Advertisement
ความรู้ใหม่” จากการเจาะลึกพันธุกรรมมนุษย์
|
ผ่านมากว่า 6 ปีแล้ว นับจากวันที่ 26 มิถุนายน 2543 ที่ประธานาธิบดีบิล คลินตัน สหรัฐอเมริกา และนายกรัฐมนตรี โทนี แบลร์ แห่งอังกฤษ ร่วมกันประกาศความสำเร็จในการที่นักวิทยาศาสตร์ถอดรหัสพันธุกรรมหรือจีโนมมนุษย์
และจากการถอดรหัสพันธุกรรมดังกล่าว ทำให้เราทราบว่า
- มนุษย์แต่ละคนมีลำดับเบสเหมือนกัน 99.9% และมีความต่างกัน 0.1%
- ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างมนุษย์แต่ละคนตรงส่วนลำดับเบสที่ต่างกัน 0.1 % นี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงลำดับเบสบนสายดีเอ็นเอเพียงตำแหน่งเดียว ที่เรียกว่า สนิป หรือ SNP (Single Nucleotide Polymorphism)
:: ความรู้เดิม...ความแตกต่างระหว่างบุคคลเกิดจาก SNP
การเปลี่ยนลำดับเบสบนดีเอ็นเอจาก CTAAGTA เป็น CTACGTA เพียงตำแหน่งเดียว ที่เรียกว่า SNP ทำให้มนุษย์แต่ละคนแตกต่างกันออกไป เช่น ผิวสีต่างกัน มีความแข็งแรงต่างกัน เป็นโรคต่างกัน มีการตอบสนองต่อยาแตกต่างกัน เป็นต้น โดย SNP ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมโดยผ่านกระบวนการจำลองตัวของดีเอ็นเอ (DNA replication) จากชนรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นถัดไป
ด้วยความรู้เรื่อง SNP ทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายสถาบันทั่วโลกศึกษาและการวิเคราะห์เจาะลึก SNP ในสายดีเอ็นเอ โดยมีเป้าหมายหลักในการค้นหารหัสลับ ที่เชื่อมโยงกับโรคชนิดต่างๆ รวมทั้งศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์ นำไปสู่การจัดตั้งโครงการ International HapMap Project
:: ความรู้ใหม่...ความแตกต่างระหว่างบุคคลเกิดจาก SNP และ CNV
สตีเฟน เชเรอร์ (Stephen Scherer) และคณะ จากมหาวิทยาลัยโตรอนโต ประเทศแคนาดา และชาร์ล ลี (Charles Lee) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาความแตกต่างทางพันธุกรรมของมนุษย์เพื่อเชื่อมโยงสาเหตุของความไวต่อโรคต่างๆ พบว่าลักษณะพันธุกรรมที่แตกต่างกันของมนุษย์ ไม่ได้มีสาเหตุมาจากสนิปอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีสาเหตุจากการกลายพันธ์ชนิดที่เรียกว่าการแปรผันของจำนวนชุดดีเอ็นเอ (Copy Number Variation, CNV) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงลำดับเบสซ้ำโดยการเพิ่มหรือลดจำนวนเบสมากกว่าตำแหน่งเดียว เช่น การเพิ่มจำนวนของเบสจาก ABC เป็น AAAABC เป็นต้น
ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์คงอาศัยการเปรียบเทียบและวิเคราะห์สนิปอย่างเดียวดังที่ศึกษาวิจัยกันไม่ได้เสียแล้ว จำเป็นต้องวิเคราะห์และศึกษาแผนที่
การเปลี่ยนแปลงลำดับเบสที่เรียกว่า CNV ทำให้คนรุ่นต่อไปได้ข้อมูลทางพันธุกรรมที่แตกต่างไปจากเดิม หรือมีรหัสลับ ที่แตกต่างจากของเดิม ซึ่งมีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนในเซลล์ ซึ่งหากส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชนิดของโปรตีนไปจากเดิม หรือที่ควรจะเป็นแล้ว อาจทำให้ลักษณะหรือการทำงานบางอย่างของเซลล์ในร่างกายคนเปลี่ยนไปด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน
1. Human genome more variable than previously thought (23 November 2006)
http://www.nature.com/news/2006/061120/full/061120-9.html
2. Missing pages from The Book of Life (23 November 2006)
http://www.sanger.ac.uk/Info/Press/2006/061122.shtml
3. Human DNA is far more varied than thought
http://www.newscientist.com/channel/being-human/dn10646-human-dna-is-far-more-varied-than-thought.html
4. Genetic jot that makes us unique (23/November/2006)
http://www.timesonline.co.uk/article/0,,3-2466842,00.html#cid=OTC-RSS&attr=World
หากเชื่อมโยงความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เก่า เพื่อศึกษาแผนที่พันธุกรรมที่ก่อให้เกิดโรคทั้งโรคทางร่างกายและโรคทางระบบประสาท รวมทั้งการศึกษาในแง่ของวิวัฒนาการ จะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อมนุษย์
CNV ด้วย
เร็วกว่ากำหนด 2 ปี เปรียบเสมือนการเปิดเผยความลับในพิมพ์เขียวของมนุษย์ที่ใช้กำหนดลักษณะต่างๆ ของมนุษย์เรา ซึ่งจะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางการเกษตร การแพทย์ อย่างก้าวกระโดด |
|
วันที่ 10 เม.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,411 ครั้ง เปิดอ่าน 7,412 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,176 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,878 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 15,446 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,790 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,345 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,253 ครั้ง |
เปิดอ่าน 33,192 ครั้ง |
|
|