Advertisement
อ่านข่าวนี้แล้ว...บอกได้คำเดียวว่า ทึ่ง...ทึ่ง อะไรจะเก่งขนาดนั้น ลองอ่านดูเร็ว...
ทุ่มมา 12 ปี สหรัฐฯ พร้อมสร้างดวงอาทิตย์(จำลอง)บนโลก
ไฟล์ภาพดวงอาทิตย์จากอีซาหรือองค์การอวกาศยุโรป (อีซา/บีบีซีนิวส์)
ภาพบน - ภาพจำลองการทำลองของเลเซอรืที่รวมพลังงานไปยังก้อนพลังงานเล็กๆ ที่อยู่ภายในท่อ, ภาพล่าง - คือเครื่องกำเนิดเลเซอร์ 2 ตัวภายในสำนักงานเอ็นไอเอฟ (ภาพบีบีซีนิวส์)
สหรัฐฯ เตรียมยิงเลเซอร์ยักษ์ 192 ตัวใส่ไฮโดรเจน สร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ ที่เกิดในใจกลางดวงอาทิตย์ไว้บนโลก ก่ออุณหภูมิได้ 100 ล้านองศา หลังทุ่มเทเวลามากว่า 12 ปี โดยเริ่มต้นการทดลองได้ มิ.ย.นี้ นับเป็นความหวังสร้างโรงไฟฟ้าปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน ที่ให้พลังงานมหาศาล
หน่วยงานการเผาไหม้เครื่องยนต์แห่งสหรัฐฯ (The US National Ignition Facility) หรือเอ็นไอเอฟ ได้จำลองความเป็นไปได้ในการสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ให้พลังงานสะอาดหมดจดได้
สำนักข่าวบีบีซีนิวส์ระบุว่า ห้องปฏิบัติการของสำนักงานแห่งนี้ จะเริ่มขึ้นในเดือน มิ.ย.52 ด้วยการยิงลำแสงเลเซอร์จากเครื่องกำเนิดขนาดใหญ่ 192 ตัวไปที่ก้อนเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ซึ่งหากการทดลองได้ผลต้องมีพลังงานได้ออกมากกว่าพลังงานที่ใส่ให้ระบบ
ดร.เอ็ด โมเซส (Dr.Ed Moses) ผู้อำนวยการเอ็นไอเอฟกล่าวว่า การทดลองนี้ถือเป็นหลักไมล์สำคัญ และพวกเขากำลังไปได้สวย ในการทดลองเพื่อควบคุมการเกิดปฏฺกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันอันคงที่ และให้พลังงานออกมาเป็นครั้งแรก โดยสหรัฐฯ ใช้เวลาถึง 12 ปีเพื่อสร้างเครื่องไม้เครื่องมือและเลเซอร์ที่ทรงพลังที่สุดนี้ ซึ่งการทดลองจะเริ่มขึ้นในเดือน มิ.ย.52 นี้ และคาดว่าจะได้ผลที่แสดงนัยสำคัญออกมาในช่วงปี 2553-2555
สำหรับปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันนั้น ถูกมองว่าเป็นเหมือน "จอกศักดิ์สิทธิ์" ของแหล่งพลังงาน ในแง่ของศักยภาพที่จะให้พลังงานสะอาดอย่างเกือบไร้ขีดจำกัด แต่นักวิทยาศาสตร์ยังห่างไกล ในการสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ชิวชันที่ใช้งานได้ เชิงปฏิบัติมาหลายทศวรรษ
แต่ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์มั่นใจว่า พวกเขากำลังเข้าใกล้เป้าหมายแล้ว โดยการทดลองหลายๆ อย่างทั่วโลก พุ่งเป้าไปที่การก่อสร้างอาคารสำหรับปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน
