ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

นักเรียนนักศึกษา คือผู้บริโภคที่จะไม่ได้รับการคุ้มครองจริงหรือ?


ข่าวการศึกษา 27 พ.ค. 2559 เวลา 09:15 น. เปิดอ่าน : 5,527 ครั้ง
Advertisement

นักเรียนนักศึกษา คือผู้บริโภคที่จะไม่ได้รับการคุ้มครองจริงหรือ?

Advertisement

"การศึกษา" มีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรของประเทศอย่างมาก แต่การศึกษาของประเทศไทย กลับกำลังมีปัญหา ทั้งความเหลื่อมล้ำในโอกาสการศึกษาที่ไม่ทั่วถึง คุณภาพการสอน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนอยู่ในระดับต่ำ และการส่งเสริมสถานศึกษา ฯลฯ นอกจากนี้ปัญหาระดับนโยบายการขาดความต่อเนื่องเชิงนโยบายยิ่งเป็นสิ่งฉุดรั้งให้คุณภาพการศึกษาไทยอยู่รั้งท้ายอันดับโลก โดยอยู่อันดับ 8 ของอาเซียนด้วยซ้ำ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะต้องมองดูว่าระบบการบริหารการศึกษาของประเทศเป็นเช่นไร ทั้งนี้หากเปรียบเรื่องการผลิตอาหารยังมี อย. เป็นหน่วยงานควบคุมคุณภาพ ดังนั้น ระบบการศึกษาก็เช่นกันย่อมจะต้องมีการตรวจสอบและประกันคุณภาพ เพื่อให้สถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ และสามารถการันตีคุณภาพการศึกษา ต่อผู้บริโภคซึ่งคือ "เยาวชน" ของประเทศ ตลอดจนยังเป็นการการันตีคุณภาพแก่พ่อแม่ผู้ปกครองมั่นใจว่า บุตรหลานของตนได้ศึกษาในสถาบันที่มีมาตรฐานซึ่งไม่เพียงเพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้กับประชาชน แต่ยังเปรียบเสมือนเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับสินค้าหรือการบริการที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง

ดังนั้น บทบาทของการประกันคุณภาพการศึกษา คือการประกันความเสี่ยงต่อคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของผู้รับบริการ (ผู้เรียน) และผู้รับผลกระทบ (ผู้ปกครอง/ชุมชน/สังคม/ประเทศไทย) ที่จะมั่นใจได้ว่ารูปแบบการบริหารจัดการของสถานศึกษาและวิธีการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาจะมีมาตรฐานและสามารถพัฒนาผู้รับบริการให้มีความรู้ ความสามารถ คุ้มค่ากับที่ได้ส่งให้บุตรหลานไปเรียนและส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศชาติ ซึ่งถ้าหากมีการชะลอการประเมินคุณภาพการศึกษาออกไปเป็นระยะเวลา 2 ปีจริง เท่ากับว่าการศึกษาไทย

ก็จะว่างเว้นการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานจากองค์กรอิสระ ซึ่งไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด

ดร.รุ่ง แก้วแดง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การศึกษาไทยมีปัญหาเกิดขึ้นหลาย ๆ อย่าง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โดยไม่ว่าจะเป็นจากการวัดและประเมินจากภายในและภายนอกประเทศ ก็จะพบว่าอัตราด้านผลสัมฤทธิ์ของไทยอยู่ในระดับต่ำ สาเหตุมาจากเพราะการเรียนการสอนของไทยที่เน้นการท่องจำมากกว่าการคิดวิเคราะห์ เป็นเพราะผู้บริหารระดับสูงอาจไม่มีความเข้าใจถึงปัญหา

ด้านการศึกษาของประเทศอย่างลึกซึ้ง กอปรกับการไม่ต่อเนื่องของนโยบาย โดยพบว่าเฉลี่ยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ จะอยู่ในตำแหน่งเฉลี่ยเพียงละ 8 เดือน ต่อ 1 คน จึงกลายเป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศไทยที่มีปัญหาอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

บทบาทของหน่วยงานในการตรวจสอบการศึกษา ในปัจจุบันประเทศไทยมี สมศ.เป็นผู้ดูแลสถานศึกษา

ทั่วประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ ซึ่งจะช่วยให้โรงเรียนได้รู้และเข้าใจในความเป็นจริง จากแต่เดิมใช้ศึกษานิเทศก์ ในการตรวจมาตรฐานการศึกษา แต่ก็พบว่าบทบาทของศึกษานิเทศก์ในอดีตจะเป็นไปในการเยี่ยมเยียน มากกว่าตรวจตราสถานศึกษา ซึ่งตลอดระยะเวลาการทำงานของ สมศ. ก็มีโรงเรียนต่าง ๆ เริ่มตื่นตัวต่อการประเมิน

