ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

แนวคิดในการปฏิรูปการศึกษา เพื่อยกระดับประเทศไทย [ ศ.ศรีราชา วงศารยางกูร ]


ข่าวการศึกษา 10 พ.ค. 2559 เวลา 10:15 น. เปิดอ่าน : 8,648 ครั้ง

Advertisement

แนวคิดในการปฏิรูปการศึกษา เพื่อยกระดับประเทศไทย [ ศ.ศรีราชา วงศารยางกูร ]

แนวคิดในการปฏิรูปการศึกษา เพื่อยกระดับประเทศไทย

ศ.ศรีราชา วงศารยางกูร

หลังจากที่ผู้เขียนได้เสนอแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษาทั้งระบบของประเทศไทยในปัจจุบันเพื่อให้ก้าวพ้นจากวิกฤตของประเทศ มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยที่บอกว่าความคิดสุดขั้ว ผู้เขียนน้อมรับคำวิจารณ์ แต่ต้องบอกว่าไม่ได้เขียนอย่างคนไม่มีสติ เพ้อเจ้อ ผู้เขียนได้ติดตามความล้มเหลวของกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษา และสภาพแวดล้อมทางการศึกษา ที่ส่งผลให้ออกมาอยู่ในสภาพปัจจุบันนี้ เห็นว่าหากยังเถียงกันไปมาโดยไม่ลงมือแก้ไข ประเทศอาจล่มจมได้

งบประมาณปีหนึ่งๆ ลงทุนไปกับการศึกษามากมายมหาศาล แต่ระบบการศึกษากลืนกินงบประมาณไปโดยมีผลผลิตในการศึกษาที่ต่ำมาก ไม่คุ้มค่าการลงทุน จึงสมควรที่จะต้องพิจารณาการใช้จ่ายเงินให้ได้ผลคุ้มค่ามากกว่าเดิม ที่ผ่านมา ระบบการศึกษาของเราเรียนฟรี 12 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ในทางปฏิบัติคือไม่ฟรีจริง

ทั้งๆ ที่มีการอภิปรายกันในสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ว่าต้องฟรีจริง ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่ม ผู้เขียนอภิปรายแย้งว่า เป็นไปไม่ได้เพราะงบประมาณที่ใช้จ่ายในขณะนั้น ตามเอกสารของกองแผนงานกระทรวงศึกษาธิการ เพียงพอที่จะให้เด็กเรียนในการศึกษาภาคบังคับฟรีจริงๆ ได้แค่ 9 ปี หากจะขยับไปอีก 3 ชั้น หรือหนึ่งช่วงชั้น (ม.1-ม.3) ก็จะขาดงบประมาณไปอีกประมาณร้อยละ 30 และอีกช่วงชั้น (ม.4-ม.6) ก็จะขาดอีกประมาณร้อยละ 31 ในแต่ละช่วงชั้นจะใช้งบประมาณอีก 30,000-40,000 ล้านบาท จึงเป็นภาระแก่รัฐมากอย่างยิ่ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นตัวแทนสมาคมโรงเรียนมัธยมบอกว่า อย่างไรก็จะต้องขยับเป็นอย่างน้อย 12 ปี เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องไปหาเงินมาให้พอ ผู้เขียนเห็นว่าถ้าคิดอย่างนี้ก็ไม่ต้องพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ ทุ่มเฉพาะการศึกษาอย่างเดียว ผลิตคนมารองานและล้นงาน ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ

ถามว่าการเสนอให้นักเรียนที่มีศักยภาพได้เกรด 2.5 ขึ้นไปได้เรียนสูงขึ้นไม่เป็นสิ่งที่ดีหรือได้มีโอกาสเรียนฟรี 12 ปี หรืออาจสูงถึง 15 ปี ส่วนเด็กที่มีศักยภาพต่ำก็ควรไปสู่แรงงานฝีมือและสายอาชีพมากขึ้น อย่างไรก็ตามการที่กำหนดเกรดเฉลี่ยว่าถ้าได้ 2.5 ขึ้นไปจึงจะได้เรียนฟรี ก็ยังไม่ได้ว่าจะเอาตามนี้ 100% ผู้เขียนยังบอกว่าน่าจะลองทำวิจัยดูก่อนว่า ณ จุดใดเหมาะสม เช่น อาจลดลงมาเหลือ 2.3 ซึ่งที่ มสธ.ถือว่าเท่ากับ 60%

