ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

แบงก์โลกชี้บัณฑิตไทยมีมากขึ้นแต่คุณภาพลดลง


ข่าวการศึกษา 13 ก.ค. 2559 เวลา 07:02 น. เปิดอ่าน : 9,795 ครั้ง
Advertisement

แบงก์โลกชี้บัณฑิตไทยมีมากขึ้นแต่คุณภาพลดลง

Advertisement

[เดลินิวส์]-ธนาคารโลกชี้คุณภาพแรงงานไทยถดถอยฉุดรั้งโอกาสก้าวออกจากกับดักรายได้ปานกลาง เผยแรงงาน 1 ล้านคนว่างงานเฉลี่ย 6 เดือนทุกปี ส่วนที่เหลือมีแต่ทักษะการทำงานซ้ำๆ ย้ำทักษะแรงงานอนาคตต้องเน้นสร้างทักษะคิดสร้างสรรค์ เป็นจุดต่างจากทักษะประจำ ในขณะที่บัณฑิตมีจำนวนมากขึ้น แต่คุณภาพกลับลดต่ำลง

วันนี้(12ก.ค.) สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และธนาคารโลก ได้จัดเสวนา "เดินหน้าการศึกษาไทยอย่างไรให้ตอบโจทย์ ‘Thailand Economy 4.0’ จากมุมมองนักเศรษฐศาสตร์การศึกษารุ่นใหม่" โดยดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารโลก กล่าวว่า ประเทศไทยมีกำลังแรงงานในช่วงอายุ 15-65 ปี ราว 37 ล้านคน แต่กลับขาดแคลนแรงงานฝีมือซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในมุมของผู้ประกอบการ ส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศถดถอยลงมาตั้งแต่พ.ศ.2550 อีกทั้งค่าจ้างของแรงงานทุกกลุ่มลดลงรุนแรง และยังมีแนวโน้มซบเซามากกว่า 10 ปีที่แล้ว ก่อนเริ่มนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งสวนทางกับอัตราการศึกษาของแรงงานไทยที่ดีขึ้นถ้านับตามจำนวนปีการศึกษา แต่อย่างไรก็ตามแม้ประเทศไทยมีปริมาณบัณฑิตเข้าสู่ตลาดแรงงานจำนวนมาก แต่กลับขาดทักษะที่นายจ้างต้องการ ทำให้ต้องยอมทำงานรับค่าจ้างต่ำกว่าวุฒิ และออกไปอยู่ในภาคการผลิตที่ไม่เป็นทางการ ขณะที่แรงงานระดับล่างกว่า 1 ล้านคนประสบปัญหาว่างงานเป็นประจำอย่างน้อย 6 เดือนทุกปีเพราะขาดทักษะที่นายจ้างต้องการเช่นกัน

ดร.ดิลกะ กล่าวต่อไปว่า แม้อัตราการเข้าเรียนต่ออุดมศึกษาของไทยจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่บัณฑิตที่จบออกมากลับมีความสามารถต่ำลง จากผลทดสอบนานาชาติ PISA พบว่านักเรียนไทยจำนวนมากยังขาดทักษะที่จำเป็นต่อการประสบความสำเร็จในอาชีพ หรือการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น โดย 1 ใน 3 ของนักเรียนไทยที่อายุ 15ปี รู้หนังสือไม่เพียงพอที่จะใช้งานได้ และยังมีช่องว่างของทักษะขั้นพื้นฐานอย่างการอ่านของเด็กไทยเปรียบเทียบในชนบทและในเมืองที่ต่างกันมากถึง 3 ปีการศึกษา หากเปรียบเทียบกับเวียดนาม จะพบว่าความสามารถของนักเรียนเวียดนามแซงหน้าเด็กไทยถึง 1.5 ปีการศึกษา จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติเมินลงทุนในประเทศไทย และเบนเข็มไปลงทุนและย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เพราะคุณภาพแรงงานของไทยไม่พัฒนา ยังไม่นับรวมปัจจัยด้านคุณภาพของระบบราชการไทยและตัวชี้วัดด้านธรรมาภิบาลที่ดีลดลง ขณะที่ประเทศอื่นๆปรับปรุงดีขึ้น

ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังมุ่งหน้าสู่ Economy 4.0 ด้วย Education 2.0 จึงไม่สามารถช่วยให้ผู้ที่เรียนจบปรับตัวเข้ากับโลกของการทำงานได้ เกิดปัญหาช่องว่างทางทักษะที่จะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพราะเศรษฐกิจปรับตัว แต่แรงงานไทยปรับตัวไม่ทัน ทำงานไม่ได้ตามที่นายจ้างคาดหวัง ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ได้ร่วมกับสสค.ทำวิจัยประเด็นช่องว่างทักษะเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต ตราด และอีก 14 จังหวัดพบว่า ช่องว่างทักษะสูงที่สุด 3 อันดับแรก ในกลุ่มจังหวัดที่มีระดับการพัฒนาเทียบเท่ากับ Economy 2.0 และกำลังพัฒนาไปสู่ Economy 3.0 คือ 1.ทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศอื่นๆ 2.ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ และ 3.ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต สำหรับในส่วนจังหวัดที่มีระดับการพัฒนาเทียบเท่ากับ Economy 3.0 และกำลังก้าวไปสู่ Economy 4.0 พบว่า มีช่องว่างทักษะเพิ่มขึ้นทุกประเด็น ถ้าไม่นับปัญหาภาษาต่างประเทศ โดยช่องว่างทักษะสูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1. ความรู้เฉพาะตามตำแหน่งงานที่ทำ 2.การแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงาน และ 3.ความสามารถในการเรียนรู้งาน

ดร.เกียรติอนันต์ กล่าวอีกว่า หากเทียบกับผลสำรวจของสหราชอาณาจักรและแคนาดา พบว่าประเทศไทยมีปัญหาช่องว่างทักษะรุนแรงกว่าทั้งสองประเทศถึงเท่าตัว และหากเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันของทุนมนุษย์กับประเทศอื่นๆในเอเชียพบว่า ยังไม่ดีเท่ามาเลเซีย จีนและสิงคโปร์ ทั้งยังได้คะแนนคุณภาพการศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ต่ำกว่าประเทศเวียดนามที่เริ่มต้นช้ากว่า 15-20 ปี หรือแม้แต่ฟิลิปปินส์ที่มีรายได้ต่อหัวต่ำกว่าไทย

" การศึกษาไทยในโลกยุคใหม่ต้องก้าวสู่การคิดวิเคราะห์ ค้นคว้าสิ่งใหม่ แต่ไทยยังท่องจำเพื่อไปสอบ ถ้าเรายังไม่ปรับตัวตอนนี้ เราอาจจะไม่ใช่สิ้นชาติ แต่จะหมดโอกาสในการสร้างชาติ ดังนั้นการศึกษาจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับคุณภาพแรงงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสู่ยุค Thailand Economy 4.0 แต่ระบบการศึกษาที่จะตอบโจทย์นี้ต้องเปลี่ยนวิธีการสอน ลดการเรียนรู้เชิงเทคนิค และการท่องจำ แต่ให้น้ำหนักกับการสร้างทักษะการเรียนรู้และปรับตัวของผู้เรียนให้สามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต และจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่และกลุ่มจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งมีวิธีการประเมินผลการเรียนแตกต่างจากปัจจุบันที่เน้นการสอบเพียงอย่างเดียว" ดร.เกียรติอนันต์ กล่าว

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค.กล่าวว่า พายุไต้ฝุ่นระดับ 5 กำลังทำลายตลาดแรงงานไทย สถานการณ์เลิกจ้าง ตัวเลขบัณฑิตตกงานจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจโลกที่กำลังเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ในอีก 5 ปีถัดจากนี้ จะเน้นการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ โดยเฉพาะแรงงานที่ใช้ “ทักษะการทำซ้ำเป็นประจำ” (Routine Skill) จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ซึ่งมีประสิทธิภาพการผลิตที่สูงกว่ามนุษย์และมีต้นทุนต่อหน่วยที่ถูกกว่า ดังนั้นแรงงานที่จะไม่ถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีจึงต้องเป็นแรงงานที่มี “ทักษะที่ไม่ทำซ้ำเป็นประจำ (Non-Routine Skill) หรือเป็นทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 คือ ทักษะคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดวิเคราะห์ (Creative & Critical Thinking Skills) ซึ่งจะสามารถสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งทางธุรกิจในตลาดได้ สอดคล้องกับผลสำรวจความต้องการแรงงานของนายจ้างและองค์กรเกิดใหม่ในปี 2557 ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment: PISA) พบว่านายจ้างขององค์กรในศตวรรษที่ 21 คาดหวังให้พนักงานในองค์กรมีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) มากที่สุด

