Advertisement
'มะรุม' ต้นไม้มหัศจรรย์
ฝักมะรุมจัดเป็นผักพื้นบ้านที่จะหารับประทานได้ง่ายและมีวางขายในช่วงต้นฤดูหนาว ในขณะที่เกษตรกรที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านจะได้บริโภคยอดมะรุมใบอ่อน, ช่อดอกและฝักอ่อนได้ตลอดทั้งปีโดยนำมาต้มหรือลวกให้สุกจิ้มกับน้ำพริกได้หลากหลายชนิด
หรือจะใช้ยอดอ่อนและฝักมะรุมมาทำ แกงส้ม มีหลายคนนำช่อดอกมะรุมไปดองเก็บไว้บริโภคกับน้ำพริก ในทางพฤกษศาสตร์จัดให้ต้นมะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่คนไทยปลูกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วขณะนี้มีเรื่องที่น่ายินดีที่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า “มะรุม” มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก
ในใบมะรุมจะมีวิตามินซีมากกว่าส้ม ถึง 7 เท่า มีธาตุแคลเซียมมากกว่านมถึง 4 เท่า มีวิตามินเอมากกว่าแครอท 4 เท่า มีโปรตีนมากกว่านม 2 เท่า และมีธาตุโพแทสเซียมมากกว่ากล้วย 3 เท่า
ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว จากมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี บอกว่าในใบมะรุมมีสารอยู่หลายชนิดดังที่ได้กล่าวมา ในทางการแพทย์จะช่วยใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ใช้ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ถ้ามีการใช้ควบคู่กับยาแผนปัจจุบันจะช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรครูมาติซั่มและรักษาโรคตาได้เกือบทุกชนิด ภญ.ผกากรองย้ำว่าจะใช้ใบมะรุมเพื่อการรักษาโรคควรใช้ควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาของคณะแพทย์ศิริราชพยาบาล พบว่าสารสกัดน้ำของมะรุมน่าจะเป็นสมุนไพรที่ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ส่วนงานวิจัยในประเทศอินเดียได้ใช้แอลกอฮอล์สกัดเมล็ดของมะรุมมาให้หนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นข้ออักเสบ พบว่าสารสกัดมะรุมช่วยลดการอักเสบ แต่เป็นการทดลองในหนูเท่านั้น ถึงแม้ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันชัดเจนว่ามะรุมต้านความชราได้ แต่ได้มีการวิเคราะห์พบว่าในมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์ที่สำคัญอยู่หลายตัวซึ่งมีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้คนญี่ปุ่นได้มีการผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่ายและในประเทศเริ่มมีผลิตเป็นแคปซูลใบมะรุมจำหน่ายกันบ้างแล้ว แต่ในขณะนี้ทาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยายังไม่มีการอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์จากมะรุม เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาพิษวิทยาที่อาจจะเกิดจากการบริโภคมะรุมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ที่ผ่านมาคนไทยบริโภคมะรุมเป็นอาหาร
มีการวิจัยได้สรุปว่าการกินมะรุมจะมีผลต่อการลดไขมันในร่างกาย ดังนั้นหากการกินมะรุมมีผลทำให้ขับไขมันออกมาทางอุจจาระมากขึ้น นั่นก็หมายถึงไขมันที่กินเข้าไปไม่ถูกดูดซึมในร่างกาย ซึ่งก็ไม่ได้ดีเสมอไป เพราะโดยปกติร่างกายเราต้องการไขมันในการใช้เป็นพลังงานและทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติประมาณวันละ 15-30%.
ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ
วันที่ 10 เม.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,173 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,417 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,182 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 20,415 ครั้ง |
เปิดอ่าน 47,973 ครั้ง |
เปิดอ่าน 34,898 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,028 ครั้ง |
เปิดอ่าน 59,035 ครั้ง |
|
|