"ดาว์พงษ์" เรียก สพฐ.รายงานข้อมูลค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ที่ผู้ปกครองจำเป็นต้องจ่ายและไม่จำเป็นต้องจ่าย วันที่ 1 ก.ค.นี้ โดยเชิญผู้บริหาร ร.ร.ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ มาร่วมหารือด้วย เพื่อนำมาพิจารณาปรับเรียนฟรี 15 ปี ด้าน สพฐ.ตั้งคณะทำงานลงเก็บข้อมูลเตรียมสรุปรายละเอียดร่วมกัน 30 มิ.ย.นี้ ระบุหากอุดหนุนต้องทำเท่าเทียมกันทั้ง 7 ล้านคน เว้นเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่อง ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตั้งแต่อนุบาล 1pมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า โดยได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ไปรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการจัดการเรียน ทั้งในส่วนที่ผู้ปกครองต้องจ่ายเอง เพื่อจะมาดูว่า รายการไหนบ้างที่ผู้ปกครองอาจไม่จำเป็นต้องจ่าย เพื่อปรับปรุงรายละเอียด โดยวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ได้ให้ สพฐ.นำข้อมูลดังกล่าวมารายงานและเชิญผู้บริหารโรงเรียนขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก มาหารือร่วมกัน
"ที่ผ่านมามีข้อร้องเรียนว่า เรียนฟรีไม่ฟรีจริง จึงขอให้ สพฐ.ไปดูรายละเอียดทั้งหมดอีกครั้งว่า รายการใดบ้างที่โรงเรียนเรียกเก็บเพิ่มจากผู้ปกครอง เป็นเงินจำนวนเท่าไร และสมเหตุสมผลกันหรือไม่ หรือรายการใดที่ผู้ปกครองจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง เช่น ห้องเรียนอิงลิชโปรแกรม (English program : EP) ที่รัฐไม่สามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด หรือบางกิจกรรมในโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ต้องพาเด็กออกไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน ควรจะมีค่าใช้จ่ายจากรัฐมาช่วยสนับสนุนหรือไม่ เพื่อเป็นการลดภาระผู้ปกครอง โดยในคำสั่ง คสช. เพิ่มรายการเรียนฟรี จากเดิมมี 5 รายการ เป็น 6 รายการ เพื่อเปิดช่อง ค่าใช้จ่ายอื่นตามที่ ครม.เห็นชอบ แต่ต้องดูสภาวะการเงินการคลังของประเทศด้วย" พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าว
สำหรับงบประมาณที่จะนำมาใช้ในส่วนที่รัฐจะสนับสนุนเพิ่มเติมนั้น ได้มอบหมายให้ สพฐ.ไปดูงบของตัวเองก่อนว่ามีงบส่วนใดเหลือจ่ายที่สามารถเกลี่ยมาสนับสนุนได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากไม่พอก็จะเสนอของบกลางเพิ่มเติมแทน
ทั้งนี้การจัดสรรงบ สพฐ.จะใช้หลักการเงินอุดหนุนรายหัวตามจำนวนเด็กในรูปแบบเดียวไม่ได้ จะมีการบริหารจัดการให้ทั่วถึงด้วย ซึ่งจะใช้เงินที่กระทรวงศึกษาธิการมีให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้กระทรวงศึกษาฯ เร่งดำเนินโครงการซ่อมแซมบ้านพักครูของ สพฐ.ที่มีอยู่ประมาณ 4 หมื่นกว่าโรง ให้แล้วเสร็จภายในปี 2560 จากแผนเดิมกำหนดให้การซ่อมแซมบ้านพักเสร็จในปี 2561 ด้วย
ด้าน นายชลำ อรรถธรรม ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. กล่าวว่า ได้ตั้งคณะทำงานลงไปดูว่าประเด็นใดบ้างที่ผู้ปกครองได้รับความเดือดร้อน และอะไรที่โรงเรียนยังขาดแคลน ซึ่งวันที่ 30 มิถุนายนนี้ จะประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานรายงาน รมว.ศึกษาธิการ หากจะมีการจัดสรรรายงานเรียนฟรีเพิ่มเติมต้องอุดหนุนให้นักเรียนทั้ง 7 ล้านคน อย่างเท่าเทียม ยกเว้นกลุ่มเด็กพิเศษ ที่อาจต้องได้รับ
ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก