ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ทักษะอะไรที่นายจ้างยุคเศรษฐกิจ 4.0 ต้องการ ?


ความรู้ทั่วไป 5 ส.ค. 2559 เวลา 10:07 น. เปิดอ่าน : 26,256 ครั้ง
Advertisement

ทักษะอะไรที่นายจ้างยุคเศรษฐกิจ 4.0 ต้องการ ?

Advertisement

ยกเครื่อง Education 2.0
สร้าง The New S-Curve ใหม่ให้การเปลี่ยนแปลงของ Economy 4.0

สวัสดีครับเพื่อนสมาชิก สสค. เมื่อเร็วๆ นี้ สสค.ร่วมกับ

ธนาคารโลก และ มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์ ชวน “นักเศรษฐ- ศาสตร์การศึกษา” มาร่วมฉายภาพ ‘การศึกษาไทย’ ที่เชื่อมต่อกับภาค เศรษฐกิจและสังคม
“พายุไต้ฝุ่นระดับ 5 กําลัง ทดสอบความสามารถในการปรับตัวของตลาดแรงงานไทย” คํากล่าวของดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์ การศึกษา สํานักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และ คุณภาพเยาวชน (สสค.) ดูจะไม่เกินจริงนัก ท่ามกลาง สถานการณ์เลิกจ้างที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และตัวเลขบัณฑิต ว่างงานที่พุ่งไม่หยุด

ข้อเท็จจริงนี้สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของธนาคารโลก เกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานในประเทศไทย ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์ด้านการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารโลก ชี้ว่าขีดความ สามารถในการแข่งขันของไทยถดถอยลงมา ตั้งแต่ปี 2007 ค่าจ้างของแรงงานทุกกลุ่ม ไม่เติบโต ทําให้กําลังซื้อและคุณภาพชีวิตของ แรงงานเหล่านี้ถดถอยมากกว่า 10 ปีแล้ว สวนทางกับ ตัวเลขการศึกษาของแรงงานไทยที่ดีขึ้นถ้านับตามจํานวนปี การศึกษาและคุณวุฒิสูงสุด ไทยมีปริมาณบัณฑิตเข้าสู่ตลาด แรงงานจํานวนมากกว่า 40-50% ของกําลังแรงงานรุ่นใหม่ที่เข้า สู่ตลาดแรงงาน แต่บัณฑิตเหล่านี้กลับขาดทักษะที่นายจ้าง ต้องการ ทําให้บัณฑิตจบใหม่กว่า 1 ใน 4 คนยังคงหางานทําไม่ได้ในปัจจุบัน

แล้วทักษะอะไรที่นายจ้างยุคเศรษฐกิจ 4.0 ต้องการ ?
จากรายงานของ World Economic Forum ชี้ถึง 10 ทักษะซึ่งจะเป็นที่ต้องการอย่างมากในปี 2020 ได้แก่

1.ทักษะการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน
2.การคิดวิเคราะห์
3.ความคิดสร้างสรรค์
4.การจัดการบุคคล
5.การทํางานร่วมกัน
6.ความฉลาดทางอารมณ์
7.รู้จักประเมินและการตัดสินใจ
8.มีใจรักบริการ
9.การเจรจาต่อรอง
10.ความยืดหยุ่นทางความคิด

“ในปี 2020 ทักษะทําซ้ำเป็นประจํา (Routine Skills) จะหมดโอกาสในการทํางาน 1 ใน 3 ของทักษะที่เป็นที่ ต้องการในปัจจุบันจะล้าสมัย 65% ของงานใน 10 ปีข้างหน้า ยังไม่เกิดขึ้น บททดสอบที่สําคัญคือ ครูและระบบการศึกษา ไทยในปัจจุบันกําลังสอนและพัฒนาเด็กเยาวชนเพื่อให้มีงาน และทักษะที่ยังไม่เคยมีอยู่ในปัจจุบัน แล้วครูและระบบ การศึกษาจะสอนเด็กอย่างไร?” ดร.ไกรยส ผู้เชี่ยวชาญด้าน นโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. ตั้งคําถามต่อระบบ การศึกษาไทย

“โลกกําลังเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ใน อีก 5 ปีถัดจากนี้ จะเน้นการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรเข้ามา แทนที่แรงงานมนษุย์ที่ใช้ “ทักษะการทําซ้ำเป็นประจํา” (Routine Skill) เช่น หุ่นยนต์ การพิมพ์ 3 มิติ และ ระบบอุตสาหกรรม ที่เชื่อมโยงกับอินเตอร์เนตทั้งหมด Industrial Internet of things (IIOT) ซึ่งมีประสิทธิภาพการผลิตที่สูงกว่ามนุษย์ ไม่ ต้องการการควบคุมโดยมนุษย์ และมีต้นทุนต่อหน่วยที่ถูกกว่า” ดังนั้นแรงงานที่จะยังคงปลอดภัยและมีความ ก้าวหน้าในการประกอบอาชีพคือแรงงานที่มี “ทักษะที่หลากหลาย” (Non-routine Skills) ทั้งทักษะที่หลากหลาย ทางปัญญาและทางการสื่อสาร (Non-routine cognitive and interpersonal Skills) เช่น ทักษะความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นต้น

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเรามุ่งหน้าสู่ Economy 4.0 ด้วย Education 2.0 ?
ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว คณบดีคณะ เศรษฐศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ชี้ว่า Education 2.0 ไม่สามารถช่วยให้ผู้ที่เรียนจบ ปรับตัวให้เข้ากับโลกของการทํางานได้ ปัญหา ช่องว่างทางทักษะจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อยๆ เพราะเศรษฐกิจปรับตัวแต่แรงงานไทย ปรับตัวไม่ทัน ทํางานไม่ได้ตามที่นายจ้างคาดหวัง จากผลวิจัยของม.ธุรกิจบัณฑิตย์และสสค.ในประเด็นช่องว่าง ทักษะเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต ตราด และอีก 14 จังหวัดทั่วประเทศพบว่า ช่องว่างทักษะสูงที่สุด 3 อันดับแรก ในกลุ่มจังหวัดที่มีระดับการ พัฒนาเทียบเท่ากับ Economy 2.0 และกําลังพัฒนาไปสู่ Economy 3.0 คือ

1) ทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศอื่นๆ
2) ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ และ
3) การใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต

ในส่วนจังหวัดที่มีระดับการพัฒนาเทียบเท่ากับ Economy 3.0 และกําลังก้าวไปสู่ Economy 4.0 พบว่า ช่องว่างทักษะสูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ

1) ความรู้เฉพาะตามตําแหน่งงานที่ทํา
2) การแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงาน และ
3) ความสามารถในการเรียนรู้งาน

“หากเทียบกับผลสํารวจของสหราชอาณาจักรและแคนาดา ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องช่องว่างทักษะรุนแรงกว่า สองประเทศนี้ถึงเท่าตัว และหากเปรียบเทียบความสามารถใน การแข่งขันของทุนมนุษย์ไทยกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียพบว่า ยังไม่ดีเท่ากับมาเลเซีย จีนและสิงคโปร์ ทั้งยังได้คะแนน คุณภาพการศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ต่ำกว่าประเทศเวียดนามที่เริ่มต้นช้ากว่า 15-20 ปี หรือแม้แต่ฟิลิปปินส์ที่มีรายได้ต่อหัวต่ำกว่าไทย การศึกษาไทยในโลกยุคใหม่ต้อง ก้าวสู่การคิดวิเคราะห์ ค้นคว้าสิ่งใหม่ แต่ไทยยังท่องจําเพื่อไป สอบ ถ้าเรายังไม่ปรับตัวตอนนี้ เราอาจจะไม่ใช่สิ้นชาติ แต่จะ หมดโอกาสในการสร้างชาติ”

แล้วจะทําอย่างไรให้การศึกษาตอบโจทย์ภาคเศรษฐกิจ ?
ปฏิรูปการศึกษาไทยต้องเดินหน้าสู่ Education 4.0 ดร.ไกรยส นักเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า

เป็นความท้าทายของระบบการศึกษาไทยที่จะสร้างThe New S-Curve ใหม่ในการพัฒนาทักษะที่หลากหลาย (Non-routine Skills) ให้แก่เด็ก
เยาวชนไทย เพื่อรองรับ S-Curve ที่ 4 ในยุค การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ได้ทันหรือไม่ หลังจากที่ไทยได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากS-Curve ที่แล้วในการใช้ทักษะการผลิตและบริการ ของกําลังแรงงานของไทยไปสนับสนุนเศรษฐกิจเพื่อการส่งออก และการท่องเที่ยวจนนําพาประเทศขึ้นสู่ประเทศรายได้ ปานกลางขั้นสูง (Upper-middle income country) ได้เมื่อ 20ปีที่ผ่านมาเพราะหากไม่สามารถทําได้ ประเทศไทยจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำมากขึ้นทุกวัน เพราะ ประเทศต่างๆ จะหันไปลงทุนในประเทศอื่นๆ ที่มีทรัพยากร มนุษย์ที่มีคุณภาพสูงกว่า และปรับตัวเข้ากับยุค 4.0 ได้ดีกว่าประเทศไทย

