ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกําหนดชื่อปริญญา พ.ศ. ๒๕๕๙
การกําหนดชื่อปริญญาตามคุณวุฒิสาขาวิชา ที่แสดงถึงการมีความรู้ตามหลักการพื้นฐานของศาสตร์ที่ครอบคลุมสาขาวิชา โดยในระดับปริญญาตรีควรกําหนดให้มีพื้นฐานในสาขาศิลปศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์เป็นหลักให้ได้รับคุณวุฒิตามชื่อปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต เพื่อให้การกําหนดชื่อปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาเป็นระบบและสอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย เห็นสมควรกําหนดหลักเกณฑ์การกําหนดชื่อปริญญาให้เหมาะสม
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา ในคราวประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้เรียกว่า “หลักเกณฑ์การกําหนดชื่อปริญญา พ.ศ. ๒๕๕๙”
ข้อ ๒ ให้ใช้ประกาศกระทรวงนี้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน และให้ใช้บังคับตั้งแต่
วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ สถาบันอุดมศึกษาที่มีการตราพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสําหรับสาขาวิชาไว้แล้ว ให้ใช้ชื่อปริญญาตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกานั้น ในกรณีที่ปริญญาใด
ยังมิได้กําหนดชื่อไว้ในพระราชกฤษฎีกา หรือสถาบันอุดมศึกษาใดไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสําหรับสาขาวิชา ให้ใช้ชื่อปริญญาตามหลักเกณฑ์การกําหนด
ชื่อปริญญา พ.ศ. ๒๕๕๙ นี้
ข้อ ๔ ให้ยกเลิก๔.๑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “หลักเกณฑ์การกําหนดชื่อปริญญา พ.ศ. ๒๕๔๙” ลงวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ๔.๒ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “หลักเกณฑ์การกําหนดชื่อปริญญา(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑” ลงวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑๔.๓ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “หลักเกณฑ์การกําหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑” ลงวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ๔.๔ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “หลักเกณฑ์การกําหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๒” ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒๔.๕ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “หลักเกณฑ์การกําหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๓” ลงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ๔.๖ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “หลักเกณฑ์การกําหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๖)” ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๕ ประเภทของการกําหนดชื่อปริญญา แบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
๕.๑ ปริญญาประเภทวิชาการ
๕.๑.๑ ปริญญาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้มีลักษณะ เน้นศาสตร์บริสุทธิ์ทางด้านศิลปศาสตร์ โดยมุ่งศึกษาสาระและวิธีการของศาสตร์สาขาวิชานั้น ๆ เป็นหลัก ให้ใช้ชื่อปริญญาว่าศิลปศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Arts) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Arts) และศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Arts) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy)
กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ คือ
(๑) กลุ่มสาขาวิชามนุษย์ศาสตร์ (Humanities)
๑.๑) สาขาวิชาปรัชญา ศาสนา เทววิทยา อาทิ พุทธศาสตร์ พุทธศาสนศึกษา ศาสนาเปรียบเทียบ
๑.๒) สาขาวิชาภาษา วรรณคดี อาทิ ภาษาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาบาลีและสันสกฤต จารึกภาษาไทย การแปล วรรณคดีไทย วรรณคดีอังกฤษ วรรณคดีเปรียบเทียบ
๑.๓) สาขาวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดี อาทิ ไทยคดีศึกษา ประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ
๑.๔ สาขาวิชาศิลปะ วัฒนธรรม อาทิ อารยธรรมศึกษา
(๒) กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ (Social Sciences)
๒.๑) สาขาวิชาจิตวิทยา (Psychology) อาทิ จิตวิทยาสังคม พฤติกรรมศาสตร์
๒.๒) สาขาวิชาสังคมวิทยา (Sociology) อาทิ มานุษยวิทยา วัฒนธรรมศึกษา
๕.๑.๒ ปริญญาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้มีลักษณะ เน้นศาสตร์บริสุทธิ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยมุ่งศึกษาสาระและวิธีการของศาสตร์สาขาวิชานั้น ๆ เป็นหลัก ให้ใช้ชื่อปริญญาว่า วิทยาศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Science) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Science) และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Science) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy) กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ คือ
(๑) กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences)
๑.๑) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Sciences)อาทิ ชีววิทยา ชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ จุลชีววิทยา พิษวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา กีฏวิทยา พันธุศาสตร์
