แห่ส่างลอง หรือแห่ลูกแก้ว..(บวชลูกแก้ว)..
.....ช่วงเวลา กลางเดือนมีนาคม-ต้นเดือนเมษายน
ความสำคัญ
๑. เป็นการอนุรักษ์ประเพณีที่มีมาแต่เดิม
๒.ให้เด็กนักเรียนได้ใช้เวลาระหว่างปิดภาคเรียนได้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา
๓. พ่อแม่ผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเข้าบวชถือเป็นอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่
พิธีกรรม
ลักษณะการบวชเณรของชาวเหนือจะมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ
๑. แบบข่านหลิบ (บวชเรียบง่าย) คือผู้ที่ตกลงใจบวช พ่อแม่ผู้อุปถัมภ์ก็จะนำผู้ที่จะบวชไปโกนหัวนุ่งผ้าขาวพร้อมด้วยสำรับกับข้าวแบบข้าวหม้อแกงหม้อ ไปวัดให้กับพระภิกษุสงฆ์ทำพิธีบวชเณรให้ก็เป็นอันเสร็จ
๒. การบวชเณรโดยมีการแหล่ส่างลอง(แห่ลูกแก้ว)ซึ่งจะมีการแต่งตัวให้กับลูกแก้วอย่างสวยงาม มีการตกแต่งปะรำพิธี โดยแต่งตัวให้เด็กในลักษณะของส่างลองอย่างสวยงามเมื่อพร้อมกันหมดแล้วส่างลองทั้งหมดก็จะไปรับศีลจากพระ...........
จากนั้นก็จะนำส่างลองขี่คอ(ถ้าเด็กตัวเล็ก) ขี่ม้า ขี่ช้าง นั่งรถ ที่ตกแต่งอย่างสวยงามแห่แหนไปรอบตัวเมือง ขบวนแห่จะมีการละเล่นมีดนตรีของพม่าประกอบการแห่อย่างครึกครื้นมีการเอาส่างลองเดินพร้อมกับโปรยข้าวตอกดอกไม้อย่างสนุกสนาน ขบวนส่างลองจะถูกนำไปยังบ้านของพ่อแม่หรือผู้ที่บวชเพื่อให้ดูตัว (ส่างลองจะไม่กราบไหว้ผู้บวชให้นอกจากพ่อแม่เท่านั้น เพราะถือว่าส่างลองคือเจ้าชายผู้มีบุญอันยิ่งใหญ่มีศักดิ์สูงมาก) แล้วจะแห่ส่างลองไปยังศาลเจ้าเมืองแล้วจึงแห่กลับมาที่วัด ถ้าต้องการแห่หลายรอบก็ใช้เวลา ๒ วัน ถ้าแห่รอบเดียวก็ใช้เวลา ๑ วัน
เมื่อมาถึงวัดก็จะนำส่างลองไปโกนผม อาบน้ำแต่งตัวด้วยผ้าขาว แล้วจัดสำรับกับข้าวด้วยอาหาร ๑๒ อย่าง ขาดเกินไม่ได้ เสร็จแล้วจึงมีการทำขวัญแล้วทำการบวชเณร การบวชมักนิยมบวชกันตอนเย็น หรือไม่ก็ตอนเช้า เมื่อบวชเณรแล้วก็จะมีการฉลองโดยการถวายภัตตาหารแก่พระใหม่และพระภิกษุของวัดทั้งหมด ตลอดจนมีการเลี้ยงผู้มาร่วมงานอย่างเต็มที่รับฟังธรรมะ จึงเป็นอันเสร็จพิธี
สาระ
แหล่ เป็นภาษาไทยใหญ่ว่าหมายถึง แห่ ส่างลอง หมายถึง ลูกแก้ว ชาวไทยใหญ่และชาวไทยผู้นับถือพุทธศาสนาในภาคเหนือมักจะบวชเณรลูกหรือหลานของตนเองในช่วงปิดภาคเรียนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายนของทุกๆ ปี เนื่องจากว่างจากการทำงานและลูกหลานไม่ได้ไปโรงเรียน ทั้งต้องการให้ลูกหลานมีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าในช่วงปิดเทอม การจัดงานบวชลูกแก้ว(แหล่ส่างลอง)นั้น ถือว่าผู้ที่บวชลูกชายตนเองจะได้บุญหรืออานิสงส์มากถึง ๗ กัลป์ ถ้าบวชลูกชายคนอื่นจะได้บุญ ๔ กัลป์ และถ้าได้บวชลูกชายตนเองเป็นพระภิกษุ จะได้บุญ ๑๖ กัลป์ ถ้าบวชลูกชายคนอื่นเป็นภิกษุจะได้บุญ ๘ กัลป์ จึงมักจะมีผู้ที่มีฐานะดีหลายคนนิยมหาเด็กผู้ชายมาบวช โดยจะไปทาบทามจากผู้ปกครองที่มีฐานะยากจนและถือเป็นการสร้างบุญกุศลร่วมกัน.
ขอบคุณที่มาข้อมูล ประเพณี.คอม
ภาพบรรยากาศ.... ประเพณีการบวชเณร..
ภาพที่เห็นคือ บรรดา"พ่อนาคน้อย"ในชุดห่มนาคสีขาวบริสุทธิ์สะอาดตาสะอ้านจิต จำนวน 109 คน กำลังนั่งขัดสมาธิมองหน้าผู้เป็นพ่อเป็นแม่อยู่กลางศาลา....
ลำดับถัดมา...เสียงเพลง "ค่าน้ำนม" ที่ดังก้องศาลาวัด
"แม่นี้...มีบุญคุณอันใหญ่หลวง..." ผสมผสานกับสียงสะอื้นของพ่อนาคน้อย ที่เกาะกอดเอวผู้เป็นแม่และพ่อไว้อย่างแนบแน่น บางคนร่างกายสั่นระริก ร่ำไห้ น้ำตาล้นทะลักสองข้างแก้มน้อง
แม้จะชินตากับภาพบวช อุปสมบทหรือบรรพชา...ในทุกที่ทุกครั้งของการทำขวัญนาคที่
มักจะเกิดรูปรอยแห่งความรักความผูกพันในสายเลือดผ่านเม็ดน้ำตาและก้อนสะอื้น....
ระหว่างลูกกับบุพการี
นาคน้อยโปรดทราบ....จั๊ดแถว...(ดูจากโทรโข่งแล้ว...กะว่าประมาณนี้นะ)
หวังพระธรรมคุณและจริยวัตรในธรรมสถานแห่งนี้จะบ่มเพาะจิตใจลูกน้อยให้เป็นคนดี...
เถอะ...ลูกน้อยของแม่ หวังเพียงลูกเป็นคนดี โตตนเต็มวัยเป็นคนคุณธรรมของสังคม...นะ
สู่ร่มกาสาวพัตร์อันผ่องพิสุทธิ์
นี่คือ กิจกรรมตามกลยุทธ์คุณธรรมนำความรู้ของโรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์)
ร่วมกับวัดเจ็ดยอด (อารามหลวง) จ.เชียงราย เพื่อพัฒนาจิตใจและคุณธรรมเด็ก ในช่วงปิดเทอม
พี่สอนน้อง
บ่มเพาะหน่อเชื้อเพื่อโตเติบ อย่างอิ่มเอิบอุ่นธรรมนำสมัย ได้ธงธรรมนำทางอย่างเต็มวัย เป็นเด็กไทยมีต้นทุน "คุณธรรม"
ให้ตามรอยตถาคตบทวิถี สู่ถนน "คนดี"ที่แม่หวัง เป็นผู้ใหญ่วันพรุ่งนี้มีพลัง ให้เปล่งปลั่งดั่งแก้วเจียระไน