ทั้งนี้ ในกระบวนการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันนั้น ไฮโดรเจนในรูปไอโซโทปที่หนักกว่าอย่าง "ดิวเทอเรียม" (deuterium) และ "ทริเทียม" (tritium) จะหลอมรวมกันกลายเป็นฮีเลียม ซึ่งดิวเทอเรียมนั้นพบได้ทั่วไปในน้ำทะเล ขณะที่ทริเทียมก็เตรียมได้จากลิเธียม ซึ่งเป็นธาตุที่พบได้ทั่วไปในดิน และเมื่อไอโซโทปเหล่านี้รวมกันที่อุณหภูมิสูง มวลเพียงเล็กน้อยจะสูญเสียไปและพลังงานมหาศาลจะถูกปล่อยออกมา
ในธรรมชาติปฎิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน เกิดขึ้นที่ใจกลางของดาวฤกษ์ โดยที่ความดันมหาศาลเนื่องจากความโน้มถ่วงทำให้เกิดปฏิกิริยาที่อุณหภูมิประมาณ 10 ล้านองศาเซลเซียส แต่ในที่ความดันต่ำกว่ามากอย่างบนโลก จำเป็นต้องใช้อุณหภูมิที่สูงกว่านั้นมาก คือประมาณ 100 ล้านองศาเซลเซียส เพื่อให้เกิดปฏิกิริยานี้ขึ้น โดยหน่วยงานเอ็นไอเอฟของสหรัฐฯ ได้มุ่งทำการทดลองนี้โดยอาศัยเลเซอร์ที่มีกำลังสูงอย่างยิ่งยวด
"เมื่อเลเซอร์ทั้งหมดของเอ็นไอเอฟเผาไหม้ที่พลังงานเต็มที่ จะปล่อยพลังงานจากรังสีอัลตราไวโอเลต 1.8 เมกะจูลส์ไปยังเป้าหมาย" ดร.โมเซสอธิบาย โดยความเข้มของพลังงานจากเลเซอร์ที่เอ็นไอเอฟผลิตขึ้นนี้มากกว่าระบบเลเซอร์ที่เคยมีถึง 60 เท่า
เมื่อเกิดการเผาไหม้จะมีพัลส์ (pulse) สั้นๆ ไม่กี่ "นาโนวินาที" (nanosecond) หรือประมาณ 1 ในพันล้านของวินาที แต่ปล่อยพลังงานออกมา 500 แสนล้านวัตต์ ซึ่งมากกว่ากำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดในสหรัฐฯ เสียอีก และพลังงานที่เข้มมากนี้จะพุ่งตรงไปยังก้อนพลังงานที่เป็นก้อนกลมๆ จากนั้นละลายผิวของก้อนพลังงานแล้วหลอมรวมวัสดุที่เหลืออยู่ภายใน
"กระบวนการนี้ทำให้เกิดอุณหภูมิเป็น 100 ล้านองศาและมีความดันสูงกว่าความดันอากาศบนโลกพันล้านเท่า ขับให้นิวเคลียสของไฮโดรเจนหลอมรวม แล้วปลดปล่อยพลังงานออกมามากกว่าพลังงานเลเซอร์ที่ใช้จุดให้เกิดปฏิกิริยาหลายเท่า" ดร.มอสส์กล่าว
หากการทดลองได้ผล เอ็นไอเอฟจะทำให้ได้พลังงานมากกว่าที่ใส่ให้เลเซอร์เพื่อเริ่มต้นปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้ 10-100 เท่า และการทดลองอื่นๆ ก็แสดงให้เห็นว่าการทำให้เกิดพลังงานลักษณะนี้เป็นไปได้ แต่ยังไม่มีใครให้ภาพได้ว่าพลังงานสุทธิที่จะได้รับนั้นเป็นเท่าใด.
|
ที่มา: http://www.manager.co.th |
|
|
|
|
วันที่ 10 เม.ย. 2552
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,436 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,171 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,207 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,245 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,722 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,945 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,619 ครั้ง |
เปิดอ่าน 79,572 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,081 ครั้ง |
|
|