๑.๒) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Sciences)อาทิ เคมี ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ ภูมิศาสตร์กายภาพ สมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา
๑.๓) สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ (Mathematics and Statistics) อาทิ คณิตศาสตร์ การวิจัยดําเนินงาน สถิติ คณิตศาสตร์ประกันภัย
๑.๔) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ (Computing) อาทิ วิทยาการคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ
(๒) กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Sciences)
๒.๑) สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (Agriculture) อาทิ ประมงพืชไร่ วนศาสตร์ สัตวบาล สัตวศาสตร์
๒.๒) สาขาวิชาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ(Environmental Sciences and Natural Resources) อาทิ การจัดการสิ่งแวดล้อม วิทยาการสิ่งแวดล้อม
๒.๓) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical Sciences)อาทิ กายวิภาคศาสตร์ นิติเวชศาสตร์ เวชนิทัศน์ สรีรวิทยา
๒.๔) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์อื่น ๆ (Other Applied Sciences) อาทิ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ วัสดุศาสตร์ การเหมืองแร่
๕.๑.๓ ปริญญาตามชื่อศาสตร์ ได้แก่ สาขาวิชารัฐศาสตร์ (Political Sciences)
อาทิ การเมือง การปกครอง นโยบายสาธารณะ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) อาทิ เศรษฐศาสตร์สหกรณ์ เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
(๑) สาขาวิชารัฐศาสตร์ (Political Sciences) ให้ใช้ชื่อปริญญา รัฐศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Political Science) รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Political Science)
และรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Political Science) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy)
(๒) สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) ให้ใช้ชื่อปริญญา เศรษฐศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Economics) เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Economics) และเศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Economics) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy)
๕.๒ ปริญญาประเภทวิชาชีพ
๕.๒.๑ สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้เน้นการศึกษาในลักษณะของศาสตร์เชิงประยุกต์ เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ สาขาวิชาที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายขององค์กรวิชาชีพ กลุ่มสาขาวิชาที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การกําหนดชื่อปริญญาให้ใช้ตามสาขาวิชาชีพนั้น ๆ เป็นหลัก ในทุกระดับปริญญา (บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต) สําหรับปริญญาเอกอาจกําหนดชื่อปริญญาเป็น ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตได้ กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ คือ
(๑) สาขาวิชากายภาพบําบัด (Physical Therapy) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับ ปริญญาตรีว่า กายภาพบําบัดบัณฑิต (Bachelor of Physical Therapy) หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบําบัด)
(๒) สาขาวิชาการบัญชี (Accountancy) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า บัญชีบัณฑิต (Bachelor of Accountancy) หรือ (Bachelor of Accounting)หรือบริหารธุรกิจบัณฑิต (บัญชี) (Bachelor of Business Administration) (Accountancy)หรือ (Bachelor of Business Administration) (Accounting)
(๓) สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine)ให้ใช้ชื่อปริญญา ในระดับปริญญาตรีว่า การแพทย์แผนไทยบัณฑิต (Bachelor of Thai Traditional Medicine)
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ให้ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (Bachelor of Applied Thai Traditional Medicine)
(๔) สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่าการแพทย์แผนจีนบัณฑิต (Bachelor of Traditional Chinese Medicine)
(๕) สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ (Medical Technology)ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า เทคนิคการแพทยบัณฑิต (Bachelor of Medical Technology)
(๖) สาขาวิชานิติศาสตร์ (Laws) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่านิติศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Laws)
(๗) สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (Nursing Science) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า พยาบาลศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Nursing Science)
(๘) สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Engineering)
(๙) สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ (Education) หรือสาขาวิชาครุศาสตรอุตสาหกรรม (Industrial Education, Technical Education) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ศึกษาศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Education) หรือครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต (Bachelor of Science in Industrial Education) หรือ (Bachelor of Science in Technical Education)
