ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การศึกษาไทย 2.0


บทความการศึกษา 4 ส.ค. 2559 เวลา 13:34 น. เปิดอ่าน : 13,021 ครั้ง
Advertisement

การศึกษาไทย 2.0

Advertisement

โดย...เสาวรส รณเกียรติ

ใครที่ติดตามข่าวเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จะได้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ที่เป็นผลทั้งจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ทำให้ความต้องการสินค้าในตลาดโลกเปลี่ยนไป ช่องทางการทำการค้าก็เปลี่ยนไป กระทบต่อการส่งออกของไทยให้ทรุดต่อเนื่องมา 2-3 ปีแล้ว

นอกจากนี้ เรายังเจอกับการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว และคาดเดาการไหลเข้าออกได้ยากลำบากมาก จากการที่ประเทศเศรษฐกิจหลักใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน (คิวอี) กันแทบทุกภูมิภาค ทำให้ค่าเงินบาทของไทยผันผวน ยังมีเรื่องราคาน้ำมันที่ลดต่ำลงเกือบ 2 เท่าของระดับราคาที่เคยสูงสุด ฉุดให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ที่เป็นแหล่งรายได้ของเกษตรกรไทยตกต่ำตาม

ภาวะที่ปัจจัยจากต่างประเทศถาโถมเข้ามากระทบกับเศรษฐกิจไทยเช่นนี้ ทำให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องคิดอ่านถึงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้สามารถรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะถ้าไม่ทำอะไร คนไทยจะมีโอกาสจนลง เพราะรายได้ลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากช่องทางในการหารายได้เข้าประเทศ คือการส่งออกนั้นจะตีบตันเข้าทุกที

โมเดล ไทยแลนด์ 4.0 (Thailand 4.0) จึงถูกคิดค้นขึ้นเพื่อรับมือกับภาวะดังกล่าว โดย สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ อธิบาย ไทยแลนด์ 4.0 ว่า เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยชุดใหม่ ที่จะต้องมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นสินค้าเชิงนวัตกรรม เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น

พร้อมกับโมเดลนี้ รัฐบาลก็จัดสรรพกำลังเพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมให้ผลิตสินค้าเชิงนวัตกรรมให้ได้ ทั้งการสนับสนุนซูเปอร์คลัสเตอร์ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคต ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อย่างคลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์โทรคมนาคม ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และดิจิทัล เป็นต้น

ไม่เฉพาะอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รัฐบาลยังให้การสนับสนุนส่งเสริมลงไปถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) มีการตั้งกองทุนร่วมทุน การผลักดันให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อ ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าสิ่งที่รัฐบาลทุ่มเทอย่างมากในการผลักดันไทยแลนด์ 4.0 คือ “เงิน” ทั้งงบประมาณ และเงินกู้ภาครัฐจำนวนมากมาย

แต่ที่ยังไม่เห็นการเคลื่อนไหวเพื่อรองรับการก้าวไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 กลับกลายเป็นทรัพยากรมนุษย์ หรือกำลังแรงงานของไทยที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0

เรื่องทรัพยากรมนุษย์ในไทยนั้น มีการพูดถึงมาไม่ต่ำกว่า 4-5 แล้ว ก่อนที่จะมาถึงไทยแลนด์ 4.0 นั้น รัฐบาลไทยก็ถูกองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ทั้งจี้ไช ทั้งเรียกร้องให้เพิ่มศักยภาพแรงงานให้มีทักษะที่สูงขึ้น เพราะหลายอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นมาลงทุนในไทย เกิดขาดแคลนแรงงานระดับอาชีวะจำนวนมาก และล่าสุดการแก้ปัญหายังไม่คืบหน้า ไทยยังขาดแรงงานระดับอาชีวะที่มีทักษะการทำงานอยู่อีกกว่า 3.5 หมื่นคน

ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ไทยแลนด์ 4.0 ที่ต้องการทรัพยากรบุคคลที่นอกจากจะต้องมีทักษะแล้ว ยังต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีขั้นสูง ต้องการคนมีความคิดสร้างสรรค์

เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พูดถึงปัญหานี้ง่ายๆ ได้ใจความดีว่า ประเทศไทยกำลังมุ่งหน้าสู่ Economy 4.0 ด้วย Education 2.0

ผลคือ การศึกษาของไทยไปไม่ทันโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่เราต้องการ และยังไม่สามารถช่วยให้ผู้ที่เรียนจบปรับตัวเข้ากับโลกของการทำงานได้

ที่น่าเจ็บปวดกว่า คือ มีรายงานของธนาคารโลกระบุว่า ประเทศไทยนอกจากจะขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ (ยังไม่พูดถึงไทยแลนด์ 4.0) แล้ว ยังพบว่า ผลทดสอบนานาชาติ PISA ออกมาพบว่า 1 ใน 3 ของเด็กไทยที่อายุ 15 ปี รู้หนังสือไม่เพียงพอที่จะใช้งานได้ และเด็กเวียดนามเริ่มแซงหน้าเด็กไทยด้านการศึกษาไปถึง 1.5 ปี

ขณะที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่สำรวจพบว่า นายจ้างขององค์กรในศตวรรษที่ 21 คาดหวังให้พนักงานในองค์กรมีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) มากที่สุด

