Advertisement
❝ โครงการรณรงค์ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในหรือบนยานพาหนะของกระทรวงสาธารณสุข ❞
เมื่อวันที่ 10 เมษายน เวลา 13.00 น. นางประณอม จันทรภักดี ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานรณรงค์ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในหรือบนยานพาหนะ ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง กทม. เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล 7 วันอันตรายฉลองสงกรานต์ วันที่ 10-16 เมษายนนี้ พร้อมปล่อยขบวนยมบาล ฉุดกระชาก ลาก จับวิญญาณ นักดื่มจอมซิ่งรถแหกโค้งตายยกคัน คาราวานรถปลอดเหล้า เราปลอดภัยและแจกถุงผ้า สติ๊กเกอร์ห้ามขายเหล้าให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี สติ๊กเกอร์กำหนดเวลาขายเหล้าตามกฎหมาย พัด น้ำดื่มบรรจุขวด และผ้าเช็ดหน้า 2,000 ชิ้น พร้อมประชาสัมพันธ์ย้ำเตือนมาตรการการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกระทรวงสาธารณสุข ให้ประชาชนที่รอโดยสารรถไฟกลับภูมิลำเนา
นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้สาเหตุการบาดเจ็บของคนไทยอันดับ 1 มาจากอุบัติเหตุจราจร ซึ่งร้อยละ 40 เกิดจากเมาสุรา โดยผลสำรวจล่าสุดในปี 2550 พบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ดื่มสุราจำนวน 14 ล้าน 9 แสนคน หรือทุกๆ 4 คน จะมีคนดื่มเหล้า 1 คน ผู้ชายดื่มมากกว่าผู้หญิง 6 เท่าตัว และอยู่ในเขตนอกเทศบาลมากกว่าในเขตเทศบาล เครื่องดื่มมึนเมา 3 ประเภทแรกที่ดื่มมากที่สุด ได้แก่ เบียร์ร้อยละ 46 รองลงมาคือเหล้าขาว ร้อยละ 39 และเหล้าสีร้อยละ 11 โดยคนในเขตเทศบาลนิยมดื่มเบียร์มากที่สุด ส่วนคนนอกเขตเทศบาลนิยมดื่มเหล้าขาวกันมาก แนวโน้มในรอบ 11 ปีมานี้ คนติดเหล้ามากขึ้น จาก 7 ล้านคน ในปี 2539 เพิ่มเป็น 10 ล้านคน ในปี 2550 จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงในสังคมไทย โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้
นายมานิตกล่าวว่า ปีนี้กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ทุกจังหวัด รณรงค์ควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในหรือบนยานพาหนะ ซึ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์มักจะพบว่าประชาชนนิยมนั่งดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้บนยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นคนขับหรือคนนั่งก็ตาม เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุทั้งการขับรถเฉี่ยวชนคนอื่น หรือเมาแล้วพลัดตกรถ นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขยังควบคุมการจำหน่ายเหล้าเพียงวันละ 2 เวลาเท่านั้น คือ 11.00-14.00 น. และ 17.00-24.00 น. ห้ามขายเหล้าให้คนเมา รวมทั้งห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี หากฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ จะมีผลต่อการควบคุมการทำงานของสมอง โดยหากมีแอลกอฮอล์ในเลือด 30 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะทำให้เกิดสนุกสนานร่าเริง หากมีระดับ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะเสียการควบคุมการเคลื่อนไหว โอกาสเกิดอุบัติเหตุเป็น 2 เท่าของคนไม่ดื่ม หากมีระดับ 100 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะทำให้เดินเซ ไม่ตรงทาง โอกาสเกิดอุบัติเหตุจะเพิ่มเป็น 6 เท่า ถ้ามีระดับ 200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะเกิดการสับสน พูดจาไม่รู้เรื่อง ความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจะมากกว่า 40 เท่า และหากมี 300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์จะง่วงซึม และถ้ามากกว่า 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ อาจทำให้สลบถึงขั้นเสียชีวิต
ที่มา http://www.matichon.co.th
วันที่ 11 เม.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,194 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,134 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 1,238 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,011 ครั้ง |
เปิดอ่าน 52,221 ครั้ง |
เปิดอ่าน 107,381 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,621 ครั้ง |
|
|