยเป็นแบบ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” (Local Administrative Organization) สังกัดที่กระทรวงมหาดไทย การเกิดหรือที่มาของท้องถิ่นของต่างประเทศกับของไทยก็ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะองค์การปกครองส่วนตำบล และองค์การปกครองส่วนจังหวัดของเรา เกิดจากรัฐธรรมนูญปี 2540 มีอายุได้ไม่ถึง 20 ปี วัฒนธรรมองค์กรยังไม่เข้มแข็ง ส่วนรัฐบาลท้องถิ่นของต่างประเทศ (State Government) เขาสามารถดูแลตนเองได้ในระดับหนึ่ง สามารถกำหนดอนาคตของคนในชุมชนของท้องถิ่นตนเองได้โดยคณะผู้บริหารรัฐบาลท้องถิ่น ที่คนในท้องถิ่นที่คนในชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้เลือกเข้ามา เพื่อมาทำหน้าที่เป็นรัฐบาลของท้องถิ่น (Local Government หรือ Province Government)

ประเทศที่พอมองเห็นความเป็นองค์กรบริหารของท้องถิ่นที่ชัดเจน เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น เขากระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปให้ท้องถิ่นดูแลรับผิดชอบได้ถูกต้องเพราะท้องถิ่นเขามีวัฒนธรรมองค์กรมานาน

ท้องถิ่นของประเทศไทย ถูกปกครองโดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ของกระทรวงมหาดไทย บริหารงานภายใต้การควบคุมดูแลของนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งผู้ดูแลสูงสุดคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดังนั้นการกระจายอำนาจของกระทรวงศึกษาธิการของไทยไปให้ท้องถิ่นจึงไปไม่ถึงท้องถิ่น เพราะสุดท้ายแล้วกลับคืนมาอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนจากกระทรวงศึกษาธิการ ไปอยู่กระทรวงมหาดไทย เป็นการพายเรือในอ่าง

นักวางแผนทางการศึกษาใน คสช.บอกว่า จะกระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปให้กับ กรรมการการศึกษาจังหวัด (กศจ.) ซึ่งเป็นองค์กรท้องถิ่นของจังหวัดจริงๆ ไม่ใช่กระทรวงมหาดไทย ไม่ทราบว่าจะทำให้เชื่อได้อย่างไร เพราะเห็นรายชื่อแล้วไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ในการจัดการศึกษาบุคลากรที่มาทำงานเป็น กศจ. เป็นคณะบุคคลที่ถูกผู้มีอำนาจแต่งตั้งมา จึงไม่ได้เป็นตัวแทนขององค์กรทางการศึกษาใดในจังหวัด ไม่ได้เป็น Stakeholder หลายคนเป็นได้เพียงผู้รอรับการบริโภค (Consumer)แต่ถูกเลือกให้เข้ามาควบคุมการผลิตยิ่งน่าเป็นห่วง เพราะขบวนการจัดการศึกษาต้องใช้มืออาชีพ จะใช้เพียงความรู้สึกไม่ได้ หากในอนาคตจะมีการเลือกตั้งเข้ามาเป็นสมาชิกกรรมการการศึกษาจังหวัด คุณสมบัติของสมาชิกจะต้องมาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจริง (Real Stakeholder) หรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาในจังหวัดอย่างแท้จริง

บทเรียนที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ตัวอย่างองค์กรที่ผู้มีส่วนได้เสียจริงๆ หรือ Real Stakeholder ที่ไม่ประสบผลสำเร็จของไทย คือ กรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศ แม้ว่าจะถูกเลือกมาจากผู้ที่เป็นเจ้าของสหกรณ์ (สมาชิกสหกรณ์) แต่เมื่อได้รับเลือกมาเป็นแล้ว บางส่วนบางคน ก็ยังเข้ามาถอนทุนคืน รับโบนัสยังไม่พอ เบี้ยประชุมอนุกรรมการทุกอย่างเบิกเงินได้ทุกการประชุม วันละหลายๆ ฟลอร์ ก็จะต้องเบิกเบี้ยประชุมทุกฟลอร์ ดูแลแต่ผลประโยชน์ของตนเอง