เพื่อพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน และเป็นการยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นไป แต่ทว่าก็พบว่ายังมีโรงเรียนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้ตื่นตัวต่อการประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการปล่อยปละละเลยจากรัฐมนตรี จึงทำให้ปัญหาด้านต่าง ๆ ยังไม่ได้รับการสะสางในทางที่ถูกต้องจนถึงปัจจุบัน

ดร. ชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา กล่าวว่า หน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาอย่าง สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ถูกสร้างขึ้นในฐานะที่เป็นกลไกเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี 2542 และตามพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2543 กำหนดว่าสถานศึกษาจะต้องดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาและได้รับการประเมินคุณภาพภายนอก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีหน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคด้านการศึกษา โดย สมศ. เป็นองค์กรอิสระจากภาครัฐ ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคุณภาพของสถาบันการศึกษาระดับประเทศนั้นดีหรือไม่ดีอย่างไร เช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้วจะต้องทำเพื่อเป็นการตรวจสอบว่าคุณภาพหรือมาตรฐานรวมทั้งระบบการทำงานของกระทรวงศึกษาทั้งระบบทำงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่

ทั้งนี้ การดำเนินงานของ สมศ. มีกฎหมายรองรับชัดเจนว่าในทุก 5 ปี สถาบันการศึกษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างน้อย 1 ครั้ง จึงแสดงให้เห็นว่าผู้ที่เห็นด้วยกับการชะลอการประเมินยังไม่เข้าใจถึงกฎเกณฑ์ กติกา และเงื่อนไขของระบบการประเมินอย่างแท้จริง รวมทั้งไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ สมศ. หรือผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์โดยอ้างว่าการประเมินคุณภาพการศึกษาทำให้เสียเวลาในการเตรียมการเรียนการสอนนั้น แสดงว่ายังไม่เข้าใจในปรัชญาของการประเมินคุณภาพการศึกษา จึงเป็นคำวิจารณ์ที่ไม่สมเหตุสมผล ดังนั้น หากมีการชะลอการประเมินก็อาจจะกระทบต่อระบบการศึกษาไทยได้ ดังนั้น การชะลอการตรวจสอบจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นการสร้างความเสียหายให้แก่ผู้บริโภค หรือเท่ากับเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า การศึกษาไทยในวันนี้มีปัญหาที่สั่งสมมาเยอะแยะมากมายจนกลายเป็นปัญหาระดับประเทศ เกิดจากปัญหาด้านคุณภาพครู และระบบการผลิตครูก็มีปัญหา ส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ซึ่งในการศึกษาแต่ละประเภทก็จะมีปัญหาที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของคนไทยทุกคน เป็นพื้นฐานทางความรู้ที่จะต่อยอดไปในระดับ อาชีวศึกษา หรืออุดมศึกษาต่อไป แต่กลับพบว่าเด็กไทยมีผลสัมฤทธิ์ค่อนข้างต่ำ ไม่ว่าจะเป็นการสอบในระดับสากลอย่าง PISA ก็พบว่าเด็กไทยมีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำ หรือแม้แต่การสอบ ONET ก็พบว่าเด็กไทยสอบตกกว่าครึ่ง ดังนั้น การแก้ปัญหาจึงต้องมีความแตกต่างกันออกไป และการที่พยายามรวบเอาหน่วยงานด้านการศึกษาทุกฝ่ายเข้าไว้ที่กระทรวงศึกษาธิการเพียงแห่งเดียวนั้น ถือเป็นแนวคิดที่ล้าสมัยและสมควรที่จะต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วน

บทบาทของการตรวจสอบคุณภาพการศึกษานั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ทั้งนี้ สมศ.ก็จะต้องมีการปรับปรุงขั้นตอนการประเมิน และเกณฑ์การประเมินก็ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมว่าสามารถทำให้สถานศึกษาได้รับการพัฒนา