“คําถามสําคัญต่อไปคือ The New S-Curve ใหม่ของ ไทยในระบบการศึกษาจะสร้างขึ้นได้อย่างไร และจะช่วยให้ กําลังแรงงานไทยรุ่นใหม่สามารถก้าวออกจากกับดักรายได้ ปานกลางได้ในเร็ววันนี้หรือไม่ ระบบการศึกษาไทยจึงจําเป็น ต้องปรับตัวเพื่อตอบโจทย์นี้ให้ได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ควรร่วมมือกันในการพัฒนาทักษะ ปฏิรูปการเรียนรู้ และแทนที่การเรียนรู้ที่ไม่ตรงต่อความ ต้องการทักษะในปัจจุบัน”

สุภกร บัวสาย ผู้จัดการ สสค.

 

ขอบคุณที่มาจาก จดหมายถึงเพื่อนสมาชิก สสค. 

 

คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ

ทักษะอะไรที่นายจ้างยุคเศรษฐกิจ 4.0 ต้องการ ?ทักษะอะไรที่นายจ้างยุคเศรษฐกิจ4.0ต้องการ?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ทำไมขี้จิ้งจกถึงมีสองสี

ทำไมขี้จิ้งจกถึงมีสองสี


เปิดอ่าน 42,408 ครั้ง
เทคนิคนวดผมพาเพลิน

เทคนิคนวดผมพาเพลิน


เปิดอ่าน 8,632 ครั้ง
ออกกำลังกายตามอารมณ์

ออกกำลังกายตามอารมณ์


เปิดอ่าน 9,611 ครั้ง
วิธีแต่งบ้านคลายร้อน

วิธีแต่งบ้านคลายร้อน


เปิดอ่าน 11,149 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

อาหารแสลง คืออะไร

อาหารแสลง คืออะไร

เปิดอ่าน 4,504 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือนสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก
การเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือนสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก
เปิดอ่าน 5,027 ☕ คลิกอ่านเลย

8 วิธีปราบสภาวะกินอาหารตามอารมณ์ให้อยู่หมัด
8 วิธีปราบสภาวะกินอาหารตามอารมณ์ให้อยู่หมัด
เปิดอ่าน 12,638 ☕ คลิกอ่านเลย

ประเทศไทยได้อะไร... จากการรอใช้ 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิร์ตซ์
ประเทศไทยได้อะไร... จากการรอใช้ 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิร์ตซ์
เปิดอ่าน 8,893 ☕ คลิกอ่านเลย

ประโยชน์ของทุเรียน
ประโยชน์ของทุเรียน
เปิดอ่าน 17,672 ☕ คลิกอ่านเลย

5 คำถามเพื่อสาขาเรียนที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ
5 คำถามเพื่อสาขาเรียนที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ
เปิดอ่าน 14,954 ☕ คลิกอ่านเลย

10 เคล็ดลับคลายความเหนื่อยล้า ปลุกพลังกลับมาอีกครั้ง
10 เคล็ดลับคลายความเหนื่อยล้า ปลุกพลังกลับมาอีกครั้ง
เปิดอ่าน 15,125 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

นวัตกรรมใหม่น่าสนใจของ Power Bank ในรูปแบบเข็มขัด แปลกแค่ไหน
นวัตกรรมใหม่น่าสนใจของ Power Bank ในรูปแบบเข็มขัด แปลกแค่ไหน
เปิดอ่าน 1,063 ครั้ง

มหัศจรรย์ เลข 11
มหัศจรรย์ เลข 11
เปิดอ่าน 72,313 ครั้ง

เทคนิคการอ่านหนังสือขั้นเทพ
เทคนิคการอ่านหนังสือขั้นเทพ
เปิดอ่าน 39,811 ครั้ง

ทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ประชากรรุ่นใหม่จำเป็นต้องเรียนรู้และมีทักษะอะไรบ้าง
ทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ประชากรรุ่นใหม่จำเป็นต้องเรียนรู้และมีทักษะอะไรบ้าง
เปิดอ่าน 30,975 ครั้ง

รวมกฏกระทรวงศึกษาธิการ
รวมกฏกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 75,809 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