ส่วนเรื่องให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคลนั้น ควรทำนานแล้วและควรให้เป็นนิติบุคคลได้จริง ไม่ใช่ยื่นให้แล้วชักคืนเหมือนเอาเหยื่อเสียบเบ็ดไว้ล่อปลา พอปลาจะกลืนก็ดึงเหยื่อคืน ที่เห็นและเป็นมาเป็นแบบนั้น เพราะโรงเรียนไม่เป็นนิติบุคคลจริง การใช้เงินงบประมาณก็ไม่มีอิสระต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของสำนักงบประมาณ งานบุคคลก็ไม่มีอิสระจะย้าย จะบรรจุ จะแต่งตั้งคนอื่นทำให้หมด งานวิชาการก็ยังส่งคนมาครอบ แล้วบอกว่าให้เป็นนิติบุคคล ไม่รู้ว่าจะเป็นได้กี่เปอร์เซ็นต์ แม่ทัพหากไม่มีอิสระสั่งการก็จะมีแต่แพ้เท่านั้น การศึกษาไทยเป็นเช่นนั้น

ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษา ที่จะให้เข้ามามีอำนาจเลือกผู้บริหาร เลือกบรรจุโยกย้ายครูยิ่งน่าเป็นห่วง ปัจจุบัน ในโรงเรียนเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ห่างไกล จะหาคนมาเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาก็หาได้ยาก ต้องไปขอร้องอ้อนวอนให้มาเป็น นี่เห็นว่าจะติดปีกให้กับกรรมการศึกษาอีก จะให้ไปอบรม ไปเรียนเพิ่มเติม ดูแล้วน่าเป็นห่วงยิ่ง กระทรวงศึกษาธิการแทนที่จะดูแลแต่การศึกษาในโรงเรียน กลับจะต้องมาดูแลให้การอบรมกับคณะกรรมการสถานศึกษาอีก เมื่อได้เป็นแล้วก็จะมาเรียกร้องสิทธิอีก น่ากังวลยิ่ง ออกแบบให้ดีก็แล้วกัน บ้านอื่นประเทศอื่นเขาตั้งกรรมการสถานศึกษาไม่ยากเลย ไปดูตัวอย่างเวียดนามได้ เขาเอาตัวแทนผู้ปกครองนักเรียนในชั้นเรียนของโรงเรียนนั้นแหละเลือกกันเองเข้ามาเป็นคณะกรรมการการศึกษา

นโยบายที่ให้เรียนฟรีไปถึง 15 ปี จัดการศึกษาแบบให้เปล่าตั้งแต่วัยเยาว์จนจบชั้น ม.ปลาย นับว่าเป็นเรื่องที่ดีเยี่ยมเด็กก่อนวัยเรียนในชนบทจะได้ไม่ถูกทิ้ง แต่ให้ระวังเพราะเด็กก่อนวัยเรียน มีแต่กิจกรรมการเล่นเพื่อเตรียมความพร้อม ส่งเสริมในสิ่งที่เด็กให้ความสนใจ พัฒนาตามพัฒนาการของเด็ก

แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็ก ม.ต้นถูกทิ้ง ครูและโรงเรียนไม่ให้ความสนใจ ทำให้เด็กขาดทักษะที่จะเรียนรู้ทักษะชีวิตที่จำเป็นในการดำรงชีพ การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นควรให้ความสำคัญกับการลงมือปฏิบัติ ได้ฝึกงาน เพราะเด็กวัยนี้เป็นวัยที่อยากดู อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากมีส่วนร่วม อยากช่วย อยากแสวงหาอาชีพที่แปลกใหม่อย่างท้าทาย มีพลังงานเหลือเฟือ เด็กใน ม.ต้นสมควรได้ฝึกงาน ฝึกการทำงานในสถานประกอบการจริงเพื่อให้ได้สัมผัสกับโลกอาชีพ ส่วนชั้น ม.ปลายต้องได้เรียนรู้ทักษะที่จำเป็นต้องใช้ชีวิตใน ศตวรรษที่ 21 เด็กแต่ละคนต้องรู้ว่าในอนาคตเขาควรจะไปประกอบอาชีพอะไรตั้งแต่อยู่ในระดับชั้น ม.4 แล้วเดินตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้ได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงก็จะต้องรู้ว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ในระดับชั้น ม.ต้น เด็กของเกาหลีใต้ ในญี่ปุ่น เด็กจะได้ออกไปศึกษาดูงานในสถานประกอบการจริง และได้ฝึกงานในสถานประกอบการจริง เด็กเกาหลี 1 ภาคเรียนเด็กจะได้ออกไปดูงานในสถานประกอบการจริงประมาณ 20 ครั้ง เด็กญี่ปุ่น ในระดับชั้น ม.1 เด็กและผู้ปกครองจะมองหาสถานที่ฝึกงานให้ลูกตลอดปีการศึกษา พอขึ้นชั้น ม.2 เด็กจะได้ออกไปฝึกงานในสถานประกอบการที่นักเรียนร่วมกับพ่อแม่ ครู และโรงเรียนได้ร่วมกันเลือก โดยโรงเรียนต้องไปสร้างสายสัมพันธ์ไว้กับสถานประกอบการในชุมชนไว้หลายๆ แห่งเพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการให้การศึกษาแก่เยาวชนด้วย เด็ก ม.2 ของญี่ปุ่นแต่ละคนจะได้ฝึกงานไม่น้อยกว่า 5 วัน เด็กของประเทศสิงคโปร์ (ชั้นมัธยมศึกษามีอยู่พียง 4-5 ปี) เด็กจะได้ออกไปฝึกงานในสถานประกอบการจริงทุกคน มีเด็กบางคนเมื่อเรียนจบชั้น ม.ปลายแล้วสามารถออกไปทำงานได้เลย แต่ขณะทำงานเด็กสิงคโปร์ก็ยังต้องการเรียนหนังสือในระดับที่สูงขึ้นตลอดเวลา

หลักสูตรและวิธีสอนในสถานการศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นความรู้และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 19?20 มันตกสมัยไปแล้ว การจัดการเรียนการสอนยุคนั้นคือการยัดไส้กรอก วิทยาการต่างๆที่มีอยู่ในหลักสูตรครูจะหยิบมายัดใส่หรือบรรจุลงไปในสมองของเด็กให้ครบถือว่าสอนจบหลักสูตร ส่วนเวลาสอบวัดประเมินผลก็ ให้สอบวัดประเมินผลว่า สิ่งที่ครูยัดความรู้เข้าไปในสมองเด็กยังเหลืออยู่ครบหรือไม่เพียงใด

การวัดผลการเรียนรู้ระบบเก่า เครื่องมือที่ใช้สอบวัดความรู้ของเด็ก คือ ข้อสอบแบบ ปรนัย ซึ่งแพร่หลายในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 จนถึงปัจจุบัน มีอายุนับได้ถึงครึ่งศตวรรษ 50 ปีหรือ 5 ทศวรรษ ตกสมัยไปแล้ว หากเปรียบข้อสอบปรนัยเป็นเครื่องมือจับปลา ก็คงจะเปรียบได้เพียงสวิงจับปลาเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถจังปลาตัวใหญ่เช่นปลาช่อน ปลาชะโด ปลาบึก หรือปลาวาล การวัดผลการศึกษาไทยจึงจับได้แต่ปลาเล็กปลาซิวปลาสร้อย

ตัวอย่างของประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการสอบวัดผลเช่น ฟินแลนด์ เยอรมัน หรือเวียดนาม ข้อสอบจะเป็นแบบอัตนัย ส่วนปรนัยแทบไม่มีใช้ในการสอบวัดประเมินความรอบรู้ของนักเรียน ในฟินแลนด์ข้อสอบที่เป็นซอยส์ แทบไม่มีให้เห็นเพราะเข้าใช้ขอสอบอัตนัยทั้งนั้น ผู้เขียนมีลูกไปเรียนเยอรมัน 3 คน ลูกบอกว่าข้อสอบ ปรนัยไม่มีเลยพ่อ ส่วนการสอบวัดผลในประเทศอังกฤษ ท่าน นายแพทย์ธีรเกียรติ์ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.กระทรวงศึกษาฯ ท่านบอกว่า ส่วนมากใช้ข้อสอบแบบอัตนัยทั้งนั้น แล้วประเทศไทยจะเลิกใช้ข้อสอบปรนัยได้หรือยังครับ