ประเด็นเรื่องเด็กไทย 1 ใน 3 รู้หนังสือไม่พอที่จะใช้งานได้ และความคาดหวังของนายจ้างในศตวรรษที่ 21 ทำให้พอจะเห็นได้รางๆ ว่า การก้าวไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่ในระยะเริ่มต้นจะต้องเริ่มจากการลงทุนจากต่างประเทศก่อนนั้น มีโอกาสเป็นไปได้ยากยิ่ง โดยเฉพาะการดึงนักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในซูเปอร์คลัสเตอร์ ที่เป็นอุตสาหกรรมอนาคต ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่างที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ ก็ยิ่งต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์ที่ใช้ระบบการศึกษายุคใหม่เข้ามารองรับ

ไม่เช่นนั้น เมื่อนักลงทุนต่างประเทศมาเจอทรัพยากรบุคคลในไทยที่มีปัญหา 2 ประเด็นดังกล่าว ก็ต้องชะงัก และถอยห่างประเทศไทยไปอย่างช่วยไม่ได้

ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าไทยแลนด์ 4.0 จะเป็นเป้าหมายที่ถูกทิศของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยยุคใหม่ แต่ไส้ในของไทยแลนด์ 4.0 ในเรื่องทรัพยากรบุคคลนั้น ถือว่ายังหลวมโพรกเพรก และยังไม่รู้ว่ารัฐบาลจะลงมาแก้ปัญหาหรือรื้อโครงสร้างการศึกษาของไทยได้เมื่อไหร่

ตอนนี้จึงได้แต่รอฟังคำตอบไปเรื่อยๆ ก่อน

 

 

ขอบคุณที่มาจาก โพสต์ทูเดย์ 02 สิงหาคม 2559

 


การศึกษาไทย 2.0การศึกษาไทย2.0

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

กบฏสร้างสรรค์ทางการศึกษา

กบฏสร้างสรรค์ทางการศึกษา


เปิดอ่าน 16,861 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ผู้บริหารการศึกษาควรได้รับการปฏิรูปก่อน

ผู้บริหารการศึกษาควรได้รับการปฏิรูปก่อน

เปิดอ่าน 12,094 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เจาะลึกความสำเร็จการบริหารโรงเรียนตามแนวทาง SLC ของร.ร.พุทธจักรวิทยา  สร้างฐานการเรียนรู้ที่เข้มแข็งให้นักเรียน ดันคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตปี’62 พุ่ง
เจาะลึกความสำเร็จการบริหารโรงเรียนตามแนวทาง SLC ของร.ร.พุทธจักรวิทยา สร้างฐานการเรียนรู้ที่เข้มแข็งให้นักเรียน ดันคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตปี’62 พุ่ง
เปิดอ่าน 44,349 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาไทยภายใต้รัฐบาล คสช. 3 ปี ที่วังเวงและเคว้งคว้าง
การศึกษาไทยภายใต้รัฐบาล คสช. 3 ปี ที่วังเวงและเคว้งคว้าง
เปิดอ่าน 14,405 ☕ คลิกอ่านเลย

มองโลกแบบวิกรม ตอน เจาะลึก การศึกษาไต้หวัน (1)
มองโลกแบบวิกรม ตอน เจาะลึก การศึกษาไต้หวัน (1)
เปิดอ่าน 10,107 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลการสอบไม่สามารถบอกได้ทุกอย่าง
ผลการสอบไม่สามารถบอกได้ทุกอย่าง
เปิดอ่าน 6,449 ☕ คลิกอ่านเลย

อาลัยการศึกษาไทย เก่งเจ๋งในกระดาษ
อาลัยการศึกษาไทย เก่งเจ๋งในกระดาษ
เปิดอ่าน 19,698 ☕ คลิกอ่านเลย

แลหลัง ผ่าปมข้อสอบคัดเลือก ผอ.-รอง ผอ.เกิดความผิดพลาด
แลหลัง ผ่าปมข้อสอบคัดเลือก ผอ.-รอง ผอ.เกิดความผิดพลาด
เปิดอ่าน 27,840 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

จดหมายลูกโซ่ มีความเป็นมาอย่างไร
จดหมายลูกโซ่ มีความเป็นมาอย่างไร
เปิดอ่าน 19,256 ครั้ง

เหงื่อออกมือไม่ใช่สัญญาณของโรคหัวใจ
เหงื่อออกมือไม่ใช่สัญญาณของโรคหัวใจ
เปิดอ่าน 4,706 ครั้ง

การวิ่งระยะต่าง ๆ (พลศึกษา)
การวิ่งระยะต่าง ๆ (พลศึกษา)
เปิดอ่าน 423,882 ครั้ง

ทำไมเราถึงหาว รู้ไหม?
ทำไมเราถึงหาว รู้ไหม?
เปิดอ่าน 10,710 ครั้ง

เเนะ 7 วิธีมี "เงินเก็บ" เพิ่มมากขึ้นภายใน 1 ปี
เเนะ 7 วิธีมี "เงินเก็บ" เพิ่มมากขึ้นภายใน 1 ปี
เปิดอ่าน 52,030 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