ดร.ไกรยส กล่าวอีกว่า สสค.เป็นหนึ่งในองค์กรการศึกษาจาก 14 ประเทศทั่วโลกที่ OECD เชิญเข้าร่วมนำร่องเครื่องมือวัดประเมินทักษะด้านการคิดวิเคราะห์คิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะมีการประกาศใช้จริงครั้งแรกในพ.ศ.2564 เพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้ประเทศต่างๆเร่งพัฒนาทักษะแห่งอนาคตเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ต่อเนื่องได้ในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ส่วนทักษะซ้ำๆจะหมดโอกาสในการทำงาน

 

ขอบคุณเนื้อหาและอ่านเพิ่มเติมได้ที่ เดลินิวส์ วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม 2559 เวลา 19.51 น.
 

เตาปิ้งย่างไม่ง้อไฟฟ้า Lucky Flame เตาย่างปิคนิค ใช้แก๊สกระป๋อง ตะแกรงสแตนเลส LF-90G ในราคา ฿1,029

https://s.shopee.co.th/10n3MpBmWf?share_channel_code=6


แบงก์โลกชี้บัณฑิตไทยมีมากขึ้นแต่คุณภาพลดลง

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 13/2567 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2567

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 13/2567 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2567

เปิดอ่าน 2,173 ☕ 26 ธ.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568
คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568
เปิดอ่าน 194 ☕ 8 ม.ค. 2568

ครม.อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดการประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา(ฉบับที่..) พ.ศ. ....
ครม.อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดการประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา(ฉบับที่..) พ.ศ. ....
เปิดอ่าน 482 ☕ 8 ม.ค. 2568

นายกฯ เชิญชวนคนไทยร่วมงานวันครู ครั้งที่ 69 พ.ศ. 2568 ภายใต้แนวคิด "เรียนดี มีความสุข : ครูไทยร่วมใจปฏิวัติการศึกษา" สร้างเด็ก "ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ" วันที่ 16 มกราคม 2568
นายกฯ เชิญชวนคนไทยร่วมงานวันครู ครั้งที่ 69 พ.ศ. 2568 ภายใต้แนวคิด "เรียนดี มีความสุข : ครูไทยร่วมใจปฏิวัติการศึกษา" สร้างเด็ก "ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ" วันที่ 16 มกราคม 2568
เปิดอ่าน 320 ☕ 8 ม.ค. 2568

แนวทางการใช้จ่ายเงินและหลักเกณฑ์วิธีการจัดสรรงบประมาณกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา
แนวทางการใช้จ่ายเงินและหลักเกณฑ์วิธีการจัดสรรงบประมาณกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา
เปิดอ่าน 408 ☕ 7 ม.ค. 2568

"ธนุ" เล็งให้ ผอ.โรงเรียน ทำหน้าที่จัดซื้อจัดจ้างแทนครู
"ธนุ" เล็งให้ ผอ.โรงเรียน ทำหน้าที่จัดซื้อจัดจ้างแทนครู
เปิดอ่าน 1,859 ☕ 7 ม.ค. 2568

"ศธ.ย้ำ!" ระบบ TRS ยื่นขอย้าย เน้นเหตุผลไม่เน้นผลงาน เริ่ม 16 ม.ค.นี้เป็นต้นไป
"ศธ.ย้ำ!" ระบบ TRS ยื่นขอย้าย เน้นเหตุผลไม่เน้นผลงาน เริ่ม 16 ม.ค.นี้เป็นต้นไป
เปิดอ่าน 417 ☕ 7 ม.ค. 2568

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

นร.ยืน หัวดีกว่า นร.นั่งเรียนปกติ
นร.ยืน หัวดีกว่า นร.นั่งเรียนปกติ
เปิดอ่าน 11,376 ครั้ง

7 ยี่ห้อน้ำดื่มไฮโซ แพงที่สุดในโลก
7 ยี่ห้อน้ำดื่มไฮโซ แพงที่สุดในโลก
เปิดอ่าน 28,224 ครั้ง

หายใจผิด ตัวการทำลายผิว
หายใจผิด ตัวการทำลายผิว
เปิดอ่าน 10,336 ครั้ง

เทคนิคการวิ่งไม่ให้ปวดเข่า
เทคนิคการวิ่งไม่ให้ปวดเข่า
เปิดอ่าน 33,512 ครั้ง

ลมมรสุม
ลมมรสุม
เปิดอ่าน 22,334 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