(๑๐) สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architecture) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Architecture) หรือภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร
บัณฑิต (Bachelor of Landscape Architecture)(๑๑) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Public Health)
๕.๒.๒ สาขาวิชาทางด้านวิชาชีพ ซึ่งมีระดับชั้นปริญญาตรีเป็นปริญญาสูงสุดให้ใช้ชื่อปริญญาตามสาขาวิชาชีพนั้น ๆ เป็นหลักในระดับชั้นปริญญาตรี สําหรับระดับชั้นปริญญาโทและปริญญาเอก ให้ใช้วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Science) และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต(Doctor of Science) สําหรับปริญญาเอกอาจกําหนดชื่อปริญญาเป็นปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy) ได้ กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ คือ
(๑) สาขาวิชาทันตแพทย์ศาสตร์ (Dentistry) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Dental Surgery)
(๒) สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต (Doctor of Optometry)
(๓) สาขาวิชาแพทยศาสตร์ (Medicine) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า แพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Medicine)
(๔) สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (Pharmacy) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า เภสัชศาสตรบัณฑิต (Doctor of Pharmacy)
(๕) สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ (Veterinary Medicine) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Veterinary Medicine)
๕.๓ ปริญญาประเภทกึ่งวิชาชีพและปฏิบัติการ๕.๓.๑ ประเภทกึ่งวิชาชีพ กลุ่มสาขาวิชาที่ไม่ได้กําหนดให้มีองค์กรวิชาชีพหรือกฎหมายรองรับแต่เป็นศาสตร์ในลักษณะเชิงวิชาชีพหรือกึ่งวิชาชีพ การกําหนดชื่อปริญญาให้ใช้ตามกลุ่มสาขาวิชาที่กําหนด การกําหนดชื่อปริญญาใหใช้ ้ตามสาขาวิชาชีพนั้น ๆ เป็นหลักในทุกระดับปริญญา(บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต) สําหรับปริญญาเอกอาจกําหนดชื่อปริญญาเป็นปรัชญาดุษฎีบัณฑิตได้ กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ คือ
(๑) สาขาวิชากายอุปกรณศาสตร์ ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า กายอุปกรณศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Prosthetics and Orthotics)
(๒) สาขาวิชาการจัดการ (Management) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า การจัดการบัณฑิต (Bachelor of Management)
(๓) สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ (Music) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ดุริยางคศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Music)
(๔) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Communication Arts) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า นิเทศศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Communication Arts)
(๕) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (Business Administration) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า บริหารธุรกิจบัณฑิต (Bachelor of Business Administration)
(๖) สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ (Public Administration) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Public Administration)
(๗) สาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (Fine and Applied Arts)ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ศิลปบัณฑิต (Bachelor of Fine Arts) หรือศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต(Bachelor of Fine and Applied Arts)
(๘) สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (Social Work) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Social Work)
(๙) สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ (Information Science) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า สารสนเทศศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Information Science)
ทั้งนี้ กรณีจัดทําหลักสูตรในสาขาวิชาประเภทกึ่งวิชาชีพหากสถาบันอุดมศึกษาใด จัดหลักสูตร โดยจัดเนื้อหาเป็นศาสตร์บริสุทธิ์ทางศิลปศาสตร์ หรือศาสตร์บริสุทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ให้ใช้ชื่อปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต หรือปรญญาว ิ ิทยาศาสตรบัณฑิตได้
๕.๓.๒ ประเภทปฏิบัติการ สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้มีลักษณะเป็นการนําวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประยุกต์ไปใช้พัฒนาความรู้และทักษะเชิงปฏิบัติการเฉพาะ ให้ใช้ชื่อปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต(Bachelor of Technology) และเทคโนโลยีมหาบัณฑิต (Master of Technology) หรืออุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Industrial Technology) และอุตสาหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต(Master of Industrial Technology) หรือชื่อปริญญาอื่น ที่แสดงให้เห็นการนําวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประยุกต์ไปใช้พัฒนาความรู้และทักษะเชิงปฏิบัติการเฉพาะ