ที่แท้จริงหรือไม่ สมศ. ต้องแก้ปัญหาของตัวเองในจุดนี้ให้ได้ และในเรื่องการชะลอการประเมิน ตามหลักการแล้วไม่มีความจำเป็นเลยที่จะต้องชะลอการประเมินออกไป ถ้าจะชะลอจริงต้องมีงานวิจัยออกมายืนยัน โดยงานวิจัยนั้นต้องเป็นผลงานวิจัยที่เชื่อถือได้ และมีเกณฑ์ในการวัดและประเมินอย่างถูกต้องแม่นยำ มากกว่าเพียงคำพูด ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ภาวิช กล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้ ได้มีผลวิจัยเปรียบเทียบระหว่างประเทศที่มีระบบการประกันคุณภาพ กับประเทศที่ยังไม่ได้ดำเนินการ

ในหลาย ๆ ประเทศ เช่น อังกฤษ อเมริกา เยอรมัน เวียดนาม เป็นต้น พบว่า สิ่งที่เด่นชัดที่สุดคือ ในประเทศที่ไม่มีระบบการประกันคุณภาพจะมีอัตราความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นช้ามากหรือแทบจะมีเพียง 5% ต่อ 5 – 10 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่นำระบบการประกันคุณภาพไปดำเนินการใช้แล้ว 3 ถึง 5 ปี จะมีอัตราการเกิดนวัตกรรมหรือวิธีการใหม่ ๆ เร็วขึ้นกว่าเดิม 3-5% ต่อปี ในประเทศที่ไม่มีระบบการประกันคุณภาพ มักเกิดอาการที่เรียกว่า "หลากหลายความคิดเห็น แต่ไม่เป็นเอกภาพในเชิงพัฒนา" คล้าย ๆ กับว่าแต่ละสถานศึกษาก็มีวิธีการดี ๆ ที่จะพัฒนาคุณภาพตนเอง แต่พอมาดูภาพรวมของประเทศ สิ่งต่าง ๆ ที่ทำดูเหมือนว่าไม่ได้ช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาประเทศใด ๆ ที่ ชัดเจน เรียกว่า "พัฒนาได้เป็นหย่อม ๆ " ที่สนใจก็พัฒนาไป ที่ไม่สนใจก็เลยตามเลย อยู่ไปวัน ๆ

สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเข้าไปที่www.onesqa.or.th

 

ที่มา ThaiPR.net 26 พฤษภาคม 2559 16:48


นักเรียนนักศึกษา คือผู้บริโภคที่จะไม่ได้รับการคุ้มครองจริงหรือ?นักเรียนนักศึกษาคือผู้บริโภคที่จะไม่ได้รับการคุ้มครองจริงหรือ?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 13 ราย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2567

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 13 ราย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2567

เปิดอ่าน 26,442 ☕ 24 ต.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม"  ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
สมศ.ขานรับนโยบาย "บิ๊กอุ้ม" ภายใน 5 ปี ประเมินสถานศึกษาครบกว่า 5.8 หมื่นแห่ง
เปิดอ่าน 493 ☕ 19 พ.ย. 2567

คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
คุรุสภาเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูปฐมวัย พ.ศ. ... และ (ร่าง) ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ พ.ศ. ... ระหว่างวันที่ 15 - 30 พฤศจิกายน 2567
เปิดอ่าน 665 ☕ 15 พ.ย. 2567

"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
"สุเทพ" แนะศึกษาธิการจังหวัดสร้างศรัทธาในการทำงานพร้อมร่วมมือพันธมิตรในพื้นที่ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 757 ☕ 15 พ.ย. 2567

ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
ปฏิทินการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2568
เปิดอ่าน 3,352 ☕ 13 พ.ย. 2567

ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
ประกาศรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกระดับชาติเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ประจำปี 2567
เปิดอ่าน 2,051 ☕ 13 พ.ย. 2567

สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
สพฐ.แจ้งแนวทางการอนุญาตให้บุคลากรในสังกัดทำหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
เปิดอ่าน 948 ☕ 13 พ.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ยก "ครู" เป็นอาชีพทรงเกียรติ เด็กจึงจะเรียนเก่ง ตอน1
ยก "ครู" เป็นอาชีพทรงเกียรติ เด็กจึงจะเรียนเก่ง ตอน1
เปิดอ่าน 27,045 ครั้ง

ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค วันที่ 10 - 16 ตุลาคม 2551
ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค วันที่ 10 - 16 ตุลาคม 2551
เปิดอ่าน 12,076 ครั้ง

กำเนิดดวงดาว
กำเนิดดวงดาว
เปิดอ่าน 25,640 ครั้ง

รู้หรือเปล่าว่าปลาร้าเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่?
รู้หรือเปล่าว่าปลาร้าเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่?
เปิดอ่าน 22,988 ครั้ง

ICT2020 Conceptual Framework
ICT2020 Conceptual Framework
เปิดอ่าน 29,492 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