การที่มีผู้วิจารณ์ว่าจะทิ้งเด็กที่ไม่เก่งและพ่อแม่ผู้ปกครองจนนั้น ผู้เขียนมีความเห็นต่างว่า เด็กทุกคนไม่จำเป็นต้องจบ ม.6 เท่ากัน ควรให้เป็นไปตามศักยภาพ ถ้าเราปั้นเด็กให้เรียนรู้ดีมาแต่แรก ตั้งแต่อนุบาลจนถึง ป.6 แล้ว ผมเชื่อว่าเด็กปกติน่าจะสอบผ่าน 2.5 ได้เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น อย่าเอาภาพหลอนของระบบที่ล้มเหลวมาเป็นหลักในการคิด เพราะระบบการศึกษาที่ปฏิรูปแล้ว จะสร้างเด็กรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิม การตั้งเป้าหมายไว้ก็จะทำให้เด็กมีเป้าหมายในการเรียน ย่อมดีกว่าเรียนไปเรื่อยๆ พ่อแม่ผู้ปกครองก็ต้องตื่นตัวที่จะดูแลกวดขันเด็กมากขึ้น เพื่อให้สอบได้เข้าเป้าหมายที่กำหนดไว้ เชื่อว่าจะกระตุ้นให้ระบบการศึกษาดีขึ้นอย่างทันตาทันใจทีเดียว

ส่วนเด็กที่ได้เกรด 2.3 หรือ 2.5 ตามเกณฑ์ก็ไม่ได้ตัดโอกาส หากจะเรียนต่อก็ให้ยืมเงินเรียนแบบปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนของรัฐ ซึ่งแม้ขณะนี้ที่บอกว่าเรียนฟรี ก็ยังต้องให้คณะกรรมการสถานศึกษาอนุมัติให้เรียกเก็บเงินอีกภาคละ 1,500-2,000 บาท (ซึ่งเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญด้วยซ้ำ) ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา เพราะใช้เงินไม่ถูกจุด เพื่อให้เกิดสมดุลทั้งด้านการลงทุนกับการศึกษาและด้านการพัฒนาด้านอื่นๆ ขณะนี้ประเทศไทยลงทุนการศึกษามากเป็นอันดับ 2 ของโลก และการศึกษาของไทยยังแย่ไปไม่ถึงไหนเพราะหลักสูตรแย่ คุณภาพครูส่วนใหญ่ต่ำ ไม่ตั้งใจสอน การวัดประเมินผลก็ใช้ไม่ค่อยได้ ภาพของการศึกษาจึงออกมาแย่มาก ถามว่าเราจะลงทุนอย่างนี้แบบเดิมๆ อีกต่อไป ภายใต้ความคิดแบบเดิมๆ แล้วจะปฏิรูป ได้อย่างไร

ผู้เขียนไม่เคยคิดร้ายต่อใคร แต่มองในภาพรวมว่า ถ้าจะปฏิรูปการศึกษาให้คนไทยเก่ง ประเทศอยู่รอดนั้น คงไม่ได้หวังสูงเหมือนอย่างฟินแลนด์ที่ให้ทุกๆ คนเก่งหมด คงจะใช้เวลามาก มาถึงวันนี้เราคงต้องดูสถานการณ์ว่าเราขาดอะไร ควรแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไรก่อน เพื่อผลิตคนเก่งมาเข้าสู่ระบบแรงงาน โดยอาจจะเน้นด้านอาชีวศึกษาเป็นพิเศษ สอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้ประกาศออกมา

 

ที่มา มติชน ฉบับวันที่ 11 พ.ค. 2559 (กรอบบ่าย) 


แนวคิดในการปฏิรูปการศึกษา เพื่อยกระดับประเทศไทย [ ศ.ศรีราชา วงศารยางกูร ]แนวคิดในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อยกระดับประเทศไทย[ศ.ศรีราชาวงศารยางกูร]

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

เปิดอ่าน 2,050 ☕ 18 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
เปิดอ่าน 1,307 ☕ 24 เม.ย. 2567

คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
เปิดอ่าน 363 ☕ 24 เม.ย. 2567

เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เปิดอ่าน 392 ☕ 24 เม.ย. 2567

มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 6,026 ☕ 23 เม.ย. 2567

การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 5,127 ☕ 23 เม.ย. 2567

กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 433 ☕ 23 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

มะขามป้อม
มะขามป้อม
เปิดอ่าน 15,987 ครั้ง

50 สำนวนอังกฤษไม่ธรรมดาที่ใช้บ่อย และ 111 ประโยคอังกฤษสั้นๆ เพื่อผู้เริ่มหัดสนทนา
50 สำนวนอังกฤษไม่ธรรมดาที่ใช้บ่อย และ 111 ประโยคอังกฤษสั้นๆ เพื่อผู้เริ่มหัดสนทนา
เปิดอ่าน 34,216 ครั้ง

ผักกระเฉด
ผักกระเฉด
เปิดอ่าน 16,310 ครั้ง

อาชีพที่จะหายไปและอาชีพในอนาคต
อาชีพที่จะหายไปและอาชีพในอนาคต
เปิดอ่าน 80,197 ครั้ง

ทำให้ถั่วฝักยาวมีฝักมาก
ทำให้ถั่วฝักยาวมีฝักมาก
เปิดอ่าน 35,861 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