ข้อ ๖ ชื่อปริญญาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และอักษรย่อปริญญาภาษาไทย ภาษาอังกฤษให้ใช้ ดังต่อไปนี้ชื่อปริญญาภาษาไทยและอักษรย่อ(ตามระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก) ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษและอักษรย่อ (ตามระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก)
๑. ปริญญาประเภทวิชาการ
๑.๑ ปริญญาศิลปศาสตร์
ศิลปศาสตรบัณฑิต ศศ.บ Bachelor of Arts B.A. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ศศ.ม. Master of Arts M.A. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศศ.ด. Doctor of Arts D.A.หรือ หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๑.๒ ปริญญาวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตรบัณฑิต วท.บ. Bachelor of Science B.S.,B.Sc. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วท.ม. Master of Science M.S.,M.Sc. วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต วท.ด. Doctor of Science D.S.,D.Sc. หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๑.๓ ปริญญาตามชื่อศาสตร์
ชื่อปริญญาภาษาไทยและอักษรย่อ(ตามระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก)ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษและอักษรย่อ (ตามระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก)
๑.๓.๑ สาขาวิชารัฐศาสตร์
รัฐศาสตรบัณฑิต ร.บ. Bachelor of Political Science B.Pol.Sc.
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ร.ม. Master of Political Science M.Pol.Sc.
รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต ร.ด. Doctor of Political Science D.Pol.Sc.
หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๑.๓.๒ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตรบัณฑิต ศ.บ. Bachelor of Economics B.Econ.
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต ศ.ม. Master of Economics M.Econ.
เศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศ.ด. Doctor of Economics D.Econ.
หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๒. ปริญญาประเภทวิชาชีพ
๒.๑ ชื่อปริญญาตามสาขาวิชาชีพ
๒.๑.๑ สาขาวิชากายภาพบําบัด
กายภาพบําบัดบัณฑิต กภ.บ. Bachelor of Physical Therapy B.PT.
กายภาพบําบัดมหาบัณฑิต กภ.ม. Master of Physical Therapy M.PT.
กายภาพบําบัดดุษฎีบัณฑิต กภ.ด. Doctor of Physical Therapy D.PT.
หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๒.๑.๒ สาขาวิชาการบัญชี
บัญชีบัณฑิต บช.บ. Bachelor of Accountancy หรือ Bachelor of Accounting Master of Accountancy หรือ Master of Accounting B.Acc. บัญชีมหาบัณฑิต บช.ม. M.Acc. บัญชีดุษฎีบัณฑิต บช.ด. Doctor of Accountancy หรือ Doctor of Accounting D.Acc. หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๒.๑.๓ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยบัณฑิต พท.บ. Bachelor of Thai Traditional Medicine B.TM. การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต พท.ม. Master of Thai Traditional Medicine M.TM. การแพทย์แผนไทยดุษฎีบัณฑิต พท.ด. Doctor of Thai Traditional Medicine D.TM.
ชื่อปริญญาภาษาไทยและอักษรย่อ (ตามระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก) ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษและอักษรย่อ (ตามระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก) หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D. การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต พทป.บ. Bachelor of Applied Thai Traditional Medicine B.ATM. การแพทย์แผนไทยประยุกต์มหาบัณฑิต พทป.ม. Master of Applied Thai Traditional Medicine M.ATM. การแพทย์แผนไทยประยุกต์ดุษฎีบัณฑิต พทป.ด. Doctor of Applied Thai Traditional Medicine D.ATM.หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๒.๑.๔ สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน การแพทย์แผนจีนบัณฑิต พจ.บ Bachelor of Traditional Chinese Medicine B.CM. การแพทย์แผนจีนมหาบัณฑิต พจ.ม. Master of Traditional Chinese Medicine M.CM. การแพทย์แผนจีนดุษฎีบัณฑิต พจ.ด. Doctor of Traditional Chinese Medicine D.CM. หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๒.๑.๕ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ เทคนิคการแพทยบัณฑิต เทคนิคการแพทยมหาบัณฑิต เทคนิคการแพทยดุษฎีบัณฑิต หรือ ทพ.บ. ทพ.ม. ทพ.ด. Bachelor of Medical
Technology Master of Medical Technology Doctor of Medical Technology หรือ B.MT. M.MT. D.MT. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๒.๑.๖ สาขาวิชานิติศาสตร์ นิติศาสตรบัณฑิต น.บ. Bachelor of Laws LL.B. นิติศาสตรมหาบัณฑิต น.ม. Master of Laws LL.M. นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต น.ด. Doctor of Laws LL.D. หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๒.๑.๗ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ พยาบาลศาสตรบัณฑิต พย.บ. Bachelor of Nursing Science B.N.S. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต พย.ม. Master of Nursing Science M.N.S.
พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต พย.ด. Doctor of Nursing Science D.N.S. หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๒.๑.๘ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วศ.บ. Bachelor of Engineering B.Eng. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วศ.ม. Master of Engineering M.Eng. วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต วศ.ด. Doctor of Engineering D.Eng.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๒.๑.๙ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ศึกษาศาสตรบัณฑิต ศษ.บ. Bachelor of Education B.Ed.ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ศษ.ม. Master of Education M.Ed.ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศษ.ด. Doctor of Education Ed.D., D.Ed หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D. และครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต ค.อ.บ. Bachelor of Science inIndustrial Education หรือ Bachelor of Science in Technical Education B.S.Ind.Ed. B.S.Tech.Ed. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต ค.อ.ม. Master of Science in Industrial Education หรือ Master of Science in Technical Education M.S.Ind.Ed. M.S.Tech.Ed. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต ค.อ.ด. Doctor of Science in Industrial Education หรือ Doctor of Science in Technical Education D.Ind.Ed., D.Tech.Ed. หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๒.๑.๑๐ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สถ.บ. Bachelor of Architecture B.Arch. สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สถ.ม. Master of Architecture M.Arch. สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สถ.ด. Doctor of Architecture D.Arch. หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D. ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต ภ.สถ.บ. Bachelor of Landscape Architecture B.L.A. ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ภ.สถ.ม. Master of Landscape Architecture M.L.A. ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภ.สถ.ด. Doctor of Landscape Architecture D.L.A. หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๒.๑.๑๑ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ส.บ.
ส.ม.
ส.ด.
ปร.ด.
Bachelor of Public Health
Master of Public Health
Doctor of Public Health
หรือ
Doctor of Philosophy
B.P.H.
M.P.H.
Dr.P.H.
Ph.D.
๒.๒ ชื่อปริญญาตามสาขาวิชาชีพ โดย ระดับปริญญาตรีเป็นปริญญาสูงสุด
๒.๒.๑ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์
ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ท.บ. Doctor of Dental Surgery D.D.S.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วท.ม. Master of Science M.S.,M.Sc.
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต วท.ด. Doctor of Science D.S.,D.Sc.
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๒.๒.๒ สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์
ทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ทศ.บ.
วท.ม.
วท.ด.
ปร.ด.
Doctor of Optometry
Master of Science
Doctor of Science
หรือ
Doctor of Philosophy
O.D.
M.S.,M.Sc.
D.S.,D.Sc.
Ph.D.
๒.๒.๓ สาขาวิชาแพทยศาสตร์
แพทยศาสตรบัณฑิต
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
พ.บ.
วท.ม.
วท.ด.
ปร.ด.
Doctor of Medicine
Master of Science
Doctor of Science
หรือ Doctor of Philosophy
M.D.
M.S.,M.Sc.
D.S.,D.Sc.
Ph.D.
๒.๒.๔ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ. Doctor of Pharmacy Pharm.D. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
วท.ม.
วท.ด.
ปร.ด.
Master of Science
Doctor of Science
หรือ Doctor of Philosophy
M.S.,M.Sc.
D.S.,D.Sc.
Ph.D.
๒.๒.๕ สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต สพ.บ. Doctor of Veterinary Medicine D.V.M. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
วท.ม.
วท.ด.