ประเทศที่ประสบผลสำเร็จเขาจะเรียนในห้องเรียนน้อยที่สุด เวลานอกนั้นเอาไปเรียนนอกห้องเรียน เอาไปฝึกงานเพื่อให้เกิดทักษะ ให้เด็กได้ทำกิจกรรมได้เล่นให้เล่นแบบมีโครงสร้าง (แบบญี่ปุ่นซึ่งต้องมีการวางแผนการเล่นและต้องเล่นเพื่อวังชัยชนะทุกครั้ง) เอาเวลาเรียนในห้องลงหรือออกไปฝึกงานภาคสนามหรือภาคลงมือปฏิบัติจริง ให้เด็กได้ลงมือทำจริง ได้วางแผนการทำงาน ได้แก้ปัญหาที่เกิดจากการทำงาน และจะได้เรียนรู้ทักษะชีวิตอย่างแท้จริง

สังคมไทยต้องกล้าที่จะต้องพูดความจริงกล้าที่จะรับฟังความเห็นที่แตกต่าง ต้องใช้ความจริงมาตัดสินใจ อย่าใช้เพียงความรู้สึกหรือคิดเอาเอง กล้าบอกให้รู้ว่าการเรียนการสอนในห้องเรียนที่ผ่านมาในอดีตนั้น ไม่ใช้การศึกษาเป็นเพียงการกรอกความรู้ให้เด็ก เด็กไทยจึงคิดอะไรไม่ได้ แก้ปัญหาไม่เป็น รอคำสั่ง ไม่อดทน ไม่มีความรับผิดชอบ ฯ

ผู้เขียน เพชร เหมือนพันธุ์
ที่มา มติชนรายวัน
เผยแพร่ 10 ส.ค. 59

ขอบคุณที่มาจาก มติชนออนไลน์ วันที่ 10 สิงหาคม 2559 

หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6


ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์ปัจจัยแห่งความล้มเหลวในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไรโดยเพชรเหมือนพันธุ์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

คืนครูสู่ห้องเรียน

คืนครูสู่ห้องเรียน


เปิดอ่าน 17,114 ครั้ง
โอเน็ต!ยัง โอเค?

โอเน็ต!ยัง โอเค?


เปิดอ่าน 9,376 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ทำอย่างไรให้ลูกมีความจำดี : ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ

ทำอย่างไรให้ลูกมีความจำดี : ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ

เปิดอ่าน 12,176 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559
เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559
เปิดอ่าน 8,842 ☕ คลิกอ่านเลย

การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน กับ การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา : เจตนารมณ์ ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงและสิ่งที่ได้รับ
การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน กับ การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา : เจตนารมณ์ ข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงและสิ่งที่ได้รับ
เปิดอ่าน 33,060 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาในกะลา
การศึกษาในกะลา
เปิดอ่าน 11,561 ☕ คลิกอ่านเลย

Area-Based Education สร้างการศึกษาตอบโจทย์จังหวัด
Area-Based Education สร้างการศึกษาตอบโจทย์จังหวัด
เปิดอ่าน 9,330 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตเป็น‘ผู้นำสังคม’ : โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร
การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตเป็น‘ผู้นำสังคม’ : โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร
เปิดอ่าน 16,922 ☕ คลิกอ่านเลย

เรื่องของวันหยุดยาวในเดือนเมษายน กับการเปิด-ปิดเทอมของมหาวิทยาลัย
เรื่องของวันหยุดยาวในเดือนเมษายน กับการเปิด-ปิดเทอมของมหาวิทยาลัย
เปิดอ่าน 14,244 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

แนวทางการประเมินคุณภาพรอบสี่
แนวทางการประเมินคุณภาพรอบสี่
เปิดอ่าน 17,391 ครั้ง

บารัค โอบามา (Barack Obama)
บารัค โอบามา (Barack Obama)
เปิดอ่าน 14,402 ครั้ง

เข้าใจการวางแผนสื่อโฆษณา covid-19 ช่วยธุรกิจปรับตัวได้ดีขึ้น
เข้าใจการวางแผนสื่อโฆษณา covid-19 ช่วยธุรกิจปรับตัวได้ดีขึ้น
เปิดอ่าน 41,118 ครั้ง

กล้วยป่า
กล้วยป่า
เปิดอ่าน 15,721 ครั้ง

ความลับของ "คนรวย"
ความลับของ "คนรวย"
เปิดอ่าน 21,129 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