สรุปประเด็นสำคัญที่ รมว.ศธ. ประชุมมอบนโยบายการปฏิบัติงานของศึกษาธิการภาค
วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2559 ณ ห้องประชุมบรรจง ชูสกุลชาติ ชั้น 6 สำนักงาน กศน.
1. รมว.ศธ. เปรียบท่านศึกษาธิการภาค เหมือนกับแม่ทัพ ในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ
2. ศึกษาธิการภาค ต้องสร้าง Perception ให้กับศึกษาธิการจังหวัด ให้รับรู้ถึงนโยบายและสถานการณ์ทางการศึกษา และสามารถนำเสนอต่อ กศจ. ให้เห็นภาพเหล่านี้ด้วย
3. ข้อมูลสารสนเทศและสถิติมีความสำคัญมากทั้งระดับภาคและจังหวัด โดยท่าน รมว.ศธ. จะใช้ข้อมูลสถิติในการกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงาน
4. ท่าน พ.อ.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการ รมว.ศธ. ได้นำเสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. และรายละเอียดโครงการสำคัญที่จะต้องขับเคลื่อน ซึ่งการนำไปสู่การปฏิบัติจะต้องสอดคล้องกับบริบทของแต่ละจังหวัด โดยมีโครงการสำคัญตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. เช่น
-การใช้เครือข่ายอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง (ทุกโรงเรียนต้องมีมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง)
-ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-อ่านออกเขียนได้
-STEM
-ยกระดับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
-การผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
-คืนครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน
-นโยบายซ้ำชั้น (มอบ สพฐ. จัดทำแนวทางให้ชัดเจน)
-DLTV / DLIT
-การแนะแนวเรื่องอาชีพ
-การเข้าถึงโครงข่ายอินเทอร์เน็ต
-การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก
-การขับเคลื่อนงาน สอศ. ตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาของ ศธ.
-การขับเคลื่อนงาน กศน. ตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาของ ศธ.
-โครงการโรงเรียนประชารัฐ
5.กำลังดำเนินการจัดทำ KPI ของ ศธภ. ศธจ. และ สพท. โดยจะมี KPI หลัก เช่น ผล O-Net รายภาค รายจังหวัด เป็นต้น และ KPI รายโครงการ
6.การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด เป็นแผน Agenda based ตามยุทธศาสตร์การปฎิรูปการศึกษาของ ศธ. จะเป็นแบบ bottom-up ที่เริ่มจากสถานศึกษา มายัง สพท. และ ศธจ. รวมเป็นแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัดที่บูรณาการในระดับจังหวัด และเชื่อมโยงกับแผนของจังหวัด จากนั้นส่งมาส่วนกลาง (77 แผน) เพื่อพิจารณาจัดสรรงบประมาณตาม Agenda และบริบทของแต่ละจังหวัดต่อไป
7.ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานหรือปัญหาในข้อกฏหมายตามคำสั่ง หน.คสช. ที่ 10 และ 11 เช่น การตั้ง อกศจ. และแนวทางการบริหารงานบุคคลต่างๆ ได้มอบให้ท่านเลขาธิการ ก.ค.ศ. รวบรวบประเด็นและนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ต่อไป
8.เรื่องที่ท่าน รมว.ศธ. concerns
-เด็กออกนอกระบบ ให้วางระบบแนวทางการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน โดยมี สป. เป็นเจ้าภาพ และ สพฐ. สอศ. กศน. สช. ร่วมด้วย
-ให้ ศธภ. และ ศธจ. Keep Contact กับสภานักเรียน ในการรับฟังความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
-หาแนวทางให้ ศธภ. สามารถออกแนวปฏิบัติต่างๆในพื้นที่ได้
-มอบ สช. ให้วิเคราะห์ผลคะแนน O-Net ของโรงเรียน สช. ที่เข้าร่วมโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ กับโรงเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ
-การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ให้ช่วยกันสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชน อย่าให้ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายต่างๆ
-เรื่องโครงสร้างและอัตรากำลังของ ศธภ. และ ศธจ. ได้มอบให้ท่านรองปลัดกระทรวงฯผานิตย์ ดำเนินการอยู่ขณะนี้
สรุปโดย
ดร.วรัท พฤกษากุลนันท์
ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
04/05/2559