ปร.ด.
Master of Science
Doctor of Science
หรือDoctor of Philosophy
M.S.,M.Sc.
D.S.,D.Sc.
Ph.D.
๓. ปริญญาประเภทกึ่งวิชาชีพและปฏิบัติการ
๓.๑ ประเภทกึ่งวิชาชีพ
๓.๑.๑ สาขาวิชากายอุปกรณศาสตร์
กายอุปกรณศาสตรบัณฑิต กอ.บ. Bachelor of Prosthetics and
Orthotics
B.PO.
กายอุปกรณศาสตรมหาบัณฑิต กอ.ม. Master of Prosthetics and
Orthotics
M.PO.
กายอุปกรณศาสตรดุษฎีบัณฑิต กอ.ด. Doctor of Prosthetics and
Orthotics
D.PO.
หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. หรือ
Doctor of Philosophy Ph.D.
๓.๑.๒ สาขาวิชาการจัดการ
การจัดการบัณฑิต กจ.บ. Bachelor of Management B.M.
การจัดการมหาบัณฑิต กจ.ม. Master of Management M.M.
การจัดการดุษฎีบัณฑิต กจ.ด. Doctor of Management D.M.
หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด Doctor of Philosophy Ph.D.
๓.๑.๓ สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์
ดุริยางคศาสตรบณฑิต ดศ.บ. Bachelor of Music B.M.
ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต ดศ.ม. Master of Music M.M.
ดุริยางคศาสตรดุษฎีบัณฑิต ดศ.ด. Doctor of Music D.M.
หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๓.๑.๔ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ นิเทศศาสตรบัณฑิต นศ.บ. Bachelor of Communication Arts B.Com.Arts.
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต นศ.ม. Master of Communication Arts M.Com.Arts.
นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต นศ.ด. Doctor of Communication Arts D.Com.Arts.
หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๓.๑.๕ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บริหารธุรกิจบัณฑิต บธ.บ. Bachelor of Business Administration B.B.A. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บธ.ม. Master of Business Administration
M.B.A. บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด. Doctor of Business Administration D.B.A. หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๓.๑.๖ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ Bachelor of Public Administration รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต รป.บ. B.P.A.
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต รป.ม. Master of Public Administration M.P.A.
รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต รป.ด. Doctor of Public Administration D.P.A.
หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๓.๑.๗ สาขาวิชาทางวิจตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์
ศิลปบัณฑิต ศล.บ. Bachelor of Fine Arts B.F.A.หรือศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต ศป.บ. Bachelor of Fine and AppliedArtsศิลปมหาบัณฑิต ศล.ม. Master of Fine Arts M.F.A. หรือศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ศป.ม. Master of Fine and AppliedArts
ศิลปดุษฎีบัณฑิต ศล.ด. Doctor of Fine Arts D.F.A.หรือ ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศป.ด. Doctor of Fine and Applied
Arts หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๓.๑.๘ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต สส.บ. Bachelor of Social Work B.S.W.
สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สส.ม. Master of Social Work M.S.W.
สังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิต สส.ด. Doctor of Social Work D.S.W.
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๓.๑.๙ สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
สารสนเทศศาสตรบัณฑิต สท.บ. Bachelor of Information Science B.I.S.
สารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต สท.ม. Master of Information Science M.I.S.
สารสนเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สท.ด. Doctor of Information Science D.I.S.
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. Doctor of Philosophy Ph.D.
๓.๒ ประเภทปฏิบัติการ
๓.๒.๑ เทคโนโลยีบัณฑิต ทล.บ. Bachelor of Technology B.Tech.เทคโนโลยีมหาบัณฑิต ทล.ม. Master of Technology M.Tech.
๓.๒.๒ อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต อส.บ. Bachelor of IndustrialTechnology B.Ind.Tech. อุตสาหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต อส.ม. Master of Industrial Technology M.Ind.Tech.
ข้อ ๗ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ หรือมีความจําเป็นต้องกําหนด ชื่อปริญญา ที่นอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา และให้ถือคําวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/158/6.PDF